FootNote : บทบาท อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ในสมรภูมิสงคราม‘ข้อมูล’

เหมือนกับการศึกษาเพื่อเขียนวิทยานิพนธ์ในเรื่อง ไฮบริด วอร์แฟร์ ของ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ จะสะท้อนให้เห็นการก้าวตามโลกไซเบอร์อย่างเกาะติด

แต่พลันที่มีการยกตัวอย่างและพาดพิงไปถึงพรรคการเมืองหนึ่งซึ่งสร้างคะแนนนิยมมาจากเฟกนิวส์

หลอกลวงคนรุ่นใหม่อายุระหว่าง 16-17 ปี

ก็เหมือนกับเป็นการโยนระเบิดตูมใหญ่ 1 เข้าไปยังคนรุ่นใหม่ และ 1 เข้าไปยังพรรคการเมืองของคนรุ่นใหม่ที่กำลังได้รับคะแนนและความนิยมเป็นอย่างสูง

ก่อให้เกิดการศึกษากระบวนการของเฟคนิวส์อย่างเป็นระบบและสัมผัสได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

แล้วก็เริ่มเข้าใจว่าทำไม พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ จึงพูดขึ้น

มีคนย้อนกลับไปศึกษาการเกิดขึ้นของเฟกนิวส์ตั้งแต่ยุคอนาล็อก เรื่อยมาจนถึงยุคดิจิทัล

เสียงร้องตะโกนใส่ร้าย “ปรีดี”ในโรงหนัง 1 ล่ะ

เป็นเรื่องเกิดขึ้นในห้วงหลังสงครามและก่อนรัฐประหารเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2490

เป็นฝีมือของพรรคการเมืองใด รู้กันทั่ว

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ บทบาทของ “สถานีวิทยุยานเกราะ”ในห้วงก่อนรัฐประหารนองเลือดเมื่อเดือนตุลาคม 2519

เห็นชื่อ “ยานเกราะ”ก็รู้แล้วว่ามาจากไหน

ยิ่งกว่านั้นที่เกิดขึ้นในห้วง 1 ทศวรรษที่ผ่านมาก็คือการปล่อย “ผังล้มเจ้า” แถลงเป็นตุเป็นตะในสถานการณ์เดือนเมษายน พฤษภาคม 2553

สร้างความชอบธรรมในการลั่น “กระสุนจริง”เข้าใส่ผู้ชุมนุมอย่างเหี้ยมโหด เป็นฝีมือและการร่วมกันทำขึ้นโดยคณะรัฐบาลชุดใดพรรคประชาธิปัตย์รู้ดีที่สุด

เห็นหรือยังว่าต้นตอรากเหง้าของ “เฟกนิวส์”มาอย่างไร

ในยุคร้องตะโกนในโรงหนังอาจตอบโต้ได้ยากเพราะอยู่ในยุคอนาล็อก ในยุคตกแต่งภาพและการจัดรายการวิทยุใส่ร้ายอาจตอบโต้ได้ยาก เพราะเป็นผลงานที่ออกมาอย่างแยบยล

แต่เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิตัล การต่อสู้กับเฟคนิวส์ก็เริ่มเข้มข้น

เพราะว่าความพยายามในการปิดกั้นข่าวสาร ข้อมูลทำได้ยากลำบาก

การไหลเวียนของข่าวสารข้อมูลคืออาวุธอันทรงพลัง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน