FootNote:กลยุทธ์ ในศึกถวายสัตย์ ใครเป็นฝ่ายรุกใครตั้งรับ

พลันที่กรณีถวายสัตย์ปฏิญาณตนได้รับการยกระดับขึ้นเป็นวาระในทางการเมืองผ่านบทบาทของ นายปิยบุตร แสงกนกกุล ในการตั้งข้อสังเกตในที่ประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม

ไม่เพียงแต่การถวายสัตย์ปฏิญาณตนของครม.เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม จะได้รับความสนใจเป็นอย่างสูง

โดยเฉพาะการตรวจสอบผ่านคลิป”ข่าวในราชสำนัก”

สังคมได้ค้นพบว่าคำกล่าวนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เป็นปัญหาในทางเป็นจริง 1 ไม่เพียงแต่ไม่ครบตามที่บัญญัติในมาตรา 161 ของรัฐธรรมนูญ

หากแต่ 1 ยังได้มีการเติมถ้อยคำบางถ้อยคำซึ่งไม่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญเข้าไป

จากนั้นท่าทีต่างระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้านก็ปรากฏ

หากจะมองว่าท่าทีที่ต่างกันระหว่างฝ่ายของรัฐบาลกับฝ่ายค้านคือท่าทีอันเป็นเงาสะท้อนแห่งกลยุทธ์ในการต่อสู้ชิงความได้เปรียบในทางการเมือง

ก็ต้องยอมรับว่าท่าทีของฝ่ายค้านมีท่าทีเดียว นั่นก็คือรุกเพื่อทำความจริงให้ปรากฏ

ขณะที่ท่าทีของฝ่ายรัฐบาลคือการตั้งรับอย่างยอกย้อน

อาการตั้งรับอย่างยอกย้อนของรัฐบาลที่แสดงผ่าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นั้นเองก่อให้เกิดสถานการณ์ที่จบไม่ลง เนื่องจากมิได้เป็นการตั้งรับอย่างยอมรับในความเป็นจริง

นั่นก็คือ มิได้เป็นท่าทีที่พยายาม”แก้ไข” หากเป็นท่าทีที่สะท้อนความต้องการใน”การแก้ตัว”มากกว่า

เมื่อเผชิญกับกระทู้ถามสด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แสดง ออกด้วยการหนี เมื่อเผชิญกับญัตติขอเปดอภิปรายทั่วไป พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ยังหนีและต่อรองเตะถ่วงเต็มกำลัง

กลยุทธ์ของฝ่ายค้านจึงเป็นกลยุทธ์ในเชิงรุก กลยุทธ์ของฝ่าย รัฐบาลจึงเป็นกลยุทธ์ในเชิงรับ หนียะย่าย พ่ายจะแจ

ในที่สุดแล้วเมื่อมิอาจหลีกเลี่ยงญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติตามมาตรา 152 ของรัฐธรรมนูญ การสู้เฮือกสุดท้ายของรัฐบาลก็คือ

1 จำกัดวัน จำกัดกรอบ ให้เหลือเพียงวันเดียว หรือกระทั่งไม่เต็มวัน

1 พยายามหาทางออกด้วยการประชุมลับ

ไม่ว่ากลยุทธ์แรก ไม่ว่ากลยุทธ์หลังล้วนยกหินทุ่มขาตัวเอง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน