FootNote : การยุทธ์ “ย่อย” จาก “ผบ.ทบ.” ป้องปราม 7 พรรคร่วมฝ่ายค้าน

ปรกติที่นายทหารใหญ่ระดับ “ผบ.ทบ.” ออกมาแสดงความร้อนแรงใน ทางการเมือง โดยมีเป้าหมายอยู่ที่นักการเมือง อยู่ที่พรรคการเมือง
ก็เชื่อกันว่า “รัฐประหาร” จะเกิดในอีกไม่นาน
จำกันได้หรือไม่ว่าก่อนรัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2534 ก็เกิดการยึดรถโมบายของอสมท. ตามมาด้วยความหงุดหงิดที่มีการตั้ง อดีตผบ.ทบ.ท่านหนึ่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
จำกันได้หรือไม่ว่าก่อนรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 ผู้นำม็อบชื่อ”สนธิ”เดินทางไปพบผบ.ทบ.ชื่อ”สนธิ”
เท่ากับเป็นการส่งเทียบเชิญให้ก่อการ”รัฐประหาร”
ยิ่งก่อนรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 ก็มีการต่อสายระหว่างผู้นำ”ม็อบ”กับ”ผบ.ทบ.”แนบแน่น
บทบาท พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ จึงร้อนแรงอย่างยิ่ง

กระนั้น สถานการณ์ก่อนเดือนกุมภาพันธ์ 2534 สถานการณ์ก่อนเดือนกันยายน 2549 และสถานการณ์ก่อนเดือนพฤษภาคม 2557
ก็ต่างจากสถานการณ์ในเดือนตุลาคม 2562
เพราะว่าก่อนเดือนกุมภาพันธ์ 2534 เป็นรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ก่อนเดือนกันยายน 2549 เป็นรัฐบาล นายทักษิณ ชินวัตร และก่อนเดือนพฤษภาคม 2557 เป็นรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ขณะที่รัฐบาลปัจจุบัน คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา บริหารร่วม กับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา
เป้าหมายของ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ จึงมิใช่”รัฐบาล”
เป้าหมายของ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ จึงมิใช่พรรคพลังประชา รัฐ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา พรรครวมพลังประชาชาติไทย
ตรงกันข้าม กลับเป็น 7 พรรคร่วมฝ่ายค้าน

คำบรรยายของ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ จึงสะท้อนจุดยืนเด่นชัดแน่วแน่ว่าอยู่ตรงไหน
และต้องการ”ปราม” ไปยังฝ่ายใด
นี่คือ การสร้างบรรยากาศก่อนเข้าสู่การพิจารณาร่างพรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563
เป็นการซ้อม เป็นการอุ่นเครื่อง”เตือน”ไปยังฝ่ายค้าน

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์@ข่าวสด ที่นี่เพิ่มเพื่อน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน