FootNote คำถาม การแก้ไข รัฐธรรมนูญ คำถาม นักเรียน นิสิตนักศึกษา

พลันที่ ๑ ในข้อเรียกร้องของนักเรียน นิสิต นักศึกษา คือ ความต้องการรัฐธรรมนูญ”ใหม่” รัฐธรรมนูญซึ่งมิใช่เพื่อการสืบทอดอำนาจ รัฐธรรมนูญซึ่งมิใช่ DESIGN เพื่อ”พวกเรา”

หลายสายตาทอดมองไปยังพรรคประชาธิปัตย์พร้อมกับคำถามตามมามากมาย

ถามว่าเมื่อใด”ประชาธิปไตยสุจริต”จึงจะปรากฏ

ถามว่า “เงื่อนไข” ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์กำหนดวางเอาไว้ก่อนขานชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ในวันที่ ๔ มิถุ นายน ๒๕๖๒ มีความคืบหน้าไปมากน้อยเพียงใด

การแถลงนโยบายของรัฐบาลในเดือนกรกฎาคมที่ระบุให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็น”นโยบายเร่งด่วน”

กรอบและขอบเขต”ความเร่งด่วน”ดำเนินไปอย่างไร

 

ต้องยอมรับว่าการที่กรณีของ”รัฐธรรมนูญ”ได้กลายเป็นกระแสกลายเป็นประเด็นทางสังคม กระทั่ง นักเรียน นิสิต นักศึกษา นำมา ปราศรัยทุกเวทีแห่งการชุมนุม

มีรากฐานมาจากการเคลื่อนไหวในลักษณะ ๓ ประสาน

๑ เป็นการเคลื่อนไหวโดยพรรคร่วมฝ่ายค้าน ๑ เป็นการเคลื่อนไหวโดยพรรคอนาคตใหม่ และ ๑ เป็นการเคลื่อนไหวโดยภาคีภาคประชาสังคม

พรรคร่วมฝ่ายค้านมี พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เป็นพลังสำคัญ

พรรคอนาคตใหม่ก็สัมผัสได้ผ่าน จินตนาการใหม่ ข้อตกลงใหม่และรัฐธรรมนูญใหม่

ภาคีภาคประชาสังคมมีทั้งอาจารย์มหาวิทยาลัยและเอ็นจีโอ

ลักษณะ ๓ ประสานนี้เองที่ได้กลายเป็นกระแสและนักเรียน นิสิต นักศึกษา ได้หยิบไปเป็นประเด็นและข้อเรียกร้อง

 

พรรคประชาธิปัตย์และรัฐบาลอาจตอบคำถามทางสังคมว่าผลงาน ๑ ของตนคือการผลักดันญัตติจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

อาจใช่ แต่ในความใช่นั้นเองที่ในที่สุดคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้จักต้องตอบคำถาม

การตอบรับข้อเรียกร้องโดยการเชิญตัวแทนนักเรียน นิสิต นักศึกษา จำนวนไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ คนเข้าร่วมเพื่อเสนอความคิดเห็นอาจเป็นกระบวนการหนึ่ง

แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ รับฟังแล้วจะแปรเป็นรูปธรรมทางการปฏิ บัติอย่างไร

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน