FootNote:บทเรียน จากกรณี ปรีดี ดาวฉาย ซ้ำรอย กรณี สมคิด จาตุศรีพิทักษ์

ยิ่งวันสังคมยิ่งมองเห็นว่ากรณีการลาออกของ นายปรีดี ดาวฉาย ก็อีหรอบเดียวกับกรณีการลาออกของ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และกลุ่ม 4 กุมาร ก่อนหน้านี้

นั่นก็คือ 1 มองว่าพวกเขาถูกกดดันจากการเมืองในรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพรรคพลังประชารัฐ

นั่นก็คือ 1 มองว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ได้ให้ความคุ้มครองและปกป้องเท่าที่ควร ไม่ว่าในกรณีของ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และคณะ ไม่ว่าในกรณีของ นายปรีดี ดาวฉาย

ทั้งๆที่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ นายอุตตม สาวนายน นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ เข้าดำรงตำแหน่งในทาง การเมืองเพราะคำเชิญของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ทั้งๆที่การมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของ นายปรีดี ดาวฉาย ก็เป็นไปตามคำเชิญโดยเฉพาะคำเชิญจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นี่ย่อมสะท้อน”ศักย์”แห่งการเป็น”ผู้นำ”ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อย่างเด่นชัด

ถามว่าการกดดันต่อ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ นายอุตตม สาวนายน นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ มาจากที่ใด

ตอบได้เลยว่ามาจากพรรคพลังประชารัฐ

เริ่มจากพรรคพลังประชารัฐรุกไล่ นายอุตตม สาวนายน นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ ให้พ้นจากตำแหน่งหัว หน้าพรรค เลขาธิการพรรค รองหัวหน้าพรรค

จากนั้นก็รุกไล่ไปยังตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาและการวิจัย

จนนำไปสู่การตัดสินใจลาออกของ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และรัฐมนตรีในกลุ่ม 4 กุมาร

โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นิ่งเฉยไม่ปกป้อง

บทเรียนอันเจ็บปวดของ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และคณะก็ได้เกิดขึ้นกับ นายปรีดี ดาวฉาย ต่อหน้าต่อตา

นี่จึงเป็นวิธีวิทยาทางการบริหารอันมีลักษณะเฉพาะของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่รัฐมนตรีจาก”คนนอก”ซึ่งมิได้มาจากพรรคการเมืองจำเป็นต้องสังวรณ์

หลังตอบรับคำเชิญจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาเป็น

ก็มีโอกาสซ้ำรอยกับ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์และคณะ ซ้ำรอยกับ นายปรีดี ดาวฉาย ได้

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน