FootNote:การเมืองภายหลังเลือกตั้ง “ซ่อม” สถานะของ ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ยิ่งมีความชัดเจนในกำหนดวันเลือกตั้ง “ผู้ว่าฯกทม.” ยิ่งทำให้กระบวนการทางการเมืองว่าด้วย “การเลือกตั้ง” อย่างเป็นการทั่วไปในอนาคตมีความแจ่มชัด

พิมพ์เขียวอันเป็น “แบบจำลอง” อย่างสำคัญสามารถอ่าน “ได้จากการเลือกตั้งซ่อม” 3 พื้นที่ ภาคใต้และกทม.

ขณะที่ภาคใต้ไม่ว่า เขต 1 ชุมพร ไม่ว่าเขต 6 สงขลา สะท้อนการต่อสู้ระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคพลังประชารัฐ ที่เขต 6 จตุจักร หลักสี่ ยืนยัน “ภาพรวม” ของกทม.และประเทศไทย

บทเรียนอย่างมีนัยสำคัญมิได้เป็นบทเรียนของพรรคการเมือง ใหม่อย่างพรรคก้าว พรรคไทยภักดี พรรคไทยสร้างไทย พรรคสร้างอนาคตไทย เท่านั้น

หากแต่ยังจะเป็นประโยชน์อย่างสูงต่อพรรคการเมืองเก่าอย่าง พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย พรรคภูมิใจไทย และแม้กระทั่งต่อหน้าใหม่อย่างพรรคก้าวไกล

มีการปะทะกันอย่างแน่นอนระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคพลังประชารัฐ และบทสรุปก็ไม่แตกต่างไปจากเมื่อปี 2562 มากนัก

พรรคเพื่อไทยยังยึดครองสถานะเหมือนกับที่พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน เคยยึดครองตั้งแต่เดือนมกราคม 2544 เป็นต้นมา นั่นก็คือเป็นพรรคอันดับหนึ่ง

เพียงแต่สถานการณ์หลังรัฐประหารเดือนพฤษภาคม 2557 จำ ต้องเป็นพรรคอันดับหนึ่งซึ่งจัดตั้งรัฐบาลได้ยากขึ้น

แม้ว่าเมื่อเดือนตุลาคม 2564 พรรคเพื่อไทยจะมีความมั่นใจสูง เป็นอย่างยิ่งในคำขวัญ “พรุ่งนี้แลนด์สไลด์” แต่จากการเลือกตั้ง “ซ่อม” บ่งชี้มากขึ้นเป็นลำดับว่าอาจพบกับอุปสรรค มิได้เป็นอุปสรรคจาก 250 สว. หากจากบางแนวที่เคยร่วมกับรัฐบาล

แม้พรรคเพื่อไทยจะได้รับเลือกมาด้วยจำนวนมากเป็นอันดับ 1 ก็จำเป็นต้องพึ่งพิงพรรคการเมืองอื่น ตรงนี้เองที่อ่อนไหวอย่างยิ่ง

มีแนวทางการเมืองขึ้นมา 3 แนว 1 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา 1 คือแนวของพรรคที่เคยร่วมรัฐบาล 1 คือแนวของพรรคเพื่อไทย

มีความเชื่อว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะยังรักษาแนวไว้ได้

เป็นความเชื่อบนพื้นฐานที่ยังยึดโยงอยู่กับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ และอยู่กับพรรคที่เคยร่วมรัฐบาลกันมา

ปมเงื่อนอยู่ที่พรรคเพื่อไทยจะทลายแนวนี้ได้หรือไม่ อย่างไร

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน