สดงถึงอารมณ์ร่วมของคนต่างจังหวัดต่อการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.

กรณีนิด้าโพลเปิดเผยผลสำรวจ “คนต่างจังหวัด พร้อมที่จะเลือกตั้งผู้ว่าฯ ของตนเองหรือยัง” สำรวจจากประชาชนทั่วประเทศ ยกเว้นกรุงเทพฯ รวมทั้งสิ้น 1,316 ตัวอย่าง

พบร้อยละ 47.87 ระบุว่าพร้อมมาก รองลงมาร้อยละ 28.80 ระบุว่าค่อนข้างพร้อม ร้อยละ 11.25 ไม่พร้อมเลย ร้อยละ 10.56 ไม่ค่อยพร้อม และ ร้อยละ 1.52 ระบุว่า เฉยๆ อย่างไรก็ได้

โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 33.97 มีความเห็นว่าการได้ผู้ว่าฯ มาจากการเลือกตั้งจะสามารถทำงานตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้มากขึ้น และร้อยละ 20.14 อยากให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ในต่างจังหวัด

นวคิดการเลือกตั้งผู้ว่าฯ โดยตรงมีการพูดถึงมานานกว่า 30 ปี

ทุกครั้งที่มีการนำเสนอเรื่องนี้ขึ้นมา มักเกิด วิวาทะโต้เถียงระหว่างนักประชาธิปไตยกับ นักอนุรักษนิยม รวมถึงข้าราชการระดับสูงกระทรวงมหาดไทยที่ต้องการรักษาอำนาจตัวเองในส่วนนี้ไว้

บางคนถึงกับกล่าวหาการกระจายอำนาจปกครองด้วยการเลือกตั้งผู้ว่าฯ อาจเป็นการล้มล้างราชอาณาจักรไทย แบ่งแยกประเทศออกเป็นหลายรัฐ

ทำให้รูปแบบประเทศเปลี่ยนไปเป็น รัฐอิสระ ผู้ว่าฯ ที่ได้รับเลือกตั้งจะไม่ฟังรัฐบาล อาจรวมตัวกันจัดตั้งเป็นประเทศใหม่ในอนาคตซึ่งล้วนเป็นข้อกล่าวหา ร้ายแรงเกินจริง

ณะที่ฝ่ายประชาธิปไตยเห็นว่า การเลือกตั้งผู้ว่าฯ จะทำให้ประชาชนสามารถเลือกคนเข้าใจปัญหาท้องถิ่นของตนอย่างแท้จริงเข้าไปบริหารงาน

ผู้ว่าฯ ไม่มีอำนาจด้านการทหาร การต่างประเทศ หรือการจัดเก็บภาษีนอกเหนือจากกฎหมายกำหนด จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดรัฐอิสระ

ที่ผ่านมาเคยมีหลายพรรคการเมืองเสนอแนว คิดนี้ ก่อนกระแสจะเบาและเงียบหายไป ไม่ได้รับการสานต่อจริงจัง อีกทั้งช่วง 30 ปีหลัง ประเทศ ตกอยู่ภายใต้อำนาจเผด็จการรัฐประหารบ่อยครั้ง การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ก็ยังว่างเว้นถึง 9 ปี

เลือกตั้งใหญ่ครั้งหน้าจึงต้องดูว่า เมื่อ คนต่างจังหวัดพร้อมแล้วสำหรับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ของตนเอง จะมีพรรคใดพร้อม ผลักดันเป็นนโยบาย สานต่อความต้องการของประชาชนให้เป็นจริง หรือไม่

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน