FootNote มรสุม ระลอกใหม่ การเมือง กระบวนการ เลือกตั้ง ท้องถิ่น

สถานการณ์ดำรงอยู่ของ 200 สมาชิกวุฒิสภา ไม่เพียงแต่สะท้อนความต่างไปจากสถานการณ์ดำรงอยู่ของ 250 สมาชิกวุฒิสภา เท่านั้น หากยังต่างไปจากสถานการณ์ดำรงอยู่ของ 500 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอย่างมีนัยสำคัญ

โดยภาพที่ปรากฏเป็นความแตกต่างอันเนื่องจาก 1 ระหว่างการเลือกกับการเลือกตั้ง และ 1 ระหว่างการเลือกโดย“คณะ”โดย“กลุ่ม”กับประชาชน

การได้มาซึ่ง 250 สมาชิกวุฒิสภาเป็นการได้มาโดยกระบวนการคัดสรรของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งอยู่ในมือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา

การได้มาซึ่ง 200 สมาชิกวุฒิสภาเป็นการได้มาโดยกระบวนการเลือกจากผู้ที่แจ้งความจำนงเป็น“ผู้สมัคร” จึงขึ้นอยู่กับว่ากลุ่ม อำนาจใดส่งคนเข้าไปอยู่ในจุดอันเป็น“ผู้สมัคร“ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทรงพลังมากกว่าฝ่ายใด

แม้ว่าการได้มาของ 200 สมาชิกวุฒิสภาจะมีความสัมพันธ์ยึดโยงอยู่กับกลุ่มพลังและพรรคการเมืองอย่างเด่นชัด

จะแทนที่ 500 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้

กระบวนการได้มาซึ่ง 500 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแตกต่างไปจากการได้มาซึ่ง 250 สมาชิกวุฒิสภา และ 200 สมาชิกวุฒสภา อย่างเห็นได้ชัด

แม้การได้มาซึ่ง 200 สมาชิกวุฒิสภาจะสะท้อนพลังที่ยื่นเข้าไปของพรรคการเมืองก็ตาม

1 เพราะยังเป็นระบบ“เลือก” 1 เพราะยังเป็นระบบ“เลือกตั้ง”

ตัวอย่างที่ดีที่สุดซึ่งจะชี้แนวโน้มาการเมืองในอนาคตอันใกล้ คือการเลือกตั้งในระดับ“ท้องถิ่น” ไม่ว่าจะเป็นอบจ. ไม่ว่าจะเป็น อบต. ไม่ว่าจะเป็นเทศบาล

ข้อควรสังเกตก็คือ พรรคก้าวไกลกำลังทำให้กระบวนการเลือกตั้งในระดับ“ท้องถิ่น”ให้พัฒนาและยกระดับไปอยู่ในระนาบเดียวกันกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แม้ว่าจะยังไม่พร้อมในทุกพื้นที่ ทุกจังหวัด กระนั้น ภาพก็เริ่ม เห็นอย่างเด่นชัดมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ

การเลือกตั้งระดับท้องถิ่นกำลังสะท้อนให้เห็นพัฒนาการทางการเมืองที่ไต่ไปกับกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง

สัมพันธ์กับการเลือกตั้งอย่างเป็นการ“ทั่วไป”ชัดเจน

แม้กลุ่มอำนาจ“เดิม”จะตระหนักในการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในห้วงหลังการเลือกตั้งเดือนพฤษภาคม 2566 และพยายามแก้เกมอย่างที่เห็นในปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา

กระนั้น สัญญาณอันเห็นได้จากภูเก็ต อุดรธานี เชียงใหม่ ตราด ลำพูน ก็บ่งชี้ว่าการเปลี่ยนแปลงดำเนินไปอย่างรุนแรงยิ่ง

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน