13 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ประชาชนอยากได้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ตามกฎหมายการเลือกตั้งปัจจุบัน”

ทำการสำรวจระหว่างวันที่8 – 9 พฤษภาคม 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นว่าจะมีการเลือกตั้ง ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 โดยไม่มีการเลื่อนออกไปอีก

  1. ส่วนใหญ่ พบว่าประชาชน ร้อยละ 57.76 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่น เพราะยังไม่มีความพร้อม สถานการณ์บ้านเมืองยังไม่ปกติ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและเลื่อนการเลือกตั้งมาแล้วหลายครั้งเลยทำให้ขาดความเชื่อมั่น
  2. รองลงมา ร้อยละ 31.68 ระบุว่า เชื่อมั่น เพราะ บ้านเมืองเริ่มเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว เชื่อมั่นในความสามารถและความพร้อมของรัฐบาล และจะได้เป็นไปตามแนวทางที่รัฐบาลได้วางไว้
  3. และร้อยละ 10.56 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

เมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนอยากให้เข้ามาเป็นรัฐบาลในการเลือกตั้งครั้งต่อไป พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่

  • ร้อยละ 57.52 ระบุว่า พรรคการเมืองพรรคใหม่ ๆ เพราะอยากเห็นคนใหม่ ๆ นโยบายใหม่ๆ แนวคิดใหม่ๆ พรรคการเมืองใหม่ๆ เข้ามาบริหารและพัฒนาประเทศไปในทิศทางที่ดีขึ้น ขณะที่บางส่วนระบุว่า เบื่อการบริหารงานของพรรคการเมืองเก่า
  • ร้อยละ 37.36 ระบุว่า พรรคการเมือง พรรคเก่า เพราะ มีประสบการณ์ ทำงานอย่างมีระบบ เคยเห็นผลงานมาแล้ว มั่นใจในผลงาน มีความคุ้นเคยกับประชาชนเป็นอย่างดี เข้าใจและสามารถแก้ไขปัญหาได้ดีกว่าพรรคการเมืองพรรคใหม่
  • และร้อยละ 5.12 ระบุว่า ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

เมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนอยากให้ได้คะแนนเสียงมากที่สุด และเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล (10 อันดับแรก) พบว่าส่วนใหญ่

  • อันดับ 1 ร้อยละ 32.16 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย
  • อันดับ 2 ร้อยละ 25.12 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ (หนุน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี)
  • อันดับ 3 ร้อยละ 19.20 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
  • อันดับ 4 ร้อยละ 11.60 ระบุว่าเป็น พรรคอนาคตใหม่
  • อันดับ 5 ร้อยละ 2.32 ระบุว่าเป็น พรรคประชาชนปฏิรูป (นายไพบูลย์ นิติตะวัน) และพรรคเสรีรวมไทย ในสัดส่วนที่เท่ากัน
  • อันดับ 6 ร้อยละ 2.08 ระบุว่าเป็น พรรคชาติไทยพัฒนา
  • อันดับ 7 ร้อยละ 1.92 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย
  • อันดับ 8 ร้อยละ 1.28 ระบุว่าเป็น พรรคพลังชาติไทย (พล.ต.ทรงกลด ทิพย์รัตน์)
  • อันดับ 9 ร้อยละ 0.72 ระบุว่าเป็น พรรคเกรียน
  • และอันดับ 10 ร้อยละ 0.08 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธรรมไทย

ด้านบุคคลที่ประชาชนอยากให้เป็นนายกรัฐมนตรี ตามกฎหมายการเลือกตั้งปัจจุบัน (10 อันดับแรก) พบว่า

  • อันดับ 1 ร้อยละ 32.24 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี)
  • อันดับ 2 ร้อยละ 17.44 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคเพื่อไทย)
  • อันดับ 3 ร้อยละ 14.24 ระบุว่าเป็น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์)
  • อันดับ 4 ร้อยละ 10.08 ระบุว่าเป็นนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ (พรรคอนาคตใหม่)
  • อันดับ 5 ร้อยละ 7.92 ระบุว่าเป็น พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ (รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย)
  • อันดับ 6 ร้อยละ 6.24 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส (หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย)
  • อันดับ 7 ร้อยละ 3.44 ระบุว่าเป็น นายชวน หลีกภัย (อดีตนายกรัฐมนตรี)
  • อันดับ 8 ร้อยละ 2.08 ระบุว่าเป็น นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (รองนายกรัฐมนตรี)
  • อันดับ 9 ร้อยละ 0.72 ระบุว่าเป็น นายปิยบุตร แสงกนกกุล (พรรคอนาคตใหม่)และนายอนุทิน ชาญวีรกูล (หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย) ในสัดส่วนที่เท่ากัน
  • และอันดับ 10 ร้อยละ 0.64 ระบุว่าเป็น พล.ต.ทรงกลด ทิพย์รัตน์ (พรรคพลังชาติไทย)

สำหรับปัญหาที่อยากให้นายกคนต่อไปเข้ามาแก้ไขมากที่สุด พบว่า

  • ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 71.04 ระบุว่า ปัญหาปากท้อง หนี้สินของประชาชน ปัญหาการว่างงาน และราคาพืชผลตกต่ำ
  • รองลงมา ร้อยละ 13.84 ระบุว่า ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน การใช้อำนาจโดยมิชอบ ผู้มีอิทธิพล ร้อยละ 6.40 ระบุว่า ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม มิจฉาชีพ
  • ร้อยละ 4.64 ระบุว่า ปัญหาด้านคุณภาพการศึกษาของเด็กไทยในปัจจุบัน
  • ร้อยละ 2.72 ระบุว่า ปัญหาด้านสุขภาพการรักษาพยาบาล และการคุ้มครองความเสี่ยงของผู้บริโภค
  • ร้อยละ 1.12 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ปัญหาการคมนาคม ปัญหาด้านการบังคับใช้กฎหมาย ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ทุกข้อรวมกัน
  • และร้อยละ 0.24 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

อ่านต่อได้ที่นี่

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน