พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ชี้คนติดยาเสพติด เป็นโรคทางสมอง ต้องแก้ปัญหา ด้วยหมอ ไม่ใช่จับมาใส่คุก ชี้ยังปรับทันศคติคนในชาติเรื่อง “ยาเสพติด” ไม่ได้

– พล.อ.ไพบูลย์ คนติดยาบ้า / เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 9 สิงหาคม ที่โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว กรุงเทพฯ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานเปิดการสัมมนา เรื่อง “การเสพติด ย้อนอดีตสู่อนาคต” : “ปัญหาและทางออก” (“Back to the Future of Addiction”: “Problems and Solutions”) จัดโดย สำนักกิจการในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ร่วมกับศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ คณะแพทยศาสตร์ และพล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษ ทั้งนี้มีนางกรรณิการ์ แสงทอง รองปลัดกระทรวงยุติธรรม นายวิทยา สุริยะวงค์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม นายศิรินทร์ยา สิทธิชัย เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (เลขาธิการ ป.ป.ส.) นายประสาร มหาลี้ตระกูล อธิบดีกรมคุมประพฤติ พร้อมด้วยผู้พิพากษา ตำรวจ ทหาร เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมสัมมนา

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า งานครั้งนี้ต้องการให้ทุกภาคส่วนกลับมาคิดและหาทางออกเพราะปัจจุบันคำว่าพฤติกรรมการเสพติด ของมนุษย์ไม่จำเป็นต้องเกิดจากยาเสพติดอย่างที่เคยเข้าใจกันมาเช่นในอดีต งานวิจัยของต่างประเทศหลายๆประเทศแสดงให้เห็นว่า การเสพติดพฤติกรรมทำให้เกิดการตอบสนองในสมองในรูปแบบเดียวกับที่เกิดขึ้นหลังจากการใช้ยาเสพติด พฤติกรรมเสพติดที่ว่ามามีหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอลล์ การรับประทานอาหาร การพนัน สื่อโซเชี่ยล ความรัก เพศสัมพันธ์ การออกกำลังกาย การทำงาน การซื้อของ เป็นต้น

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวต่อว่า จากงานวิจัยพบว่าวิถีชีวิตสมัยใหม่นำไปสู่การเสพติดอย่างเลี่ยงไม่ได้ ลักษณะการเสพติด คือการกระทำอย่างหนึ่งซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่อาจหักห้ามใจได้แม้จะส่งผลเสียต่อชีวิตก็ตาม หากเสพมากเกินไปจะนำไปสู่การเกิดปัญหาต่าง ๆ ในสังคม และการกระทำผิดกฎหมาย ถือเป็นปัญหาสำคัญที่ท้าทายการรับมือของประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวนโนบาย มาตรการป้องกันเยาวชน สังคมให้ประเทศมีความเข้มแข็ง บางคนลุ่มหลงไปกับสิ่งเหล่านั้น หลายคนขาดปัจจัย ก็จะ ตามมาคือการทำเรื่องผิดกฎหมายทำให้ตนเองและครอบไม่สามารถอยู่ในสังคมได้

ทั้งนี้ พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวปาฐกถาพิเศษ “การเสพติด ย้อนอดีตสู่อนาคต : ปัญหาและทางออก” โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า ประเทศไทยยังไม่เข้าใจเรื่อง Crime Prevention หรือการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม และ crime addiction (การเสพติดอาญาชญากรรม) และยังปฏิเสธสิ่งเหล่านี้ ตนเคยพูดเรื่องเหล่านี้สมัยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ตอนนี้ต้องถาม ยอมรับกันหรือยังว่า สิ่งเสพติดหรือยาเสพติด เป็นโรคทางสมอง ต้องยอมรับก่อน เพราะถ้าไม่อยากนั้นเราก็ไปต่อไม่ได้ ยาเสพติดกับสิ่งเสพติดมันคือโรคทางสอง ถ้าจะแก้ ปัญหาคนติดยาเสพติดต้องแก้ด้วยหมอ ต้องได้รับการบำบัดดูแล ไม่ใช่แก้ด้วยกระบวนการยุติธรรทางอาญา ซึ่งแก้ไม่สำเร็จหรอก วันนี้ก็ต้องคิดว่า จะทำยังให้คนเข้าใจเรื่องยาเสพติด เราต่อสู้กับยาเสพติดมานาน เรายังไม่สามารรถปรับทัศนคติคนในชาติ ได้ว่า เรื่องดังกล่าวมันคือ อาการทางสมอง อย่าไปจับเขามาติดคุกมันไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา วิธีการแบบนี้ทำให้เขาเลิกยาเสพติดได้

“วันนี้ต้องทำอย่างไรให้คนไทยในสังคมเข้าใจว่าปัญหาเสพติด ไม่ว่าจะติดยาเสพติด หรือติดอย่างอื่น เป็นเรื่องกระบวนการและเป็นโรค ที่เกี่ยวข้องกับสมอง การแก้ไข ไม่ใช่แก้ด้วยกระบวนการยุติธรรมทางอาญา จับเข้าคุกจนตอนนี้ประเทศไทยมีผู้ต้องขังกว่า 340,000 คน ติดอันดับประเทศต้นๆเรื่องคนล้นคุก ปัญหาการเสพติดต้องแก้ด้วยกระบวนการทางการแพทย์” พล.อ.ไพบูลย์ กล่าว

พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวด้วยว่า ตอนนี้ประมวลกฎหมายยาเสพติด ที่เริ่มมาจากสมัยที่ตนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งมีหลายภาคส่วนร่วมร่างประมวลกฎหมายฉบับนี้ หวังจะสร้างความเข้าใจในสังคม แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ได้ประกาศใช้ ตนเองอยากฝากไปถึงกระทรวงยุติธรรม ขอให้ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจที่ถ่องแท้ ในเรื่องการเสพติด การแก้ปัญหามาร่วมผลักดันและขับเคลื่อนให้เกิดเป็นรูปธรรม กฎหมายฉบับดังกล่าวกำลังเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ก็หวังว่า ทุกคนจะเห็นด้วยและเข้าใจการแก้ปัญหายาเสพติด

พล.อ.ไพบูลย์ ยังกล่าวอีกว่า ปัญหาคนล้นคุก จริงๆถ้าอยากแก้ไขไม่ใช่เรื่องยาก สามารถสั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขกฎหมาย เอาคนออกได้เลย แต่ที่สำคัญ ที่ยังไม่ทำคือจะทำอย่างไรให้คนในสังคมยอมรับและเข้าใจว่าคนที่ติดคุกออกมาพวกเขาไม่ไช่อาชญากร หรือเป็นขยะสังคม ส่วนตัวไม่เชื่อว่าประเทศไทยหรือโลกนี้จะเอาสิ่งเสพติดในรูปแบบต่างๆที่ว่าไม่ดี ออกไปจากโลกใบนี้ได้ แต่จะทำอย่างไรให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันกับผู้เสพติดได้และรับเข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม ฝากหน่วยงานกระทรวงยุติธรรมนำไปปฎิบัติให้เกิด และเห็นเป็นรูปธรรมในอนาคต

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน