เลขาฯศาลยุติธรรม เผย ศาลฎีกาพร้อมพิจารณาคดี นาฬิกาหรู ละเมิด มาตรฐานจริยธรรมฯนักการเมือง ร้ายเเรงหรือไม่ หาก ปปช.ยื่นร้องมา เผยช่องทางนี้ เป็นเรื่องใหม่ ยังไม่ค่อยมีคนทราบ

ศาลฎีกา นาฬิกาบิ๊กป้อม – เมื่อเวลา 10.45 น.ที่ชั้น 12 สำนักงานศาลยุติธรรม อาคารศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการ สำนักงานศาลยุติธรรม กล่าวตอบข้อซักถามสื่อมวลชนในการเเถลงข่าวผลการดำเนินงานศาลยุติธรรมทั่วประเทศและสำนักงานศาลยุติธรรม ปี 2561

ในประเด็นเรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเสียงข้างมาก ตีตกคดีที่การกล่าวหา การไม่ยื่นหรือเเสดงบัญชีทรัพย์สิน อันเป็นเท็จ จากการครอบครองนาฬิกาหรู ของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม จะเข้าข่ายการละเมิดจริยธรรมอย่างร้ายเเรงของผู้ดำรงตำเเหน่งทางการเมืองเเละองค์กรอิสระหรือไม่

หากมีการยื่นร้องกล่าวหา ป.ป.ช. ในส่วนของคดีอาญาในเรื่องปฏิบัติหน้าที่มิชอบด้วย ว่าขั้นตอนตามกฎหมายถ้าหากมีการร้องเข้ามาสนช.ก็จะพิจารณาส่งเรื่องให้ประธานศาลฎีกานำเข้าที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเพื่อพิจารณาเเต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระ เหมือนคราวที่เมื่ออดีต คณะกรรมการ ป.ป.ช.เคยโดนร้องเรื่องขึ้นเงินเดือนตัวเอง ซึ่งขั้นตอนการร้องคดีเเละการพิจารณาจะมีระเบียบของศาลฎีกาที่ได้เผยเเพร่

วันนี้ตนได้รับเอกสารข้อมูลในการพิจารณาคดี ของศาลฎีกา เเผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำเเหน่งทางการเมือง ในปี 2561 มีคดีที่เข้าพิจารณา 351 มีค้างเก่า119คดี เเละศาลฎีกาฯพิจารณาเเล้วเสร็จในป 234 ค้างมาปีนี้236คดี ซึ่งส่วนใหญ่คดีที่ค้างจะเป็นคดีจงใจไม่เเสดงหรือนื่นบัญชีทรัพย์สินอันเป็นเท็จ ส่วนฐานกระทำความผิดอื่นๆมีเเค่กว่า10คดี ซึ่งทางศาลฎีกาก็พร้อมที่จะมีการพิจารณาคดีให้เเล้วเสร็จภายในกรอบที่ประธานศาลฎีกากำหนดใน 1ปี

เมื่อถามว่าหลังจากที่มีการออกระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงของผู้ดำรงตำเเหน่งทางการเมืองเเละองค์กรอิสระมีการร้องขึ้นสู่การพิจารณา เเล้วหรือไม่

นายสราวุธ กล่าวว่า ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีคดีละเมิดมาตรฐานจริยธรรมร้ายเเรงขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาเนื่องจาก เรื่องนี้ยังเป็นเรื่องใหม่เเละไม่ค่อยมีคนทราบ

ถามต่อว่า เมื่อวาน ป.ป.ช.มีการเเถลงชี้เเจงเรื่อง นาฬิกาหรู พล.อ.ประวิตร ในส่วนที่มีการตีตกในส่วนของคดีอาญา ในประเด็นเรื่องการรับของที่มูลค่าเกิน3พันบาท ตรงนี้จะถือว่าเข้าข่ายละเมิดมาตรฐานจริยธรรมร้ายเเรง ของผู้ดำรงตำเเหน่งทางการเมืองหรือไม่

นายสราวุธ กล่าวว่า เรื่องนี้อยู่ในอำนาจหน้าที่ ป.ป.ช. ตนจึงไม่สามารถที่จะให้ความเห็นได้ มิเช่นนั้นจะเป็นการให้ความเห็นของการทำงานของหน่วยงานอื่นๆ “เเต่ในส่วนของศาลเองถ้ามีการยื่นเรื่องเข้ามาทางศาลมีความพร้อมที่จะมีการพิจารณาคดี”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เเละผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ได้ถูกบัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญฉบับ 60 โดยกำหนดให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับประกอบด้วย ศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระ คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ หรือ กสม.

ซึ่งรัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้มีจริยธรรมบังคับใช้ควบคุมกับผู้ดำรงตำเเหน่งทางการเมืองเเละองค์กรอิสระเพื่อเน้นเเละตรวจสอบเข้มข้นมากกว่าวิธีการทางอาญาเพียงอย่างเดียว โดยการพิจารณาคดีผู้ที่ละเมิดมาตราฐานจริยธรรมฯจะให้เป็นไปตามระเบียบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ขึ้นมาหากมีคดีขึ้นสู่การพิจารณาคดี โดยมีประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 31 ม.ค.61 ที่ผ่านมา


เกาะติดข่าวการเมืองข่าวเลือกตั้ง แค่กดเป็นเพื่อนกับไลน์@ข่าวสด ที่นี่
เพิ่มเพื่อน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน