โพลสันติภาพ ชายแดนใต้ หนุนกระจายอำนาจ มากกว่ารัฐอิสระ ชง 7 นโยบาย ส่งต่อพรรคการเมือง

วันที่ 28 ก.พ. ที่คณะรัฐมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เครือข่าย Peace Survey 19 องค์กร ร่วมกับศูนย์วิจัยดิเรก ชัยนาม และศูนย์ข่าวสารสันติภาพ จัด เสวนาสาธารณะ “สันติภาพ ชายแดนใต้ หลังเลือกตั้ง 62 ข้อเสนอจากประชาชนและนโยบายพรรคการเมือง”

โดยนายศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี สถาบันวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มอ.ปัตตานี และทีมงาน Peace Survey แถลงนำเสนอ “7 ข้อเสนอประชาชน สู่นโยบายชายแดนใต้/ปาตานี” ว่า เกิดจากรวบรวมผลสำรวจกลุ่มประชากรตัวอย่าง รวม 6,321 คน จำนวน 4 ครั้งกระจายทั่วพื้นที่ชายแดนภาคใต้

ภาพรวมส่วนใหญ่ร้อยละ 42.6 รู้สึกว่า สถานการณ์ยังเหมือนเดิม ร้อยละ 21.7 บอกว่าแย่ลง รวมร้อยละ 64 ที่ประชาชนยังบอกไม่รู้สึกเปลี่ยนแปลง จึงอาจจำเป็นต้องมีการปรับนโยบาย

นายศรีสมภพ กล่าวว่า เครือข่ายมีข้อเสนอทั้งสิ้น 7 ข้อ คือ

1.ยกระดับการพูดคุยสันติภาพให้เป็นแกนกลางในการแก้ไขความขัดแย้งทางการเมือง ประชาชนทุกกลุ่ม ร้อยละ 64.4 มีความหวังว่าจะเกิดข้อตกลงสันติภาพได้ในอีก 5 ปีข้างหน้า

2.เร่งปกป้องพลเรือนจากความรุนแรงและการละเมิดสิทธิ โดยเห็นว่า การสร้างพื้นที่ปปลอดภัยในชุมชน จะต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของพลเรือน (เป้าหมายอ่อน) ในพื้นที่สาธารณะ เช่น โรงเรียน ตลาด โรงพยบาล ปลอดความรุนแรง

3.ทบทวนประสิทธิผลการแก้ปัญหายาเสพติดและเร่งตั้งกลไกพิสูจน์ข้อเท็จจริงเหตุรุนแรง ซึ่งร้อยละ 70.9 เห็นว่า ปัญหานี้ สำคัญที่สุด หากจะยุติความรุนแรง

4.ตรวจสอบประสิทธิภพาการใช้งบประมาณรัฐด้านการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งคนในพื้นที่ยังคงมีรายได้น้อย แม้จะมีการใช้จ่ายงบประมาณด้านการพัฒนาพื้นที่กว่า 1.3 แสนล้านบาท ตลอด15ปีที่ผ่านมา จึงเป็นคำถามว่า การใช้งบประมาณรัฐมีประสิทธิภาพเพียงใด

5.ออกแบบระบบการศึกษาที่มีคุณภาพและสะท้อนวิถีอัตลักษณ์วัฒนธรรม ที่นอกจากจะต้องคำนึงถึงคุณภาพการศึกษาแล้ว ยังต้องยอมรับอัตลักษณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย โดยรัฐอย่างเป็นรูปธรรมด้วย

6.การจายอำนาจมากขึ้นด้วยโครงสร้างการปกครอง ที่มีลักษณะเฉาพะของพื้นที่ มีประชาชนร้อยละ 29.2 รับไม่ได้กับรูปแบการปกครองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่ขณะเดียวกันก็มีเสียงไม่น้อย ร้อยละ 45.8 อีกเช่นกัน ที่ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงไปถึงรัฐอิสระ ซึ่งประชาชนเห็นด้วยกับการกระจายอำนาจตามลักษณะเฉพาะของพื้นที่มากที่สุด ส่วนแบบที่เป็นในปัจจุบันต้องการน้อยที่สุด

7.เปิดพื้นที่ให้คนได้ถกเถียงเรื่องอ่อนไหวทางการเมืองโดยไม่ถูกคุกคามจากทุกฝ่าย จึงจำเป็นที่จะต้องมีพื้นที่ให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นอย่างเสรี โดยไม่ถูกคุกคาม ยิ่งมีพื้นที่มากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งทำให้มีทางเลือกที่หลากหลาย ที่จะทำให้เกิดการถกเถียง ที่สอดคล้องกับความจริงมากขึ้น

เมื่อถามถึงข้อเสนอนโยบายข้อ 6 ที่ผลสำรวจประชาชน เห็นด้วยกับรูปแบบที่เป็นอิสระจากประเทศไทยรวมร้อยละ 22 นั้น นายศรีสมภพ กล่าวว่า คนที่ต้องการแยกตัวเป็นอิสระได้มีโอกาสตอบคำถาม เมื่อรวมกันก็คิดเป็นร้อยละ 22 กว่า ซึ่งต้องทำให้เขาแสดงความคิดเห็นออกมาอย่างสันติ

ถือว่ายุติธรรมกับทุกฝ่าย กับทั้งที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย บรรยากาศที่ส่งเสริมสันติภาพต้องทำให้สามารถพูดได้อย่างเปิดเผยและปลอดภัย แต่คนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางนี้

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์@ข่าวสด ที่นี่
เพิ่มเพื่อน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน