พยากรณ์ เศรษฐกิจไทย ความเสี่ยงนโยบายรัฐบาลประยุทธ์ ถดถอยอย่างต่อเนื่อง!

เศรษฐกิจไทย – วันที่ 31 ก.ค. นายกิตติ ลิ่มสกุล นักวิชาการอิสระ ด้านเศรษฐศาสตร์ มหภาค เผยแพร่บทความ ความเสี่ยงของนโยบายเศรษฐกิจรัฐบาลประยุทธ์ภายใต้ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ระบุว่า

คณะรัฐประหาร สาม-ป. ยึดอำนาจอันชอบธรรมจากประชาชน หลังวางแผนอยู่นานอย่างซ่อนเงื่อนไว้แยบยล แม้จะมีการยุบสภาคืนอำนาจสู่ประชาชนแล้ว กลับเป็นว่าส่งผลให้อำนาจรัฐอ่อนแอจนคุมผู้ถืออาวุธไม่ได้

หลังจากนั้นมีการสมคบคิดระหว่างคณะทหารร่วมกับกองกำลังบนถนนที่เรียกว่า กลุ่มนกหวีด ที่หนุนโดยนายทุนอนุรักษ์นิยมผู้ซ่อนตัวในเงามืดยึดประเทศจากประชาชนจนสำเร็จด้วยการต้อนปลาน้อยเข้าไซง่ายดาย อย่างน่าฉงน?

นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ลอกเลียนรัฐบาลประชาธิปไตยที่มีทั้งอ้างอิงให้เกียรติ และสำเนาซึ่งหน้า เช่น นโยบายโอทอป คุณสมคิด และ คณะนักการตลาดยึดเอามาเป็นงานตนเองทั้งๆที่ผู้คิดคือผู้ก่อตั้งพรรค ทรท. ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของท่านนายกทักษิณโดยตรง

คณะรัฐประหารเชื่อว่า คุณสมคิดใช้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจเช่นที่เรียนรู้มาจากนายกทักษิณว่าจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวได้เหมือนที่รัฐบาลในอดีตทำ แต่ในครั้งนี้เศรษฐกิจไทยมีเสถียรภาพมากกว่า

หลังวิกฤตเศรษฐกิจ หลังต้มยำกุ้ง รัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้สร้างเสถียรภาพและรากฐานการเจริญเติบโตไว้ดูจากแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่วัดโดยดัชนีวัฏจักรเศรษฐกิจชี้นำ และชี้ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน (Leading and Coincident Business Cycle Indicators) ของธนาคารแห่งประเทศไทย

การศึกษาพบว่าเศรษฐกิจมหภาคยุค สมคิดและคสช.ไม่สามารถเทียบได้กับภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจในยุคของรัฐบาลทักษิณ อภิสิทธิ์และยิ่งลักษณ์ได้เลย

พยากรณ์เศรษฐกิจไทยระยะสั้น 2018-2020

ดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจฯ (Leading Economic Indicatorม LEI) ประกอบด้วยตัวแปรสำคัญ อาทิ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้าง ดัชนีราคาหลักทรัพย์ ปริมาณเงิน ปริมาณการส่งออก อัตราส่วนกลับของราคาน้ำมันดิบ ทุนจดทะเบียนใหม่ จำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศไทย ฯลฯ

การพยากรณ์ชี้ว่าเศรษฐกิจไทยยังถดถอยต่อไปสู่จุดต่ำสุดของวัฏจักรธุรกิจ (Business Cycle Trough) จบสิ้นอย่างเร็วปลายปี 2020 และแน่ชัดว่าสิ้นปี 2019 เศรษฐกิจไทยโดย LEI ยังไม่ถึงจุดต่ำสุด ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน (Current Coincident Economic Condition) ตามหลังการชี้นำอยู่อย่างน้อย 3 เดือน

นั่นหมายความว่า เศรษฐกิจปัจจุบันยังถดถอยอย่างต่อเนื่องและจนถึงสิ้น 2020 ก็อาจยังไม่เข้าสู่จุดต่ำสุด (ดูกราฟดัชนีวัฏจักรเศรษฐกิจประกอบ) ปัจจัยสำคัญคือการจัดการภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันด้วยนโยบายเศรษฐกิจไทยที่เหมาะสมกับความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจโลก ที่น่าจะถูกกระทบจากข้อขัดแย้งทางการค้าจีน-สรอ

โดยเฉพาะการถดถอยในประเทศอุตสาหกรรม จนส่งผลให้ประเทศจีนถดถอยจากสภาวะผลิตล้นเกิน (excess supply) และตลาดทุนที่น่าจะตกต่ำทั่วโลก และส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในปี 2019-2020 และจะส่งผลต่อการเพิ่มของหนี้สินครัวเรือน และสุขภาพของบริษัทขนาดเล็กในประเทศไทย ส่งผลต่อสภาวะการใช้จ่ายของครัวเรือนที่แสดงโดยการขยายตัวหดตัวของรายรับภาษีมูลค่าเพิ่ม

กิตติ ลิ่มสกุล นักวิชาการอิสระ ด้านเศรษฐศาสตร์ มหภาค

สรุปและข้อเสนอเชิงนโยบาย

1) เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงต่อการสงครามเศรษฐกิจจีน-สรอ ฯลฯ ที่น่าจะขยายตัวลุกลามจนส่งผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไทยภายนอก (การไหลเข้า-ออกของทุนระยะสั้น อัตราแลกเปลี่ยน การส่งออก และการนำเข้า หรือความสามารถในการแข่งขัน) และเสถียรภาพภายใน (ราคา และเงินเฟ้อ การจ้างงาน ฯลฯ)

2) รัฐบาลควรจะมีการวางแผนรองรับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ด้านการเงินการคลัง ที่ผ่านมากระทรวงการคลังไม่สามารถบริหารนโยบายการเงินการคลังให้มีประสิทธิภาพ ในการกำกับภาวะการขยายตัว-หดตัวทางเศรษฐกิจ ดังเห็นจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าแนวโน้มในอดีตโดยรัฐบาลประชาธิปไตยก่อนรัฐประหารโดย คสช.

3) รัฐบาลโดยทีมเศรษฐกิจฯ ภายใต้รองนายกรัฐมนตรีสมคิด อาจจำเป็นต้องรีบตั้งทีมจัดการเศรษฐกิจเฉพาะกิจ เพื่อปรับนโยบายการเงิน-การคลัง ให้สู้สงครามเศรษฐกิจ (Counter Cyclical Fiscal and Monetary Policy Mixed) ให้ได้ มิพึงแสดงความลำพองใจว่าเครดิตทางการเงินโดยบริษัทการเงินนานาชาติเพิ่มให้ เพราะเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นน่าเป็นผลงาน

นโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยและกรรมการนโยบายการเงิน ที่คอยดึงไม่ให้รัฐบาลคสช.ใช้เงินโปรยอย่างฟุ่มเฟือยและผิดเวลา มากกว่าเป็นความสำเร็จของนโยบายการคลังที่ท่านรองนายกและทีมงานการคลังเชิงการตลาดทำการบริหารราชการงานการคลังที่ผ่านมาต่างหาก

เพราะชัดเจนว่า คุณสมคิดและคณะคสช. ไม่ได้ยึดถือวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัดจนรัฐบาลนี้ก่อหนี้สาธารณะมากขึ้น

หากแต่มีผลได้เชิงกระตุ้นเศรษฐกิจที่ด้อยกว่ารัฐบาลปรกติในอดีตจนแก้ตัวยากว่ามีประสิทธิภาพการบริหารทางการคลังด้อยมาก ผมเป็นห่วงว่าเศรษฐกิจไทยจะตกต่ำจนเกินแก้ หากรัฐบาลนี้ใช้แนวทางการคลังเชิงการตลาดต่อไป จนเป็นอวสานเซลล์แมนกลุ่มนี้

กราฟ

 

ภาวะเศรษฐกิจ ไทย 1994-2018 แสดงโดย ดัชนีวัฏจักร ดัชนีชี้นำ และ ชี้ภาวะปัจจุบัน (Leading and Coincident Economic Indicators) หมายเหตุ ปรับปรุงช้อมูลล่าสุด ธค 2018

ภาวะเศรษฐกิจด้านการใช้จ่ายของภาคเอกชน 1994-2018 แสดงโดย แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของภาษีมูลค่าเพิ่ม

การส่งออก-นำเข้า ระหว่าง สรอ และตู่ต้า

ผลกระทบจากการขึ้นภาษีอากรนำเข้า ร้อยละ 10 ต่อสินค้าจีน นำเข้า สรอ

SIM1 = สหรัฐฯ ขื้นภาษีนำเข้า ร้อยละ 10
Base= กรณีฐาน ก่อนขื้นภาษี

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน