รายงานพิเศษ : พรรคการเมือง กับ อนาคตประชาธิปไตยไทย

พรรคการเมือง กับอนาคต ปชต. : เมื่อวันที่ 8 .. ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) กลุ่มอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) จัดงานเสวนาหัวข้อพรรคการเมืองกับอนาคตประชาธิปไตยไทยโดยมีนักวิชาการด้านกฎหมาย และภาคประชาสังคมเข้าร่วมสนทนา

 

สุภาภรณ์ มาลัยลอย

มูลนิธินิติธรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม ตัวแทนภาคประชาสังคม

ในระยะที่ผ่านมาภาคประชาชนเล็งเห็นถึงความสำคัญของการเลือกตั้ง การมีพรรคการเมือง ดังจะเห็นได้ว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมา ภาคประชาชนที่เคยต่อสู้บน ท้องถนนและทำงานในพื้นที่ต่างๆได้ก้าวสู่การลงสมัคร เป็นส..เป็นสมาชิกพรรค การเมือง ทำให้พรรคการเมืองมีความสำคัญที่ภาคประชาชนก้าวเข้าไปมีบทบาทมากขึ้น

อย่างเช่นที่ผ่านมา ในการดำเนินโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ภาคประชาชนพยายามคัดค้านตรวจสอบตั้งแต่ยุค คสช. แต่ไม่เคยเป็นผล ไปยื่นเรื่องกับคสช. ไปยื่นเรื่องกับสนช. ก็ไม่เคยมีการฟังเสียงประชาชนหรือทบทวนประเด็นต่างๆ แต่หลังจากหมดยุครัฐบาลคสช. ได้เห็นว่ามีการผลักดัน ตรวจสอบในเรื่องนี้มากขึ้นผ่านกลไกรัฐสภา คณะกรรมาธิการ อนุกรรมาธิการต่างๆ มีการเชื่อมโยงกับส..ที่เราเลือกไป และพรรคการเมืองที่มีนโยบายในด้านนี้มากขึ้น

แต่สิ่งที่น่ากังวล คือถ้าเกิดการยุบพรรคการเมืองที่ทำงานกับภาคประชาชนในประเด็นต่างๆ อย่างแข็งขันขึ้นมา สิ่งนี้ย่อมทำให้พื้นที่ในการแสดงออกของภาคประชาชนถูกทำลายลงไปด้วยเช่นกัน

ถ้าพรรคการเมืองที่ฟังเสียงประชาชนมากๆแล้วถูกยุบ กลไกการฟังเสียงประชาชนอาจจะถูกยุบไปด้วย การยุบพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์ที่เอื้อกับประชาชน ประชาธิปไตย แล้วปล่อยให้รัฐบาลที่มาจากการสืบทอดอำนาจเดินหน้าต่อไปโดยไม่มีเสียงคัดค้านหรือพรรคการเมืองที่ถ่วงดุลอำนาจ เสียงประชาชนคงจะหายไป คงต้องใช้พื้นที่อื่นเพื่อส่งเสียงต่อไป

 

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล

อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

โดยหลักแล้ว ถ้าไม่มีพรรคการเมือง ไม่มีการนำเสนอนโยบายอย่างเป็นกลุ่มเป็นก้อน กระบวนการทำนโยบายจะเกิดขึ้นไม่ได้ พรรคการเมืองคือเครื่องมือของประชาชนในกระบวนการกำหนดเนื้อหาของนโยบาย กำหนดเนื้อหาของผู้แทน กำหนดตัวผู้แทนจากพรรคที่มีนโยบาย และการกำหนดตัวนายกรัฐมนตรี

ดังนั้น ระบอบประชาธิปไตยจะขาดพรรคการเมืองไม่ได้ ไม่เช่นนั้นประชาชนจะกำหนดนโยบายของประเทศไม่ได้ กำหนดตัวนายกรัฐมนตรีไม่ได้

พรรคการเมืองคือเครื่องมือในการสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชน ฉะนั้นรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยต้องประกันเสรีภาพในการตั้งพรรคการเมือง ส่วนกลไกการยุบพรรคการเมืองเป็นเรื่องปกติ เพื่อไม่ให้เสรีภาพนั้นย้อนกลับมาทำร้ายรัฐธรรมนูญเอง

การยุบพรรคตามรัฐธรรมนูญปี 2550 มีการบัญญัติเรื่องเหตุจากการล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการสั่งให้เลิกการกระทำดังกล่าว หรืออาจจะสั่งให้ยุบพรรค หรืออาจจะสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งด้วยก็ได้ แต่ในรัฐธรรมนูญปี 2560 มีการนำคำนี้ออกจากรัฐธรรมนูญ และนำไปอยู่ใน พ...พรรคการเมือง มาตรา 92 แทน

สิ่งที่น่ากังวล คือในมาตรา 92 ของพ...พรรคการเมืองระบุว่าถ้ามีการกระทำที่อาจจะเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบการปกครอง ก็อาจนำไปสู่การยุบพรรคได้ ในส่วนนี้มีปัญหาที่อาจจะขัดกับรัฐธรรมนูญได้ และมีการให้ใช้ดุลพินิจในการตีความกว้างเกินไป สิ่งนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก

ส่วนกรณีของพรรคอนาคตใหม่ที่กำลังเป็นกรณีศึกษาขณะนี้ มีสองเรื่องคือปฏิปักษ์ต่อระบอบการปกครอง และเรื่องเงินกู้ ซึ่งยังกังขาว่าเป็นเหตุให้นำไปสู่การยุบพรรคได้ด้วยหรือ เพราะในพ... พรรคการเมืองไม่มีการระบุว่าเงินกู้เป็นรายได้ของพรรคการเมืองได้ แต่การบอกว่าเงินกู้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการไปไกลเกินไป

หลักกฎหมายมหาชนมีอยู่ชัดว่าถ้าเป็นองค์กรของรัฐ สิ่งใดที่กฎหมายไม่ให้อำนาจไว้จะทำไม่ได้ แต่ระหว่างประชาชนด้วยกันต้องใช้กฎหมายแพ่ง ถ้าสิ่งไหนกฎหมายไม่ห้ามเอาไว้ย่อมทำได้ พรรคการเมืองเป็นนิติบุคคล เป็นการรวมตัวกันของพลเมือง ตามหลักกฎหมายแพ่งการไม่ห้ามแปลว่าทำได้

ถ้าวิเคราะห์กันในทางการเมือง พรรคอนาคตใหม่ เราจะชอบหรือไม่ชอบ เลือกหรือไม่เลือกก็ตาม เป็นปฏิกิริยาต่อการที่ คสช.อยู่ในอำนาจนานเกินไป อย่าลืมว่าพรรคตั้งก่อนเลือกตั้งแค่ปีเดียว ถ้าความสุขจะกลับคืนมาไม่นานเหมือนสัญญาไว้ตอนยึดอำนาจใหม่ๆ ถ้าไม่มีการสืบทอดอำนาจ คงจะไม่มีพรรคอนาคตใหม่เกิดขึ้น

คนเลือกพรรคอนาคตใหม่มีจำนวนไม่ใช่น้อย 6 ล้านกว่าเสียง ผมว่าให้สู้กันในสภาดีกว่า ถ้าการกระทำของเขาไม่ถึงขั้นล้มล้างระบอบการปกครองก็ไปถึงขั้นยุบพรรคไม่ได้ การกระทำตรงไหนที่มีปัญหาก็ไปบอกให้เลิกการกระทำก็พอ ให้สู้กันในสภาดีกว่า

ข้อที่เป็นห่วงสุดท้าย คือฝ่ายตุลาการ ต้องเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร นี่เป็นหลักการทั่วโลก ฝ่ายบริหารห้ามเลือกฝ่ายตุลาการ จะได้เกิดความเป็นกลางในการทำหน้าที่ แต่การ ที่สนช.ที่มาจากคสช.เป็นคนเลือกศาลรัฐธรรมนูญ และต่อไปนี้ส..ที่คสช.แต่งตั้งมาเช่นกัน จะเป็นคนเลือกศาลรัฐธรรมนูญต่อ

ผมไม่ได้กำลังจะกล่าวว่าศาลรัฐธรรม นูญไม่เป็นกลาง แต่สิ่งนี้กำลังทำให้สังคมเกิดความคลางแคลงใจต่อความเป็นกลาง

 

สมชาย ปรีชาศิลปกุล

อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่

สิ่งที่กำลังเป็นปัญหาใจกลางสำคัญของระบอบการเมืองไทยในปัจจุบัน คือจะจัดวางความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างสถาบันทางการเมืองต่างๆอย่างไร เมื่อชนชั้นนำที่เคยถืออำนาจกำลังถูกท้าทายจากกลุ่มคนใหม่ๆ ซึ่งในมุมของชนชั้นนำ ต้องปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง และเครื่องมือหนึ่งที่ถูกนำมาใช้คือสถาบันตุลาการ

บทบาทของอำนาจตุลาการที่เข้ามาในสังคมการเมืองไทยและพรรคการเมือง เห็นได้ชัดว่าเกิดขึ้นหลังปี 2549 เป็นต้นมา ก่อนหน้านั้นศาลรัฐธรรมนูญยังคงจำกัดอำนาจของตนเองในการไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือวินิจฉัยคดีการเมือง

แต่หลังจากปี 2549 ศาลรัฐธรรมนูญเริ่มเข้ามามีบทบาทในคดีการเมืองต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะการเข้าไปยุบพรรคการเมือง ตั้งแต่พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน คดี นายสมัคร สุนทรเวช คดีแก้รัฐธรรมนูญ เป็นต้น

แล้วทำไมพรรคอนาคตใหม่ถึงโดนคดีและมีการดำเนินการอย่างรวดเร็ว สิ่งที่เราเห็นคือองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการ มีเป้าหมายอยู่ที่พรรคที่เป็นปฏิปักษ์ต่อชนชั้นนำ ข้อเสนอของพรรคอนาคตใหม่กระทบถึงประโยชน์และอำนาจของชนชั้นนำดั้งเดิมอย่างเป็นประจำ เช่น การเลิกเกณฑ์ทหาร การเข้าไปแตะงบประมาณกองทัพ ชนชั้นนำจึงเลือกที่จะใช้อำนาจตุลาการมาทำหน้าที่อีกครั้ง

ส่วนพรรคอนาคตใหม่จะยุบหรือไม่ผมไม่รู้ แต่ผมคิดว่าเงื่อนไขของปี 2562-2563 ขณะนี้ถ้าเทียบกับตอนยุบพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชนต่างกันอย่างมี นัยยะสำคัญ เงื่อนไขที่จะนำไปสู่การยุบหรือไม่ยุบ ตอนนั้นเกิดขึ้นได้เพราะมีอำนาจนำที่มีบารมีชี้นำไปในทางเดียวกัน แต่ตอนนี้อำนาจนำที่ชี้นำในสังคมไทยแตกต่างกันไป

สิ่งที่น่าสังเกตคือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่หมดอายุไป 5 คนและต้องพ้นจากตำแหน่ง เหตุใดจึงไม่มีการแต่งตั้งใหม่ คิดว่าสิ่งนี้เป็นเพราะอำนาจนำที่มีบารมีแตกต่างออกไป การตั้งคนใหม่จึงไม่สู้น่าไว้วางใจ

ความชอบธรรมของผู้มีอำนาจตอนนี้กำลังต่ำเตี้ยเรี่ยดิน ถ้าถามใจผม ยุบไปเลย ถ้าเห็นว่าการกระทำที่เกิดขึ้นเป็นปัญหา ต้องจัดการเลย อย่าปล่อยให้เกิดการแพร่กระจายการกระทำแบบนี้

แล้วจะได้รู้ว่าการยุบพรรคการเมือง จะไม่ได้ทำให้ปมปัญหาความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างกลุ่มต่างๆ ในสังคมจบไปด้วย

 

โคทม อารียา

อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล

พรรคการเมืองสามารถเป็นภัย เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยได้มากน้อยแค่ไหน แต่เดิมเรากลัวว่าพรรคการเมืองจะถูกครอบงำโดยอำนาจคณาธิปไตย ตกอยู่ภายใต้อำนาจของใครคนหนึ่ง

ต่อมามีการขยายความมาถึงอะไรก็ตามที่เป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่ให้ใครคิดเป็นอย่างอื่นในทางการเมือง

พรรคการเมืองคือเครื่องมือที่ทำให้ประชาชนอย่างเราสามารถเลือกตามยุทธศาสตร์ นโยบายสาธารณะ และทิศทางการปกครองของประเทศ พรรคการเมืองจึงเป็นหัวใจของประชาธิปไตย

แต่ขณะนี้กำลังมีความพยายามยุบพรรคการเมือง ซึ่งการยุบพรรคการเมืองที่ผ่านมาผลเป็นอย่างไร เราก็ทราบมาแล้วว่านำไปสู่ความยืดเยื้อ แต่พวกเขายังจะใช้วิธีการเหล่านี้ต่อไป

พรรคการเมืองที่มีนโยบายที่ดีรับฟังได้ ทำไมไม่เปิดพื้นที่ให้เขาดำเนินการทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ถ้ามีพรรคการเมืองเหล่านี้ ประชาธิปไตยจะเข้มแข็ง อย่าไปพิฆาตเขาเลย

ส่วนคดีเงินกู้ของพรรคอนาคตใหม่ที่กู้เงิน 191 ล้านบาทจากหัวหน้าพรรค ในความเห็นของผม เงินกู้ไม่ใช่รายได้เด็ดขาด เพราะเป็นเงินที่ต้องคืน ผมเคยไปตรวจสอบมาว่ามีพรรคการเมืองไหนที่กู้เงินเขามาบ้างหรือไม่ เจอว่ามีหลายพรรค กู้มาก็ต้องคืน บังเอิญจำนวนกู้ไม่เท่ากัน

ถ้าพรรคอนาคตใหม่ผิดพรรคอื่นๆ ก็น่าจะต้องผิดด้วย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน