เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.2564 ในการประชุมวุฒิสภา มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา เป็นประธานที่ประชุม พิจารณา พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2564 หลังจากที่สภาผู้แทนราษฎร ได้อนุมัติเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง ชี้แจงว่า การแก้ไข พ.ร.ก.เพื่อบรรเทาภาระของลูกหนี้ ที่ได้รับผลกระทบจากการคำนวณอัตราดอกเบี้ยผิดนัดที่ไม่สมควร เป็นธรรม และรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยเนื้อหาได้ปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยที่ไม่ได้ระบุไว้ในนิติกรรม ลดจาก 7.5% ต่อปี เหลือ 3% และกำหนดอัตราที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ด้วยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกาในกรอบเวลา 3 ปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยผิดนัด ได้ปรับให้เป็น 5% ต่อปี จากเดิมที่กำหนด 7.5% ต่อปี

ดังนั้นพ.ร.ก.ฉบับนี้จะช่วยลดจำนวนการฟ้องร้องดำเนินคดีระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ และลดโอกาสการเกิดหนี้เสียในภาคส่วนต่างๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงหวังว่าวุฒิสภาจะได้อนุมัติ พ.ร.ก.ฉบับนี้ เพื่อปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยในกฎหมายให้มีความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ เพื่อลดภาระและสร้างความเป็นธรรมให้แก่ลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระหนี้ เพื่อรักษาเสถียรภาพ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

จากนั้น น.ส.ปิยฉัฏฐ์ วันเฉลิม ส.ว.ในฐานะรองโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.)การกฎหมาย การยุติธรรม และการตำรวจ วุฒิสภา นำเสนอผลการศึกษา พ.ร.ก.ว่า การปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยที่ไม่ได้ทำนิติกรรมหรือมีกฎหมายกำหนด และการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดตามที่ปรับปรุงใน พ.ร.ก. จะครอบคลุมถึงบทบัญญัติอื่นในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือไม่ เช่น กรณีที่แก้ไขอัตราดอกเบี้ยผิดนัด 3% ต่อปี และมีอัตราเพิ่ม 2% รวมเป็น 5% แต่มาตรา 244 วรรคหนึ่งของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดให้สิทธิ์เจ้าหนี้เรียกดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราดังกล่าวหากมีเหตุที่ชอบด้วยกฎหมาย และในกรณีที่มีเหตุที่ชอบด้วยกฎหมาย อาจทำให้การคิดดอกเบี้ยผิดนัดสูงเกินกว่าการปรับอัตราที่แก้ไขในกฎหมาย เช่น มีเหตุที่ทำให้ต้องปรับดอกเบี้ย ที่ 10% ต่อปี หากผิดชำระต้องใช้อัตรา 5% ต่อปี หากมีเหตุอื่นจะทำให้ลูกหนี้ต้องชำระดอกเบี้ยตามกำหนดเดิมหรือไม่

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย มาตรา 654 กำหนดห้ามเพดานการคิดดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ซึ่งบังคับใช้กว่า 92 ปี และไม่กำหนดรายละเอียดของการปรับดอกเบี้ยผิดนัด ดังนั้น หากจะปรับอัตราดอกเบี้ยควรปรับดอกเบี้ยขั้นสูงให้สอดคล้องด้วย นอกจากนั้น มาตรา 224/1 ในพ.ร.ก.ที่แก้ไข กำหนนดว่า หากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้งวดใด เจ้าหนี้ให้คำนวณดอกเบี้ยผิดนัดเป็นงวดๆ ซึ่งกรณีดังกล่าวถือว่าไม่กระทบสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะร้องขอต่อศาลให้ชำหนี้ของลูกหนี้ทั้งหมดได้ เพราะมีข้อตกลงที่ว่าลูกหนี้ผิดนัดชำระะงวดใดให้สิทธิเจ้าหนี้เรียกเงินงวดทั้งหมดได้ในคราวเดียวกัน แม้จะทำส้ญญาประนีประนอมในศาลได้ แต่เมื่อพ.ร.ก.ฉบับดังกล่าวใช้บังคับ จะถือว่าการผิดนัดงวดเดียว ให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมดได้หรือไม่

ด้านนายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ ส.ว. ในฐานะประธาน กมธ.การเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง วุฒิสภา ชี้แจงรายงานที่ได้ศึกษา ว่า เพื่อให้การแก้ไขกฎหมายเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง และในโอกาสต่อไป ควรแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ควรแก้ไขอัตราดอกเบี้ยปกติ เพราะมาตรา 654 หรือ พ.ร.บ.เรียกดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน ที่เรียกได้มากกว่า 15% รวมถึงการแก้ไขอัตราดอกเบี้ยอื่นๆ เช่น สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ และในกลุ่มนอนแบงค์ ควรแก้ไขโดยให้มีเพดานที่เหมาะสมสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและคงอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำไว้ในระยะเวลาพอสมควร เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชน ลดการฟ้องร้อง และเกิดประโยชน์กับเศรษฐกิจ

การแก้ไขของกฎหมาย ให้ความสำคัญต่อการกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดที่ไม่ได้กำหนดไว้ในสัญญา ที่ผ่านมาพบการกำหนดดอัตรานัดสูงสุด และเมื่อเข้าสู่ศาล ศาลจะใช้ดุลยพินิจ หากปรับเกินส่วนจะพิจารณาปรับลด แต่ไม่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย ดังนั้นควรกำหนดให้ชัดเจนไว้ในสัญญา รวมถึงกรณีที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยให้ชัดเจนด้วย

หลังจากนั้น เปิดให้สมาชิกอภิปรายแสดงความคิดเห็น โดยส.ว.สนับสนุนให้มีพ.ร.ก.ดังกล่าว ในที่สุดที่ประชุมลงมติเห็นด้วยกับ พ.ร.ก.ดังกล่าวด้วยคะแนน 201 เสียง ไม่เห็นด้วยไม่มี งดออกเสียง 5 เสียง

ต่อมา ที่ประชุมวุฒิสภา พิจารณา พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกรทบจากการระบาดของโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2564 (ซอฟต์โลน) ที่ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรไปแล้ว

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นว่า พ.ร.ก.นี้ มี 2 มาตรการ คือ มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ วงเงิน 2.5 แสนล้านบาท และมาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิซื้อทรัพย์สินนั้นคืนในภายหลัง วงเงิน 1 แสนล้านบาท

เพื่อให้ไม่ต้องขายทรัพย์สินให้กับกลุ่มทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการขาดสภาพคล่อง และเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางสำคัญในการบรรเทาความดือดร้อนและรักษาความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจของประเทศเพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจ

จากนั้น สมาชิกได้อภิปรายเสนอแนะควรปรับปรุงแนวทางการช่วยเหลือทางการเงินกับกลุ่มเอสเอ็มอี หรือธุรกิจขนาดเล็กกว่าเอสเอ็มอี

นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ส.ว. อภิปรายว่า มาตรการทางการเงิน เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ควรใช้สถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือ ธนาคารเพื่อการพัฒนา ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ให้มากขึ้น

เนื่องจากจัดตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนานั้นมีเจตนารมณ์ให้กระทรวงการคลังใช้เป็นเครื่องมือได้เต็มที่ มากกว่าจะใช้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่มีหน้าที่กำกับสถาบันการเงินพาณิชย์ ซึ่งที่มีหลักเกณฑ์และหน้าที่ดูแลเงินฝากของประชาชน จึงมีกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับ และเป็นอำนาจการชักชวน

หากกระทรวงการคลังใช้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ รัฐบาลสามารถให้นโยบยายได้เต็มที่ และหากมีความเสียหาย สามารถตั้งเป็นบัญชีบริการสาธารณะ เพื่อรับงบประมาณจากรัฐบาล เพื่อพิสูจน์ได้ว่า เพื่อการบริการสาธารณะ

ด้านนพ.เจตน์ สิรธรานนท์ ส.ว. อภิปรายว่า การคิกออฟฉีดวัคซีน วันที่ 7 มิ.ย. ถือเป็นการส่งต่อจากสาธารณสุขไปยังกระทรวงการคลัง เพื่อดำเนินการทางเศรษฐกิจหลังจากสร้างภูมิคุ้มกันให้คนไทย อย่างไรก็ตามการระบาดของโควิด สร้างผลกระทบกับคนไทย และไม่มั่นใจว่าจะมีการระบาดอีกครั้งหรือไม่ ดังนั้นในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านการช่วยเหลือเอสเอ็มอี เชื่อว่าจะเป็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

การออกพ.ร.ก.ซอฟต์โลน ทั้งฉบับแรก วงเงิน 5 แสนล้านบาท และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 3.5 แสนล้านบาท ตนมองว่าน้อยเกินไป กับจำนวนเอสเอ็มอี ที่มี 3 ล้านราย ซึ่งการช่วยเหลือเอสเอ็มอี ผ่านการออกเงินผ่าน ธปท. มีเพียง 1.2 แสนล้านบาท ถือว่าน้อยมาก ดังนั้นเพื่อให้ช่วยเหลือกลุ่มเอสเอ็มอีได้ ต้องจัดลำดับและแบ่งการช่วยเหลือ อาทิ กลุ่มที่พร้อมฟื้น, กลุ่มรอฟื้นตัว ที่สามารถช่วยเหลือแล้วธุรกิจฟื้นได้ และกลุ่มรอรักษา เปรียบเหมือนเป็นบัวใต้น้ำที่ถมเงินอาจจะสูญเปล่า หากไม่แบ่งจะทำให้มีปัญหาได้

จากนั้น ที่ประชุมลงมติเห็นชอบอนุมัติพ.ร.ก.ดังกล่าวด้วยคะแนน 173 เสียง ไม่เห็นด้วยไม่มี งดออกเสียง 4 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง

หลังจากนี้จะส่งพ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับ ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน