เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 29 พ.ย.พล.ต.พีรวัชฌ์ แสงทอง โฆษกกองกำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) กล่าวถึงกรณีที่ต่ออายุบังคับใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ2551 ในพื้นที่ อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี กับอ.จะนะ อ.นาทีวี อ.เทพา และอ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา ว่า ในพื้นที่ 5 อ.ดังกล่าว ใช้กฎหมายดังกล่าว มาตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน ปี 2552 ซึ่งกฎหมายนี้มีอายุ 1 ปี และจะสิ้นสุดวันที่ 30 พฤศจิกายน 2560 ดังนั้นจึงต้องขอต่ออายุ เพื่อขยายเวลาเป็นช่วงๆ โดยกอ.รมน.เสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) จากนั้นพิจารณาอนุมัติขึ้นมา ให้ขยายเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2560 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2561 ส่วนเหตุผลนั้นเพื่อรักษาความปลอดภัย การดูแลความเรียบร้อยในพื้นที่ให้สภาวะแวดล้อมในการประกอบอาชีพของประชาชนได้อย่างสันติสุข

พล.ต.พีรวัชฌ์ กล่าวต่อว่า การประกาศต่ออายุกฎหมายฉบับดังนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องม็อบต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน อ.เทพา แต่อย่างใด เพราะเรื่องนั้นเป็นการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐตามปกติ หากใครผิดก็ว่าไปตามผิด ซึ่งไมได้เกี่ยวข้องกับกฎหมายนี้ อีกทั้งการประกาศใช้กฎหมายดังกล่าว สอดคล้องนโยบายการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จชต.) ตนขออย่าให้ไปเชื่อมโยงกับเรื่องม็อบ จะทำให้สังคมเกิดความเข้าใจผิด

เมื่อถามว่า มีการต้องข้อสังเกต หากมีการชุมนุมในพื้นที่5 อ.ดังกล่าว จะใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ กับผู้ชุมนุม ได้หรือไม่ พล.ต.พีรวัชฌ์ กล่าวว่า สำหรับการแก้ไขปัญหา จชต. มีกฎหมายพิเศษ 3 ฉบับ คือ1. กฎอัยการศึก 2. พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และ3. พ.ร.บ. ความมั่นคงฯ ซึ่ง 5 อ.ดังกล่าวเป็นพื้นที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้น แต่เจ้าหน้าที่รัฐสามารถควบคุมเหตุการณ์ได้ ดังนั้นจึงบังคับใช้กฎหมายความมั่นคง เพื่ออำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่รัฐ แก้ไขปัญหา ไม่ให้ขยายปัญหาความมั่นคงออกนอกพื้นที่

“ขอให้เข้าใจว่ากฎหมายพิเศษทั้ง 3 ฉบับนี้มีไว้เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ จชต. ส่วนเหตุการณ์ม็อบ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายนที่ผ่านมา จะดำเนินการตามกฎหมายปกติของพนักงานสอบสวน ดังนั้นอย่านำมาเชื่อมโยงกัน เพราะไม่เกี่ยวข้องกัน” โฆษก กอ.รมน. กล่าว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน