พริษฐ์ แจงคุยประธานศาลรธน. ได้คำตอบทำประชามติแก้รธน. 2 ครั้ง คิวหารือประธานสภาหวังทบทวน 27 พ.ย.นี้ มั่นใจถ้ายึดโรดแมปทำประชามติ 2 ครั้งตามกรอบ ไร้ปัญหา ปัดตอบ ‘ชูศักดิ์’ เสนอตีความพรบ.ประชามติเป็นกม.การเงินจะได้ไม่ต้องรอ 180 วัน

เมื่อวันที่ 21 พ.ย.2567 ที่ศาลรัฐธรรมนูญ นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานกรรมาธิการ(กมธ.)การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ภายหลังเข้าร่วมหารือกับประธานศาลรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า การประชุมครั้งนี้ไม่เป็นทางการ จึงไม่ใช่ความเห็นที่เป็นทางการของศาลรัฐธรรมนูญ และไม่ได้พบกับตุลาการทั้งคณะ แต่เข้าพบแค่ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และผู้เข้าร่วมประชุม

สิ่งที่พูดคุยกัน จึงเป็นความเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม ไม่ใช่ความเห็นของทั้งองค์คณะ โดยการหารือพบว่าเราได้มีการทบทวนคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 ซึ่งระบุไว้ชัดไว้ในย่อหน้าสุดท้ายว่ามีการพูดถึงประชามติ 2 ครั้ง คือ 1 ครั้งก่อนและ 1 ครั้งหลัง การหารือกันของความหมายดังกล่าวก็ไม่ได้แสดงความเห็นว่าจำเป็นต้องทำประชามติถึง 3 ครั้ง

ส่วนการทำประชามติทั้งก่อน และหลัง ขั้นตอนจะเป็นเช่นไรเป็นสิ่งที่รัฐสภาต้องตัดสินใจร่วมกัน แต่ข้อเสนอที่พรรคประชาชน และพรรคเพื่อไทย เคยพูดมาก่อนหน้านี้ คือให้ทำประชามติ 2 ครั้งโดยใช้วิธีการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพิ่มหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เข้าไป

หากผ่าน 3 วาระ ของรัฐสภาแล้วจะต้องทำประชามติครั้งแรก เพื่อถามว่าประชาชนเห็นชอบกับแนวทางดังกล่าวหรือไม่ ก่อนจะจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วจึงทำประชามติครั้งที่ 2 เพื่อถามว่าประชาชนจะเห็นชอบกับเนื้อหาที่ถูกจัดทำมาในฉบับใหม่หรือไม่ ซึ่งจากการหารือ ดูแล้วเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564

ดังนั้น จะนำแนวทางนี้ไปหารือกันประธานรัฐสภาในวันที่ 27 พ.ย. เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยหวังว่าประธานรัฐสภาจะทบทวนและบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับการเพิ่มหมวด 15/1 เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา จะเป็นโอกาสที่ดี ทำให้มีการพิจารณามุมมองต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และถ้าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภามาได้ ก็จะจัดทำประชามติหลังจากผ่านวาระที่ 3

เมื่อถามว่าผลการหารือในครั้งนี้ทำให้มั่นใจมากขึ้นหรือไม่ว่า หากมีผู้นำเรื่องกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญมายื่นให้ศาลรัฐธรรมนูวินิจฉัย การวินิจฉัยจะเป็นคุณมากกว่าโทษ นายพริษฐ์ กล่าวว่า อย่างที่บอกว่าการหารือไม่มีใครแสดงความคิดเห็นว่ามีความจำเป็นต้องทำประชามติ 3 ครั้ง

คำวินิจฉัยที่ 4/2564 ก็พูดถึงการทำประชามติแค่ 2 ครั้ง แต่ 2 ครั้งจะเกิดขึ้นตอนไหน พรรคประชาชนและพรรคเพื่อไทย เสนอไปก็สอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จึงคิดว่าผลของการหารือดังกล่าวจะนำไปสู่การพูดคุยกับทางสภาให้ทบทวนและบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ

หากเป็นเช่นนั้น ก็คิดว่าทางรัฐสภาจะเดินหน้าพิจารณาได้ แต่แน่นอนว่าเป็นสิทธิบางกลุ่มอาจยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ ถ้าเป็นเช่นนั้นเราจะไปคาดการณ์ 100 เปอร์เซ็นต์คำวินิจฉัยที่จะออกมาคงไม่ได้ แต่เชื่อว่าผลที่ออกมาจะยืนยันว่าสิ่งที่เราเสนอนั้น ไม่ได้ขัดต่อคำวินิจฉัยศาลที่ 4/2564

เมื่อถามว่านอกจากเรื่องดังกล่าวได้หารือเรื่องอื่นๆที่ยังติดใจอยู่หรือไม่ นายพริษฐ์ กล่าวว่า สิ่งที่หารือเป็นหลักคือคำวินิจฉัยศาลที่ 4/2564 และคิดว่าการได้รับความชัดเจนในเรื่องนี้เป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้เราจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ทันต่อการเลือกตั้งครั้งถัดไป

เมื่อถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่สภาฯ จะเสนอให้ตีความว่ากฎหมายประชามติเข้าข่ายเป็นกฎหมายการเงินเพื่อไม่ต้องรอ 180 วัน ตามที่นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ เสนอ นายพริษฐ์ กล่าวว่า คงต้องดูในรายละเอียด ตนยังไม่ทราบรายละเอียดที่นายชูศักดิ์เสนอ จึงขอไม่ให้ความเห็น

แต่ถ้ามีการเสนอ พรรคประชาชน ก็ต้องมีความเห็นในเรื่องนี้อยู่แล้ว แต่ในภาพรวมขณะนี้หลายคนก็กังวลใจว่า เมื่อข้อสรุปของกมธ.ร่วมเห็นชอบร่างของสว. เมื่อส่งกลับมาที่สส. สภาฯอาจยืนยันในหลักการเดิม คือใช้เสียงข้างมากหนึ่งชั้น ถ้าเป็นเช่นนั้นร่างพ.ร.บ.ประชามติ จะต้องถูกชะลอไป 180 วัน

ถ้าจะยึดตามแผนเดิมให้มีประชามติ 3 ครั้ง และจะไม่จัดครั้งแรก จนกว่าพ.ร.บ.ประชามติจะแก้ไขเสร็จสิ้น ก็จะกระทบต่อกรอบเวลา แต่ถ้าผลสรุปที่ได้จากวันนี้ ทำให้เราโน้มน้าวทุกฝ่าย หันมาใช้โรดแมปทำประชามติ 2 ครั้ง ก็คิดว่าพ.ร.บ.ประชามติจะล่าช้า ก็ไม่กระทบต่อไทม์ไลน์ดังกล่าว เพราะถ้าเราทำประชามติ 2 ครั้ง ขั้นตอนแรกไม่ใช่จัดทำประชามติเลย แต่รัฐสภาพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับส.ส.ร. และการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ใน 3 วาระของรัฐสภา ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในระดับหนึ่ง

แต่หากเราดำเนินการตามขั้นตอนแบบนี้ 6 เดือนที่ชะลอไป ก็คงไม่กระทบไทม์ไลน์ตรงนี้ พูดง่ายๆ คือถ้าเราไม่อยากให้ ให้ความล่าช้าของพ.ร.บ.ประชามติเป็นปัญหา ก็หันมาใช้กลไกหรือโรดแมปประชามติ 2 ครั้ง น่าจะเป็นทางออกที่ด

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน