บางแง่มุมจากพายุโซนร้อน ‘ปาบึก’ : พายุหมุนลูกแรกเดือนม.ค. ก่อตัวเร็วสุด

คอลัมน์ Weather Wisdom โดย บัญชา ธนบุญสมบัติ

พายุโซนร้อนปาบึกซึ่งขึ้นฝั่งที่จังหวัดนครศรีธรรมราชไปเมื่อวันศุกร์ที่ 4 มกราคม 2562 มีแง่มุมน่าสนใจหลายอย่าง และผมได้ให้ข้อมูลในรายการคนชนข่าวทางช่อง True4U ไปบ้างแล้ว สนใจชมคลิปนี้ได้ครับ

อย่างไรก็ดียังมีข้อมูลสำคัญที่คิดว่าน่าเน้นย้ำและบันทึกไว้ดังนี้ครับ

ประเด็นแรก : นับเป็นครั้งแรกที่เดือนมกราคมมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย

ข้อมูลสถิติพายุหมุนเขตร้อนของศูนย์ภูมิอากาศกองพัฒนาอุตุนิยมวิทยากรมอุตุนิยมวิทยาระบุว่าในช่วงปีพ.. 2494-2560 (67 ปี) เดือนที่ไม่มีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยเลย ได้แก่ มกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม ดูภาพที่ 1 ครับ

ภาพที่ 1 กราฟแสดงพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยในแต่ละเดือน (ข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494-2560)

ทั้งนี้หากคิดรวมข้อมูลพายุในปี พ.. 2561 ด้วย ข้อสรุปที่ได้ก็ยังคงเป็นเช่นเดิม

แต่เมื่อพายุโซนร้อนปาบึกเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.. 2562 ข้อสรุปนี้ได้เปลี่ยนไป เพราะนี่คือ เหตุการณ์แรกในรอบ 68 ปีที่เดือนมกราคมได้มีพายุหมุนเขตร้อนเข้ามาในบ้านเรา

อาจมีคำถามว่าในอดีตมีพายุหมุนเขตร้อนลูกไหนที่เข้ามาในช่วงเวลาใกล้ปีใหม่มากที่สุด?

คำตอบคือดูภาพที่ 2 ซึ่งแสดงเส้นทางพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยในเดือนธันวาคมครับ (ข้อมูลตั้งแต่ปี พ.. 2494-2560)

พายุหมุนเขตร้อนเข้าไทย-ธันวาคม
ภาพที่ 2 พายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยในเดือนธันวาคม

จะพบว่าพายุที่เข้ามาใกล้ปลายปีมากที่สุดคือพายุดีเปรสชันคิท (Kit) ซึ่งขึ้นฝั่งทางภาคใต้ของไทยเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.. 2517

ประเด็นที่สอง: หากพิจารณาบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกทางแถบตะวันตกเฉียงเหนือ พบว่าปาบึกเป็นพายุโซนร้อนที่ก่อตัวขึ้นเร็วที่สุด

พายุปาบึกเดิมทีเป็นพายุดีเปรสชัน และได้ยกระดับเป็นพายุโซนร้อนในวันที่ 1 มกราคม พ.. 2562

น่ารู้ด้วยว่าในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกทางแถบตะวันตกเฉียงเหนือนี้) พายุดีเปรสชันได้ยกระดับเป็นพายุโซนร้อนอลิซ (Tropical Storm Alice) เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค..1979 (.. 2522) ด้วยเช่นกัน โดยในอีก 4 วันต่อมา คือวันที่ 5 มกราคม พายุอลิซลูกนี้ได้ทวีกำลังแรงขึ้นกลายเป็นพายุไต้ฝุ่น

ดูภาพถ่ายดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นอลิซได้ที่

ประเด็นที่สาม: พายุโซนร้อนปาบึกมีส่วนคล้ายกับพายุโซนร้อนแฮเรียตที่ถล่มแหลมตะลุมพุก

ทั้งปาบึกและแฮเรียตต่างก็เป็นพายุโซนร้อน และขึ้นฝั่งใน จ.นครศรีธรรมราชเช่นกัน

พายุโซนร้อนแฮเรียตขึ้นฝั่งที่แหลมตะลุมพุกจ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.. 2505 ดูเส้นทางในภาพที่ 3 ครับ พายุลูกนี้สร้างความเสียหายอย่างหนักจนเป็นที่จดจำและมีการสร้างเป็นภาพยนตร์ชื่อ ตะลุมพุก มหาวาตะภัยล้างแผ่นดิน ออกฉายเมื่อปี พ.. 2545

อ่านบทความเกี่ยวกับพายุแฮเรียตได้ที่ www.khaosod.co.th/special-stories/news_2037090

บางแง่มุมจากพายุโซนร้อน ‘ปาบึก’

TS Harriet 1962 track ภาพที่ 3 เส้นทางการเคลื่อนที่ของพายุโซนร้อนแฮเรียต

ประเด็นที่สี่: การพยากรณ์เส้นทางพายุหมุนเขตร้อนจะคลาดเคลื่อนมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

เนื่องจากเส้นทางการเคลื่อนที่ของพายุหมุนเขตร้อนขึ้นกันปัจจัยหลายอย่างเช่นสนามของลมโดยรอบพายุหมุนความกดอากาศที่อยู่ใกล้เคียงการเลื่อนบีตาและลมเฉือนเป็นต้น

สนใจข้อมูลเพิ่มเติมตามไปอ่านบทความพายุหมุนเขตร้อนจะเคลื่อนไปไหน อะไรกำหนด? ได้ที่ www.matichon.co.th/article/news_1161650 ครับ

ดังนั้นการพยากรณ์เส้นทางจึงเกิดความคลาดเคลื่อนได้และในปัจจุบันการพยากรณ์มักจะทำล่วงหน้าราว 3 วัน หรือ 72 ชั่วโมง ดูตัวอย่างในภาพที่ 4 ซึ่งมาจากเว็บ Hong Kong Observatory ที่ www.hko.gov.hk/wxinfo/currwx/tc_gis_e.htm

ภาพที่ 4: การพยากรณ์เส้นทางการเคลื่อนที่ของพายุ โดย Hong Kong Observatory


แนะนำข้อมูล

สถิติพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยจัดทำโดยศูนย์ภูมิอากาศกองพัฒนาอุตุนิยมวิทยากรมอุตุนิยมวิทยาสามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้จาก

https://www.tmd.go.th/climate/climate.php?FileID=8 แล้วเลือกข้อมูลล่าสุด

………….

บัญชา ธนบุญสมบัติ

www.facebook.com/buncha2509

buncha2509@gmail.com

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน