นักวิชาการประวัติศาสตร์ ชี้ หนักแผ่นดิน คือเพลงที่ใช้ฆ่าคนเห็นต่าง เป็นการเมืองแบบสร้างศัตรู

ภายหลัง พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในฐานะรองผอ.รมน. ให้คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์การเลือกตั้งพรรคเพื่อไทย (พท.) และหนึ่งในแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ไปฟังเพลงหนักแผ่นดิน เนื่องจากชูนโยบายตัดงบกลาโหม 10% และยกเลิกการเกณฑ์ทหาร

นำมาซึ่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่มีต่อ พล.อ.อภิรัชต์ จากสังคมในวงกว้าง ถึงความไม่เหมาะสม เนื่องจากเพลงหนักแผ่นดิน นั้นเป็นเพลงที่ครั้งหนึ่งเคยใช้ปลุกระดมเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ ก่อนนำมาสู่การล้อมปราบนักศึกษาใน ม.ธรรมศาสตร์ ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิต และสูญหายจำนวนมาก

และสุดท้ายพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในขณะนั้นได้ทำการรัฐประหาร ด้วยข้ออ้างเพื่อความมาเพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

เกาะติดข่าว แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์@ข่าวสด ที่นี่
เพิ่มเพื่อน

ในกรณีของ พล.อ.อภิรัชต์ นั้น พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เขียนแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ว่า การกลับมาของเพลงหนักแผ่นดินคือภาพสะท้อนของกระแสขวาจัดในสังคมไทย เพลงนี้เดิมใช้ในการขับไล่ กีดกัน และสร้างความรู้สึกให้มองว่าพวกคอมมิวนิสต์ไม่ใช่ไทย เป็นพวกอันธพาล คอยจะทำลายชาติ สถาบันกษัตริย์ และความเป็นไทย (ประเพณีไทย)

พูดอีกแบบเพลงนี้คือเพลงที่ใช้ฆ่าศัตรู ใครถูกไล่ให้ไปฟังก็คือศัตรู วิธีที่ไล่คนไปฟังเพลงแบบนี้นับว่าเก่ามาก เป็นวิธีเล่นการเมืองแบบสร้างให้เกิดศัตรู เพราะเป็นอันตรายต่อคนในสังคมที่ต้องการความสมานฉันท์และร่วมเดินไปข้างหน้าด้วยกัน

ถ้าเราย้อนกลับไปในบริบททางประวัติศาสตร์ คำถามสำคัญอยู่ตรงที่ทำไมคนจำนวนหนึ่งจึงเลือกภักดีต่ออุดมการณ์คอมมิวนิสต์ ตั้งคำถามสิ

___________________________________

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน