เผยไม่หมด! บลูมเบิร์กระบุเองไทยรั้งที่ 1 ไม่น่าสนใจ รบ.นับคนว่างงานไม่เหมือนประเทศอื่น

เผยไม่หมด! – วันที่ 20 เม.ย. จากการเปิดเผย ดัชนีความทุกข์ยากประจำปี 2019 ของ สำนักข่าวบลูมเบิร์ก ซึ่งประเทศไทยรั้งอันดับ 1 ประเทศที่มีความทุกข์ยากน้อยที่สุด จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ดุเดือดบนโลกออนไลน์

โดยส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นค้าน หลายคนระบุว่าค่าครองชีพสูงขึ้นต่อเนื่องมาตลอด 5 ปี ลูกจ้างโรงงานถูกปลดจำนวนมาก เงินเดือน-รายได้ไม่พอเลี้ยงชีพ และอีกส่วนกล่าวในเชิงประชดว่าไทยมีคนทุกข์ยากน้อยจริงๆ แต่ที่เหลือเกือบทั้งประเทศเป็นคนที่ทุกข์ยากมาก

เผยไม่หมด!

Yet sometimes a “less-miserable” score isn’t all it’s cracked up to be. /bloomberg/

นอกจากการเปิดเผยก่อนหน้านี้ของ พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รายงานชิ้นเดียวกันของบลูมเบิร์กยังมีข้อความอีกส่วนที่ระบุว่า

แม้ประเทศไทยจะครองอันดับ 1 ประเทศที่มีความทุกข์ยากน้อยที่สุดอีกครั้ง แต่วิธีการการนับอัตราคนว่างงานของรัฐบาลที่ไม่เหมือนใครเป็นส่วนที่ทำให้คะแนนน้อยลง และส่งผลให้การรั้งตำแหน่งของไทยไม่น่าสนใจ เท่ากับการพัฒนาของสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งปรับขึ้นมาอยู่อันดับที่ 2 และสิงคโปร์ที่ยังสามารถอยู่ใน 3 อันดับประเทศที่มีความทุกข์ยากน้อยที่สุดในโลกได้

ดัชนีความทุกข์ยากของบลูมเบิร์กเป็นการคำนวณจากแนวคิดเดิม โดยประเมินว่าตัวเลขเงินเฟ้อและอัตราว่างงานที่ต่ำ แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม ผลการจัดอันดับในปี 2019 เป็นผลสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งต่างจากปีก่อนๆ ที่ใช้ข้อมูลจริงรายปี

เผยไม่หมด!

Thailand again claimed the title of the least miserable economy, though the government’s unique way of tallying unemployment makes it less noteworthy than Switzerland’s improvement to second-least and Singapore. /bloomberg/

และบางครั้ง แน่นอนว่า ตัวเลขที่ต่ำสามารถก่อให้เกิดความไขว้เขวได้ในหลายประเด็น อาทิ ราคาสินค้าต่ำอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงอุปสงค์ (ความต้องการซื้อ) ที่น้อยมาก หรือตัวเลขการว่างงานที่ต่ำเกินไปนั้นถือเป็นอุปสรรคสำหรับแรงงานที่ต้องการเปลี่ยนอาชีพที่ดีขึ้น”

ข่าวเกี่ยวข้อง:

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน