‘สำนักพิมพ์สมมติ’ โกรธมาก! วิธีคิดองค์กรดูแลเรื่องการอ่าน กำหนดกรอบเนื้อหา หนังสือที่นายกฯแนะนำ

หนังสือที่นายกฯแนะนำ / วันที่ 13 มิ.ย. จากกรณีที่มีการเผยแพร่จดหมายที่ส่งไปยังแต่ละสำนักพิมพ์ เรื่อง ขอความร่วมมือส่งหนังสือให้ท่านนายกรัฐมนตรีแนะนำ โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน “หนังสือแนะนำจากนายกฯประจำสัปดาห์นี้” เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติในการพัฒนาทุนมนุษย์ ที่มีการกำหนดกรอบเนื้อหา 6 ข้อ ระบุว่า

1.ส่งหนังสือได้ทุกหมวด ทุกประเภทที่เหมาะกับทุกช่วงวัย
2. ควรมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับสถานการณ์สังคมปัจจุบัน แต่ไม่เสียดสีการเมือง
3.เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาด้านคุณธรรม จริยธรรม และความประพฤติที่เหมาะสม
4.มีเนื้อหาสร้างแรงบันดาลใจ ให้ความหวังในการดําเนินชีวิต
5.เป็นหนังสือที่ก่อให้เกิดความมานะบากบั่น ไม่ท้อถอยต่อปัญหาอุปสรรค
6.เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาให้ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ

อีกทั้งยังระบุหมายเหตุให้สำนักพิพม์นำส่งทุกวันที่ 1-5 ของเดือน เริ่มตั้งแต่ ก.ค. เป็นต้นไป (แต่ละสำนักพิพม์ส่งหนังสือมาให้พิจารณาได้ครั้งละไม่เกิน 3 ปกต่อเดือน) และกรมส่งเสริมวัฒนธรรมจะเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกที่ส่งมาในแต่ละเดือนส่งให้นายกฯแนะนำ

ด้าน ปิยะวิทย์ เทพอำนวยสกุล หนึ่งในผู้ก่อตั้งสำนักพิมพ์สมมติ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า สารภาพว่า ทันทีที่ได้รับอีเมลขอความร่วมมือนี้จากสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ มีความรู้สึกสองอย่างคือ โกรธถึงโกรธมาก คล้ายๆ กับโมโหอะไรสักอย่างแต่ไม่รู้ว่าจะโมโหใครหรืออะไรดี ปนๆ กับความรู้สึกหดหู่และสิ้นหวัง

จริงๆ แล้วไม่เกี่ยวกับคำว่า ‘แต่ไม่เสียดสีการเมือง’ แต่คิดเร็วๆ ได้ว่า ที่มาของความรู้สึกข้างต้นคงเป็นเพราะวิธีคิดหรือคอนเซ็ปท์เกี่ยวกับหนังสือขององค์กรที่กำกับดูแลเรื่องการอ่านและคิดๆ ไป การที่เรายังทำหนังสือหนังสือแบบนี้อยู่ ก็ควรจะตั้งคำถามถึงหน้าที่การงานที่ทำอยู่ทุกวันนี้ต่อตัวเองเหมือนกันว่า แท้ที่จริงแล้ว สนพ.แบบเราๆ ต่างหากที่ผิดแปลก

ขอเวลานั่งนิ่งๆ เงยหน้ามองท้องฟ้า ให้ความรู้สึกขุ่นมัวบางเบากว่านี้ แล้วคงจะได้เขียนอะไรยาวๆ เล่าให้ผู้อ่านฟัง

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์@ข่าวสด ที่นี่
เพิ่มเพื่อน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน