“ปู จิตกร บุษบา” อดีตแนวร่วมกลุ่ม กปปส. และนักจัดรายการชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก หลัง “ช่อ-พรรณิการ์ วานิช” โฆษกพรรคอนาคตใหม่ ได้แต่งกายด้วยเสื้อลูกไม้สีขาว พร้อมนุ่งผ้าซิ่น จนกลายเป็นกระแสแชร์ภาพของเธอไปทั่วทั้งสังคมออนไลน์ โดยชาวเน็ตส่วนใหญ่ต่างแซวว่าเธอเป็น “อี่นายซ้องปีป” จากละครเรื่องดัง กลิ่นกาสะลองนั้น

โดยภายหลังจากที่ภาพดังกล่าวเผยแพร่ออกไปไม่นาน “ช่อ พรรณิการ์” ได้ทวิตข้อความระบุ “เพราะความเป็นไทยไม่ได้มีแค่แบบเดียว #อนาคตใหม่ อยากทำให้สภาเป็นภาพสะท้อนความหลากหลายทั้งทางเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม เราจะพยายามแต่งกายด้วยชุดที่หลากหลาย นำผ้าจากแต่ละภูมิภาคเข้ามาสู่สภา และยังเป็นการส่งเสริมสินค้าท้องถิ่นด้วย”

มองเรื่องนี้ยังไงดี

1) มองที่ตัวระเบียบก่อน เนื่องจากระเบียบอยู่ระหว่างการร่าง จึงยึดเอาแนวการปฏิบัติในอดีตมาพิจารณา จะพบว่า ส.ส.คือตำแหน่งที่เรียกว่า “ข้าราชการการเมือง” ซึ่งมีระเบียบและความพร้อมเพรียงให้ปฏิบัติ โดยยึดหลักสุภาพและข้อกำหนดเป็นสำคัญ ที่ผ่านมากำหนดให้แต่งกาย “สากล” จึงสวมสูทมาประชุมสภากันถ้วนหน้า และเลือกสีสุภาพ คือ ดำ หรือน้ำเงิน ปเ็นหลัก
.
2) มองที่ตัวบุคคล คนคนนี้ชอบ “ความโดดเด่น” มากกว่า “ความกลมกลืน” เป็นหมู่คณะอยู่แล้ว การแต่งกายเช่นนี้เป็น “ความจงใจ” และ “นัดหมาย” กันมา เพื่อให้เป็น “ประเด็น” โดยประเด็นที่เธอทวิตนั้น ไม่มีอะไรผิด ถึงขั้นจะต้องด่าทอกัน แต่ก็ไม่มีอะไร “เด่น” เป็นสาระถึงขั้นต้อง “ยกยอ”
.
3) การเป็น “ผู้แทนราษฎร” ที่มี “สาระลุ่มลึก” กว่านี้ ในวาระการประชุมที่ให้ ส.ส. เอาความทุกข์ เอาปัญหาของประชาชนมาปรึกษาหารือกันในสภา และส่งเรื่องต่อไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง เธอควรมาพร้อม “สาระ” ว่า ขณะนี้มีประชาชนในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในกลุ่มชาติพันธุ์ ที่ประสบปัญหา “ความล่าช้า” ในการพิสูจน์สัญชาติและ “ให้สัญชาติ” ซึ่งทำให้เขาเหล่านั้นขาดโอกาสในการได้รับ “สิทธิขั้นพื้นฐาน” ทั้งการศึกษา การรักษาพยาบาล และการทำงาน อยากหารือท่านประธานไปยังกระทรวงมหาดไทย ว่าควรมีแผนและกำหนดระยะเวลาที่จะทำเรื่องนี้ให้เร็วที่สุด ในขณะเดียวกัน เราควรส่งเสริม “เอกลักษณ์-อัตลักษณ์” ของกลุ่มชาติพันธุ์และประชาชน ด้วยการส่งเสริมการแต่งกาย ประเพณี และวิถีชีวิตให้โดดเด่นขึ้นมา เพื่อให้เห็นว่า สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความหลากหลาย ซึ่งมีความหมายถึงความรุ่มรวยในทางศิลปวัฒนธรรมที่ควรภาคภูมิใจและควรได้รับการกระตุ้น ส่งเสริม ให้ยังคงอยู๋ และมีศักดิ์ศรีทัดเทียมกัน ไม่ใช่แค่แต่งตัวมาเดินให้สื่อถ่ายรูป และหมุนตัวโชว์ ตามที่สื่อร้องขอ ซึ่งเป็นเรื่องของ “เปลือก” และความผิวเผิน
.
4) ในเรื่องนี้ รอการตัดสินใจของ “ประธานสภา” ว่าจะอนุญาตให้มีการแต่งชุดไทยๆ หรือชุดพื้นเมือง เข้าประชุมสภาได้หรือไม่ ซึ่งโดยส่วนตัว ผมไม่เห็นเหตุผลใดที่จะไม่อนุญาต เพียงแต่ต้องกำหนดวันเพื่อให้เกิดความพร้อมเพรียง สวยงาม มากกว่าสภาที่ดู “เขรอะ” ไป ด้วยการแต่งกาย “ตามอำเภอใจ” หรือตามความสะดวกความรักชอบ ของแต่ละคน
.
5) ส่วนช่อจะใส่แล้ว “สวย” หรือ “ไม่สวย” ไม่ใช่ความเดือดร้อนของใครเลยครับ จึงไม่จำเป็นต้อง “ปากยื่นปากยาว” ในประเด็นนี้
.
6) ส่วนที่มีผู้วิจารณ์การแต่งกายของ “ช่อ” (ซึ่งยังไม่รวมชุดนี้) อ่านได้ที่ : ศิษย์เก่าจุฬา อัดแรง “ช่อ” ราวชุดระบำเทพธิดาดอย บ้าละคร

ผมว่า “ก้าวล่วง” รสนิยมและ “รูปกาย” ส่วนบุคคลเกินไป

ก้นใครจะเป็นอย่างไร เขาจะบ้าละครหรือไม่ รสนิยมใครจะเป็นอย่างไร ไม่ได้ “หนักหัว” ใคร หรือกระทบอะไรต่อการทำหน้านี้ การวิจารณ์เรื่องกายแต่งกายนี้ จึงมีขอบเขตแค่ “กาลเทศะ” / “การเคารพความพร้อมเพรียงของส่วนรวม” และการเป็นแบบอย่างที่ดี เท่านั้นเอง

เกินไปกว่านี้เป็นเรื่อง “ชอบไม่ชอบ” หรือ “สวย/ไม่สวย” ซึ่งก็เป็นเรื่อง “รสนิยมส่วนบุคคล” เท่านั้น และคำว่า “ระบำเทพธิดาดอย” ก็ไม่ชวนให้รู้สึกเป็นบวกต่อพี่น้องชนเผ่าต่างๆ แต่อย่างใด มุมมองแบบนี้ต้อง “ขัดเกลา” ให้ประณีตและระมัดระวังให้มากยิ่งขึ้น ไม่ใช่ระวังแค่จะไปละเทิดความเป็นมนุษย์ของคนอื่นหรือไม่เท่านั้น แต่ต้องระวังเรื่องความเป็นมนุษย์ของตัวเราด้วย.

จากนั้น “ปู จิตกร” ได้โพสต์เฟซบุ๊กอีกสเตตัสหนึ่ง ถึง น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ ที่วิจารณ์ “ช่อ พรรณิการ์” เรื่องการแต่งการเมื่อวานนี้ โดยระบุว่า

1.ปารีณา มีปัญหาเรื่องการสะกด คะ ค่ะ สะท้อนถึง “การศึกษาขั้นพื้นฐาน” ที่ล้มเหลวของตัวเธอ

2.ประเด็นเรื่องสภาต้องกำหนดระเบียบการแต่งกายนั้น จริง ข้าพเจ้าเห็นด้วย ทั้งนี้เพื่อวัตถุประสงค์เดียว คือ ให้เกิด “แนวปฏิบัติ” ที่พร้อมเพรียงกัน

3.กรณี “ช่อ” สวมชุดที่อ้างว่าเป็น “ผ้าไทย” ไปประชุมนั้น เบื้องต้นยังไม่ถือว่า “ขัดระเบียบ” เพราะระเบียบอยู่ระหว่างการยกร่างใหม่ แต่หากดูระเบียบเก่าๆ ที่ปฏิบัติกันมา ก็ให้แต่งกายสุภาพ อย่าง “สากลนิยม” จึง “สวมสูท” เข้าประชุมกันเสมอมา

4.ควรแต่งชุดไทยๆ ผ้าพื้นเมือง หรือชุดประจำท้องถิ่นไหม ก็แล้วแต่สภาจะกำหนดกันเองครับ เรื่องนี้ ข้าพเจ้าไม่รู้สึกเป็นปัญหา แต่งก็ได้ ก็งามไปอีกแบบ ไม่แต่งก็ได้ เพราะ “สาระสำคัญ” อยู่ที่การ “ตระหนักในหน้าที่” ของการเป็น “ผู้แทนราษฎร” มากกว่า อย่าลากไปสู่ประเด็นว่า เชิดชูความเป็นไทยหรือไม่เชิดชู มันแค่ “ระเบียบปฏิบัติ” เพื่อความพร้อมเพรียงของ “หมู่คณะ” เท่านั้นเอง


 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน