ธนารักษ์ ลุยสำรวจบ้านโบราณปล่อยทิ้งร้าง บ้านผีสิง พัฒนาทำโรงแรม-ร้านกาแฟ

นายอำนวย ปรีมนวงศ์ อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมกรมธนารักษ์กำลังรวบรวมพื้นที่ราชพัสดุ อาคารสำนักงานรัฐ อาคารที่พักข้าราชการ สิ่งปลูกสร้างโบราณ ที่มีสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมเก่าแก่ หรือมีประวัติเรื่องเล้นลับทั่วประเทศ จำนวนประมาณ 200 แห่ง มาจัดเปิดให้ภาคเอกชนเช่า ลงทุนพัฒนาเชิงพาณิชย์ เช่น โรงแรมบูติค ร้านอาหาร และร้านกาแฟ โดยมีเงื่อนไขผู้ร่วมประมูลจะต้อง อนุรักษ์สภาพตัวอาคารไว้ เพื่อช่วยอนุรักษ์สถานที่สำคัญของประเทศ

“เดิมทีอาคารเหล่านี้เป็นอาคารเก่า เป็นบ้านโบราณ มีศิลปกรรม สถาปัตยกรรมเก่าแก่หลายร้อยปี แต่ปัจจุบันบางหลังมีการปล่อยร้าง หรือมีประวัติเรื่องราวเหนือธรรมชาติ เป็นบ้านผีสิง ทางกรมกรมธนารักษ์จึงเห็นควรนำมาจัดทำแผนปรับปรุงเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ให้เอกชนเข้ามาร่วมพัฒนา เพราะหากกรมกรมธนารักษ์เข้าไปพัฒนาเอง อาจต้องใช้งบประมาณมาก”

ทั้งนี้ การรวบรวมอาคารเก่าเหล่านี้ อยู่ในโครงการจัดทำฐานข้อมูลอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่ราชพัสดุที่มีลักษณะทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม หรือสถาปัตยกรรมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ เบื้องต้นอาคารที่น่าสนใจ เช่น บ้านเขียว หรือบ้านขุนพิทักษ์บริหาร เป็นบ้านโบราณสมัยรัชกาลที่ 5 อายุเกินกว่า 100 ปี ที่อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา, อาคารกรมศุลกากร จ.หนองคาย รวมถึงอาคารเก่าในเขตกรุงเทพมหานคร 21 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ในทำเลที่มีมูลคเพิ่มทางเศรษฐกิจ มีลักษณะเชิงอนุรักษ์ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์

นายอำนวย กล่าวว่า อาคารโบราณทั่วประเทศบางส่วนอยู่ในการดูแลของส่วนราชการ หากมีแผนต้องการนำไปพัฒนาต่อก็ดำเนินการได้ แต่ถ้าปล่อยร้างไว้ไม่ได้ใช้ประโยชน์ กรมกรมธนารักษ์ก็จะขอเรียกคืนมาพัฒนา หรือเปิดประมูลให้เอกชนเข้ามาพัฒนา แต่หากอาคารใดขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานกับกรมศิลปากร กรมกรมธนารักษ์ก็ต้องหารือก่อนนำมาพัฒนา

“กรมกรมธนารักษ์คาดว่าน่าจะได้รับความสนใจจากนักลงทุน นักท่องเที่ยวพอสมคววร เพราะมีบางกลุ่มชอบเข้าพักสถานที่เก่าแก่ หรือบางกลุ่มก็เข้าไปสำรวจในลักษณะเป็นบ้านผีสิง โดยเมื่อได้ข้อมูลชัดเจนแล้วว่ามีแห่งใดสามารถนำมาบูรณะได้ กรมกรมธนารักษ์จะเปิดให้เอกชนเข้ามาทำสัญญา อาจเป็นรูปแบบพิพิธภัณฑ์ อาคารจำหน่ายสินค้าโอท็อป ที่พักแบบบูทีค โฮเทล หรือ ทำเป็นร้านค้า ร้านกาแฟก็ได้”

ส่วนผลตอบแทนเข้ารัฐอยู่ระหว่างพิจารณา แต่โครงการนี้ไม่ได้มีเป้าหมายในการหารายได้เข้ารัฐ แต่ต้องการทำเพื่ออนุรักษ์โบราณสถานที่สำคัญ เป็นการดูแลสังคมมากกว่า เหมือนกับอาคารที่ดินร้อยชักสามที่เพิ่งลงนามสัญญาให้เอกชนเช่าพัฒนาไป เมื่อทำเสร็จแล้วก็มีความสวยงาม กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ และสามารถอนุรักษ์สถาปัตยกรรมเป็นมรดกของประเทศต่อไปได้ด้วย

นอกจากนี้ กรมกรมธนารักษ์อยู่ระหว่างทำโครงการอนุรักษ์ที่ดินกำแพงเมือง-คูเมือง 1,400 แห่งทั่วประเทศ เพื่อแก้ปัญหาการออกเอกสารสิทธิพื้นที่ทับซ้อน และการพัฒนาอนุรักษ์เป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ของประเทศ เบื้องต้นมีการสำรวจพื้นที่กำแพงเมืองและคูเมืองที่ยังมีร่องรอยประวัติศาสตร์กว่า 300 แห่ง มาสำรวจและจัดทำพื้นที่เอกสารสิทธิก่อน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน