ถึงบางอ้อ หนุ่มเล่าสาเหตุเบื้องลึก ทำไมต้องไล่จับลิขสิทธิ์คนขายรายย่อย!

การละเมิดลิขสิทธิ์ ถือเป็นการกระทำความผิดอย่างหนึ่ง แต่จากกรณีจากล่อซื้อจับกระทง ทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ ถึงการจับลิขสิทธิ์ดังกล่าว ที่มีข้อครหาและคาใจ ว่า งานประดิษฐ์ดังกล่าว ควรหรือไม่ควรจะต้องไปไล่จับดังกล่าว

โดยพบว่าสมาชิกเฟซบุ๊กรายหนึ่ง ได้เขียนถึงประสบการณ์เกี่ยวกับการทำงานเรื่องลิขสิทธิ์ อย่างน่าสนใจ ว่า “………..พูดถึงเรื่องล่อซื้อลิขสิทธิ์หน่อย… เพราะเคยมีประสบการณ์ตรงเมื่อสิบกว่าปีก่อน สมัยที่ยังทำงานกับบริษัทเจ้าของคาแร็คเตอร์ญี่ปุ่นบางตัวอยู่หลายปี ที่วันนึงได้มีโอกาสทำงานกับเจ้าหน้าที่ดูแลลิขสิทธิ์ มันมีบางอย่างที่ทำให้ผมงงมากและหลังจากนั้นก็ได้คุยกับรองประธานบริษััท

ผม : ท่านครับ ทำไมคนพวกนี้ต้องไปจับพวกตัวเล็กตัวน้อยตามตลาดนัดเอย แบกะดินเอย (ตอนนั้นขายของในเน็ทยังไม่บูม) ทำไมไม่ไปจับผู้ผลิตหน้าโรงงานเลยล่ะครับ น่าจะเป็นการจัดการที่ต้นตอได้มากกว่านะครับ ไม่งั้นมันไม่มีวันหมดหรอก (เรานีี่เสือกเนอะ)

ทั่นรองฯ : เราขายใบมอบอำนาจตัวแทนฯ ใบละ 30,000 แล้วเค้าจะไปทำอะไรก็เรื่องของเค้า

……….จบสั้นๆ แค่นี้แหละครับ พอจะเข้าใจกันขึ้นอีกนิดแล้วเนอะว่าทำไมพวกตัวแทนฯ ถึงดูกร่างและไม่กลัวกฏหมายหรือตำรวจอะไรเลย เพราะมันหาเงินง่าย จับตัวเล็กตัวน้อยนี่ยิ่งชอบเพราะจำนวนมันเยอะ (ไอ้ใบอนุญาตน่ะขายกันหลายร้อยหรืออาจจะหลักพันใบเลยนะ) จับหน้าโรงงานได้ครั้งเดียวคนเดียวพวกกูก็อดตายกันหมดน่ะสิ มันก็เหมือนในข่าวใหญ่สัปดาห์นี้น่ะแหละฮะ ทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้จับ มันคือรายได้+การถอนทุนคืน”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน