กพท.เปิดเงื่อนไขใช้ 28 สนามบิน ปรับเวลาเครื่องขึ้นลง เฉพาะระหว่างเวลา 07.00-19.00 น. พร้อมมีข้อห้ามกำหนด

วันที่ 3 พ.ค. นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ลงนามออกประกาศเรื่องเงื่อนไขและเงื่อนเวลาในการใช้ท่าอากาศยาน เพื่อการขึ้นลงของอากาศยาน

ตามที่ได้มีข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 5) ประกาศ ณ วันที่ 1 พ.ค.2563 โดยในข้อ 2 (3) กำหนดห้ามหรือจำกัดการดำเนินการหรือการทำกิจกรรมบางอย่างตามพระราชกำหนดและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งครอบคลุมถึงห้ามผู้ใดใช้ท่าอากาศยานเพื่อการขึ้นลงของอากาศยาน เว้นแต่เป็นไปตามประกาศ เงื่อนไขและเงื่อนเวลาที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศกำหนด

เพื่อประโยชน์ในการรักษาความต่อเนื่องของการบินพลเรือนและสนับสนุนการบังคับใช้มาตรการต่างๆ ให้ยังคงดำรงอยู่ต่อไปเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไปสู่พื้นที่อื่นและป้องกันมิให้โรคกลับมาแพร่ระบาดใหม่ในพื้นที่ซึ่งเคยควบคุมได้ ผู้อำนวยการสานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 2 (3) ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 5) ประกอบกับมาตรา 15/10 (6) แห่งพ.ร.บ.การเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพ.ร.บ.การเดินอากาศ (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2562 ออกประกาศกำหนดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาในการใช้ท่าอากศยานเพื่อการขึ้นลงของอากาศยาน ดังต่อไปนี้

1.รายชื่อท่าอากาศยานที่เปิดให้อากาศยานขึ้นลงได้ ให้เป็นไปตามบัญชีแนบท้ายประกาศนี้

2.ให้ท่าอากาศยานที่ให้บริการเฉพาะการบินภายในประเทศ เปิดให้อากาศยานขึ้นลงได้ เฉพาะระหว่างเวลา 07.00-19.00 น. ผู้ดำเนินการสนามบินอาจพิจารณากำหนดระยะเวลาการเปิดให้อากาศยานขึ้นลงได้ให้สั้นกว่าระยะเวลาตามวรรคหนึ่งได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม

3.ให้ท่าอากาศยานที่ให้บริการทั้งการบินภายในประเทศและระหว่างประเทศ เปิดให้อากาศยานขึ้นลงได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในเงื่อนไขท้ายใบอนุญาตจัดตั้งสนามบินหรือท้ายใบรับรองการดาเนินงานสนามบินสาธารณะ หากท่าอากาศยานใดไม่มีข้อจำกัดหรือเงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาทาการ ให้เปิดให้อากาศยานขึ้นลงได้เฉพาะระหว่างเวลา 07.00-19.00 น.

4.ห้ามท่าอากาศยานตาม 3. ให้บริการแก่อากาศยานที่ขนส่งคนโดยสารจากต่างประเทศเข้ามายังประเทศไทย เว้นแต่อากาศยานนั้นจะเป็นประเภทใดประเภทหนี่งดังต่อไปนี้
(1) อากาศยานราชการหรือที่ใช้ในราชการทหาร (State or Military Aircraft)
(2) อากาศยานที่ขอลงฉุกเฉิน (Emergency Landing)
(3) อากาศยานที่ขอลงทางเทคนิค (Technical landing) โดยไม่มีผู้โดยสารออกจากเครื่อง
(4) อากาศยานที่ทาการบินเพื่อให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม ทาการบินทางการแพทย์หรือการขนส่งสิ่งของเพื่อสงเคราะห์แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 (Humanitarian Aid, Medical and Relief Flights)

(5) อากาศยานที่ได้รับอนุญาตให้ทาการบินรับส่งบุคคลกลับประเทศไทยหรือกลับภูมิลาเนา (Repatriation)
(6) อากาศยานขนส่งสินค้า (Cargo Aircraft)

5.ท่าอากาศยานอาจเปิดให้อากาศยานขึ้นลงนอกระยะเวลาตามที่กำหนดตาม 2. หรือ 3. ได้ ถ้าปรากฏว่าเป็นกรณีที่อากาศยานนั้นเป็นอากาศยานราชการหรือที่ใช้ในราชการทหาร (State or Military
Aircraft) ขอลงฉุกเฉิน (Emergency Landing) หรือขอลงทางเทคนิค (Technical landing) โดยไม่มีผู้โดยสารออกจากเครื่อง

6.ให้ผู้ดำเนินการสนามบินปฏิบัติตามบรรดาข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด และประกาศสานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศที่มีผลบังคับใช้กับท่าอากาศยานโดยเคร่งครัด

7.ให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการการจำกัดการเดินทางเข้า-ออกพื้นที่และมาตรการป้องกันโรคตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ กำหนด ให้ผู้โดยสารได้รับทราบในเวลาการจาหน่ายบัตรโดยสารและเมื่อผู้โดยสารแสดงตนก่อนขึ้นเครื่อง (Check in) หากผู้โดยสารแจ้งความประสงค์ขอเลื่อนการเดินทางออกไปเนื่องจากไม่พร้อมที่จะปฏิบัติตาม มาตรการของจังหวัดตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศดำเนินการออกบัตรโดยสารให้ใหม่โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

8.ให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศปฏิบัติตามบรรดาข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด และประกาศสานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศที่มีผลบังคับใช้กับผู้ดำเนินการเดินอากาศโดยเคร่งครัด

9.ผู้โดยสารและบุคคลผู้เดินทางโดยอากาศยานจะต้องรับการตรวจคัดกรองและต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด ในท่าอากาศยานปลายทางและจังหวัดปลายทางที่ตนจะ
เดินทางไปโดยเคร่งครัด

10.คำสั่งระงับการดาเนินงานของสนามบินหรือการอนุญาตให้หยุดการดำเนินงานสนามบินที่ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยได้ออกหรืออนุญาตไปก่อนแล้วตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ รวมถึงข้อยกเว้นหรือเงื่อนไขประกอบคำสั่งหรือการอนุญาตนั้น ให้ยังคงมีผลใช้ได้ต่อไปจนกว่าระยะเวลาตามคำสั่งหรือการอนุญาตนั้นจะสิ้นสุดลง ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศอื่นเปลี่ยนแปลง

สำหรับบัญชีแนบท้ายประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง เงื่อนไขและเงื่อนเวลาในการใช้ท่าอากาศยานเพื่อการขึ้นลงของอากาศยาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.ให้บริการเฉพาะการบินภายในประเทศ โดยมีท่าอากาศยานที่เปิดให้บริการขึ้นลงได้ ได้แก่ น่านนคร พิษณุโลก แพร่ แม่สอด แม่ฮ่องสอน ลำปาง ขอนแก่น นครพนม บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร อุดรธานี อุบลราชธานี ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช ระนอง

2.ให้บริการทั้งการบินภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยมีท่าอากาศยานที่เปิดให้บริการขึ้นลงได้ ได้แก่ กระบี่ เชียงใหม่ เชียงราย ดอนเมือง สมุย สุวรรณภูมิ สุราษฎร์ธานี หาดใหญ่ หัวหิน อู่ตะเภา

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน