กฏหมายไม่เปิดช่อง! “ทนายสุกิจ”ฉะ”พฐ.”กลับคำคดีบอส ชี้เชื่อถือไม่ได้ ไม่อยู่กับร่องกับรอย

จากกรณี พ.ต.อ.ธนสิทธิ แตงจั่น นักวิทยาศาสตร์ (สบ 4) กลุ่มงานตรวจเคมีฟิสิกส์ ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 1 สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ ได้กลับคำให้การเรื่องความเร็วของรถคดี “บอส อยู่วิทยา” โดยระบุว่า ความเร็วรถนายบอส ขณะเกิดเหตุอยู่ที่ 177 กม.ต่อชั่วโมง เหมือนกับในสำนวนครั้งแรก ส่วนที่เคยระบุเมื่อปี 2559 ว่า ความเร็วลดลงเหลือ 79.23 กม.ต่อชั่วโมงนั้น เป็นการสับสนในการคำนวณข้อมูล

กดติดตามไลน์ ข่าวสด official account ได้ที่นี่
เพิ่มเพื่อน

ล่าสุดเรื่องนี้ วันที่ 9 ส.ค. เฟซบุ๊ก สุกิจ พูนศรีเกษม หรือ “ทนายสุกิจ” ได้โพสต์เรื่องนี้ว่า ผลของพยานกลับคำให้การต่อสื่อ”ในคดี”นายบอส”หลังจากอัยการสั่งไม่ฟ้องไปแล้ว เป็นพยานหลักฐานที่จะใช้เป็นการดำเนินคดีใหม่นั้น กฏหมายไม่เปิดช่องให้ทำได้ ต้องดำเนินคดีกับพยานให้รับโทษเสียก่อน หลังจากที่ สำนักงานอัยการสูงสุด “มีคำสั่งไม่ฟ้องเด็ดขาด”สังคมได้เคลือบแคลงสงสัยว่า “คุกมีไว้ขังคนจน” ข่าวนี้ดังไปทั่วโลกเป็นเหตุต่างประเทศนั่งหัวเราะ ข้าราชการไทยมีแต่ที่จะจ้องจับผิดกันเองเพื่อความดังและต้องการออกสื่อ โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายในระบบของกฏหมายบ้านเรา

อย่างกรณี พันตำรวจตรีธนสิทธิ แตงจั่น ผู้ตรวจสอบความเร็วของรถยนต์ให้การยืนยันว่า “ความเร็วของรถยนต์”นายบอส”ขณะขับเป็นเหตุให้ตำรวจชึ่งเป็นผู้ตายถึงแก่ความตายนั้น ให้การตามหลักวิชาการว่าความเร็วนั้น คำนวนได้ 177 กิโลเมตรต่อหนึ่งชั่วโมง หลักจากนั้นก็มาให้การใหม่ว่า คำนวนผิด แท้จริงแล้วความเร็วไม่เกินกว่ากฏหมายกำหนด อันนี้ตำรวจก็ไม่ได้เชื่อถือพยานปากนี้เท่าควร ก็พยายามหาพยานหลักฐานคนกลางก็สอดคล้องต้องกันจึงทำให้พยานปาก พันตำรวจตรีธนสิทธิ แตงจั่น มีน้ำหนักรับฟ้องประกอบเท่านั้น แต่ก็ยังชื่อถือไม่ได้

ทั้งนี้หลังจากคดี”นายบอส”ตกเป็นข่าว พยาน ปากนี้ไปออกสื่อและไปให้การต่อหน่าวยงานต่างๆว่า ความเร็วคดี”นายบอส”นั้นแท้จริงแล้ว ความเร็ว 177 กิโลเมตรต่อหนึ่งชั่วโมง ที่ให้การเพิ่มเติมต่อพนักงานสอบสวนไปว่า”ความเร็วที่รถยนต์ “นายบอส” ขับขี่นั้น “ไม่เกินกว่ากฏหมายกำหนด” นั้นเพราะเกิดจาก”ความสับสน ” นั้น พยานปากนี้มีแนวคำพิพากษาศาลฎีกา วินิจฉัยว่า เชื่อถือไม่ได้ “ให้การกลับไปกลับมาไม่อยู่กับร่องกับรอย” และยังให้การ”แตกต่างกับพยานอื่น”เป็นข้อพิรุธ”นาย”บอส”ที่ตกเป็นข่าว ก็ให้การปฏิเสธตลอดมา ย่อมมีเหตุสงสัยตามสมควร ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสองคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2536

แม้ตำรวจจะไม่ได้แจ้งข้อหา ตำรวจและอัยการสูงสุดมีอำนาจตามกฏหมายใดที่จะสั่งให้ดำเนินคดี “กับ “นายบอส” ตามกระแสสังคมและความรู้สึกของท่านที่บริโภคข่าวอันนี้เป็นอันตรายต่อกระบวนการยุติธรรม ถ้ากฏหมายไม่เป็นกฏหมายความศักดิ์สิทธิของกฏหมาย ตกอยู่ในความรู้สึกของของมวลชนในการกดดันของมวลชน ตามความรู้สึกของประชาชนนั้น “ยอมทำไม่ได้

ตำรวจและอัยการย่อมไม่มีอำนาจดำเนินคดีกับ “นายบอส” ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ให้เป็นแนวทางไว้ตอนหนึ่งว่า ” แม้พนักงานสอบสวนจะเคยมีความเห็นว่า ไม่ควรดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาใดข้อหาหนึ่งและควรสั่งฟ้องอีกข้อหาหนึ่ง แต่ความเห็นของพนักงานสอบสวนยังไม่มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี เมื่อสำนักงานอัยการสูงสุด มีความเห็นเด็ดขาดไม่ฟ้องทุกข้อหาห้ามมิให้มีการสอบสวนเกี่ยวกับบุคคลนั้นในเรื่องเดียวกันนั้นอีก และก็ไม่ใช่พยานหลักฐานใหม่ด้วย ไปตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8481/2544

หากพยานที่กลับคำให้การต่อสื่อนั่น ในขณะเกิดเหตุท่านเป็นตำรวจ และในขณะกลับคำให้การครั้งสุดท่าน เป็นผู้แทนราษฎร์ หาก เห็น ตำรวจและอัยการปฎิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ ทำไม่ถึงไม่ดำเนินคดีผู้เกี่ยวต่อศาล เพื่อเอาผลคำพิพากษา “มารื้อฟื้นคดีใหม่ ” ที่ท่านให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนนั้น “ต้องมีกฏหมายรองรับ หากไม่มีกฏหมายรองรับ”ก็ไม่ตัดสิทธิ” สิทธิพลเมือง ที่จะกล่าวโทษท่านได้

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน