นักข่าวฟรีแลนซ์สื่อนอก อยู่ไทยนาน 8 ปี เล่าถึงปรากฏการณ์สังคมของไทย ในประเด็น วัฒนธรรมคาเฟ่-สังคมเซลฟี่ ในสังคมไทย สะท้อนปัญหาการขาดพื้นที่สาธารณะ

Chris Schalkx

เมื่อวันที่ 31 มี.ค.64 คริส ชลอร์คซ์ นักข่าวฟรีแลนซ์ที่อาศัยอยู่ในไทย นานกว่า 8 ปี ได้เขียนบทความเล่าถึง ปรากฏการณ์ทางสังคมของไทย ในประเด็น วัฒนธรรมคาเฟ่-สังคมเซลฟี่ ในสังคมไทย ในชื่อบทความ “วัฒนธรรมคาเฟ่ที่มีชีวิตชีวาของไทย กับการรองรับสังคมแห่งการเซลฟี่” โดยเผยแพร่ลงใน เว็บไซต์สำนักข่าว Nikkei Asia ซึ่งมีใจความ ดังนี้

คริส ชลอร์คซ์

“ขยับไปทางซ้ายนิดนึง !” “เชิดๆหน่อย!” “ยิ้มหน่อย!” บรรยากาศรอบตัวของผม เต็มไปด้วยเสียงตีกันจากการกดสมาร์ทโฟน เสียงถ่ายภาพจากกล้อง และช่างภาพที่ส่งเสียงต่างๆ ใส่นางแบบนายแบบของพวกเขา ไหนจะหญิงสาวในชุดเสื้อแขนกุด กำลังทำท่าจิบลาเต้เย็น ๆ เธอพยายามอย่างเต็มที่ มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ภาพออกมาดูเหมือนไม่ได้พยายามทำ ข้างหลังผม ก็มีผู้หญิงคนหนึ่งกำลังด่าแฟนหนุ่มที่คอยถือกล้องให้เธอ สิ่งที่ผมเดาก็คือ เขาคงได้ภาพเธอเผลอ ๆ หลุดๆ แบบที่เธอไม่ได้ต้องการ

Sarnies BKK

ถ้าไม่บอก ก็คงคิดว่า ผมอยู่ในสตูดิโอถ่ายภาพใช่ไหม แต่ที่จริง ผมกำลังเพลิดเพลินกับกาแฟที่ร้านกาแฟแห่งใหม่ล่าสุดในกรุงเทพฯ ‘ปาตินา’ ซึ่งใช้ชื่อจากกำแพงเก่าแก่ของบ้านอายุ 200 ปี ที่เพิ่งเปิดให้บริการตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา ในใจกลางย่านเมืองเก่ากรุงเทพฯ

ร้านเหล่านี้ ขายกาแฟคาปูชิโนธรรมดา ๆ และนั่นคงไม่ใช่เหตุผลที่สถานที่แห่งนี้จะมีช่างภาพแวะเวียนเข้ามามากมายทุกสุดสัปดาห์ ถ้าค้นหาตำแหน่งของคาเฟ่นี้ ในแอพ อินสตาแกรม คุณจะพบหนุ่มสาวชาวไทยหลายร้อยคนที่แต่งตัวดูดี เอนกายอย่างอาด ๆ อยู่บนเฟอร์นิเจอร์วินเทจ หรือโพสท่ากระดุ้งกระดิ้ง ใต้โคมไฟระย้าคริสตัล

Chris Schalkx

ฉากเดียวกันนี้ กำลังเกิดขึ้นในร้านกาแฟที่มีสไตล์ทั่วประเทศ ร้านกาแฟริมถนนอย่าง ปาตินา แห่งนี้ การถ่ายภาพก็ยังทะลักออกมาบนทางเท้า ขณะที่ผู้คนที่กำลังต่อคิว พวกเขาก็โพสท่าทางเพื่อถ่ายรูป หน้าทางเข้าที่มีศิลปะกราฟฟิตีอย่างใจร้อน เมื่อพวกเขาเช็คภาพของตนเองแล้ว ก็โพสต์ออกไปเพื่อรอรับเหล่าคำชมเสมือนจริงบนอินสตาแกรม เมื่อกาแฟถูกดื่มแล้ว ช่างภาพมือสมัครเล่นที่กระตือรือร้น ก็หาร้านกาแฟใหม่ ๆ เพื่อหา ‘อาหาร’ ให้แก่อินสตาแกรมของพวกเขา

Phuket Life

“คาเฟ่ฮ็อปปิ้ง” ตามที่เรียกกันในประเทศไทย ไม่ได้เป็นแค่แฮชแท็กในอินสตาแกรม แต่มันเป็นกีฬาแห่งชาติ พวกเขาเพรียบพร้อมด้วยขาตั้งกล้องแบบพกพาและอุปกรณ์กล้องกึ่งมืออาชีพ คนไทยหลายพันคน แห่กันไปที่ร้านกาแฟในกรุงเทพฯ ทุกวันหยุดสุดสัปดาห์ เพื่อยืนถ่ายรูปหน้าป้ายไฟนีออนและกำแพงสีพาสเทล โพสท่าที่โดดเด่นดั่งนางแบบชาวปารีเซียง พวกเขาตั้งใจถ่ายภาพกาแฟและเค้กของพวกเขา เหมือน จีออร์จิโอ โมแรนดี อวตารกลับชาติมาเกิด จิตรกรชาวอิตาลีในศตวรรษที่ 20 ที่เชี่ยวชาญการวาดภาพในเรื่องง่าย ๆ เช่น ขวดและชาม

Giorgio Morandi

บางคนไปคาเฟ่ใหม่เกิน 6 ร้านต่อวัน พวกเขารวบรวมการเช็คอินคาเฟ่ ดั่งการสะสมการ์ด และแข่งกันอย่างไม่มีใครบอกว่านี่คือการแข่งขัน เพื่อเป็นคนแรกที่ “ค้นพบ” สถานที่ใหม่ ๆ บรรดาผู้มีอิทธิพลได้สร้างตนเองใหม่ในฐานะ “ผู้มีอิทธิพลในร้านกาแฟ” ทางอินเทอร์เน็ต และมีสปอนเซอร์จำนวนมากที่พร้อมจะจ่ายเงินให้แก่พวกเขา

Nikkei Asia

ผมย้ายมาเมืองไทยเมื่อเกือบ 8 ปีที่แล้ว ตอนนั้นการหากาแฟที่ดียังคงเป็นความท้าทาย ทุกวันนี้ร้านกาแฟมีอยู่ทั่วไปพอ ๆ กับแผงขายอาหารข้างทาง แทบไม่มีสัปดาห์ไหนที่ผ่านไปโดยไม่มีร้านใหม่เปิดเพิ่ม โรงคั่วกาแฟขนาดเล็ก และเวิร์กช็อปเกี่ยวกับการปรุงกาแฟ ได้ผุดขึ้นมาราวกับดอกเห็ด และตอนนี้ ผมสามารถหาส่วนผสมที่หายากจากเอธิโอเปียหรือเอลซัลวาดอร์ได้เกือบจะเหมือนกับการหาซื้อผงกาแฟสำเร็จรูป นอกจากนี้เมล็ดกาแฟพื้นบ้านก็ถูกได้รับความนิยมขึ้นอีกครั้ง มีร้านกาแฟแบบพิเศษ และการสมัครสมาชิก บริการจัดส่งถึงบ้าน จากไร่กาแฟขนาดเล็กในภาคเหนือของประเทศไทย

Cupping workshops

สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ไม่เพียงแค่การคั่วกาแฟที่เป็นเอกลักษณ์ แต่ร้านกาแฟใหม่ ๆ หลายแห่งดูเหมือนจะได้รับการออกแบบมาเพื่อการมาเพียงครั้งเดียว พวกเขาไม่เน้นคุณภาพของการชงกาแฟ แต่เน้นการทำสถานที่ให้น่าสนใจ จากการตกแต่งภายในและเครื่องดื่มที่ไม่เหมือนที่อื่นของพวกเขา

Self Magazine

ฉากคาเฟ่ ร่วมสมัยของกรุงเทพฯ คือการตกแต่งภายในที่ถูกสร้างขึ้นอย่างวิจิตรบรรจง ประดับด้วยลวดลาย ไม้ดอก หรือ เฟอร์นิเจอร์แปลก ๆ ที่กำลังเป็นกระแส รวมถึงอุปกรณ์ถ่ายภาพที่มีลูกเล่น บางแห่งถึงกับมี “มุมถ่ายรูป” แบบจัดเต็ม หรือระบุช่วงเวลาที่ดีที่สุด สำหรับการถ่ายภาพคาเฟ่ ลงอินสตาแกรม (เช่น “ระเบียงแห่งนี้จะมีแสงแดดส่องในช่วงระหว่าง 14.00 น. ถึง 15.00 น.”) บางแห่งก็ติดตั้งตู้ถ่ายภาพเพื่อล่อเหล่าคาเฟ่ฮอปเปอร์ เหมือนใช้น้ำผึ้งมาล่อผึ้ง

Curls en Route

เมื่อตัดสินจากจำนวนฝูงชนที่แห่มา ดูเหมือนว่ากลยุทธ์เหล่านี้จะคุ้มค่า “ผมคิดว่ามันยอดเยี่ยมมากที่กลยุทธ์นี้ ทำให้คาเฟ่มีชื่อเสียงมากขึ้น และทำให้มีคนมาเยี่ยมชมมากขึ้น” อีริค ชาน เจ้าของร่วมของคาเฟ่ซาร์นีส์ คาเฟ่ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงบน ซึ่งตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุงของกรุงเทพฯ “คาเฟ่ฮอปเปอร์จำนวนมาก ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก และคนที่มีชื่อเสียงในโลกแห่งการเที่ยวคาเฟ่ มักจะมีสาวกของตัวเอง ที่เชื่อมั่นในการเลือกคาเฟ่ของผู้มีอิทธิพลของตนอย่างมาก”

อีริค ชาน / Time Out

ทว่าไม่ใช่ทุกคนที่คิดแบบนั้น เมื่อผมถามเพื่อนเจ้าของร้านกาแฟว่า พวกเขาคิดอย่างไรกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อนของผมเกือบทั้งหมดถอนหายใจยาว ๆ “ตอนเราเปิดร้านใหม่ ๆ คนก็มาเยอะมากจนแทบร้านแตก” ณัฐรุจา ตรีคุณวัฒนา ผู้จัดการเดอะสมชาย คาเฟ่ย่านทองหล่อ ซึ่งเป็นย่านที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ กล่าว “หลายคนจะนำกระเป๋าเดินทางพร้อมเสื้อผ้ามาเปลี่ยนชุดในห้องน้ำ แล้วมันยากมากที่จะจัดการกับปัญหาพวกนี้ เราแทบไม่มีโต๊ะให้แขกที่เข้ามาใหม่ด้วยซ้ำ หลังจากนั้นเราก็ตัดสินใจที่จะห้ามไม่ให้ถ่ายภาพไประยะหนึ่ง”

The Somchai / BKK Menu

สตีเวน ลิม หนึ่งในหุ้นส่วนเจ้าของร้าน ลูกา คาเฟ่ ในสาทรซึ่งเป็นย่านเมือง ก็เปิดเผยว่า เขามักจะเห็นปรากฏการณ์เดียวกัน ในร้านกาแฟของเขา “เคยมีเว็บไซต์ช็อปปิ้งหนึ่ง มีพนักงานลงมาพร้อมกับรถตู้และนางแบบ พวกเขาสั่งกาแฟ 1 แก้ว และแอบถ่ายสินค้าที่พวกเขาขาย และมีนางแบบนายแบบมาเข้าห้องน้ำเพื่อเปลี่ยนเครื่องเสื้อผ้าหลายครั้ง”

Luka Cafe

เมื่อถึงเวลาที่ผมพร้อมที่จะออกจากคาเฟ่ ปาตินา ผู้คนที่โพสท่าถ่ายรูปเซลฟี่ที่หน้าร้าน ก็ยังคงถ่ายภาพต่อไป กาแฟของพวกเขาไม่ได้ถูกแตะเลยด้วยซ้ำและเย็นชืดไปนานแล้ว วัฒนธรรมคาเฟ่ของไทยเฟื่องฟูอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ แต่สำหรับคนไทยรุ่นใหม่จำนวนมาก การดื่มกาแฟ ไม่ใช่เป้าหมายหลักของพวกเขา แต่ดูเหมือนจะเป็นเป้าหมายรอง ขณะที่การแสวงหาฉากหลังที่สวยงามกลับเกิดขึ้นอย่างไม่สิ้นสุด เพื่อรับคำชื่นชมจากคนในโลกออนไลน์

Patina Bangkok

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน