สิทธิมนุษยชน (Human Rights) หมายถึง สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ซึ่งบรรดามนุษย์ทั้งหลายได้รับและมีอยู่ โดยสิทธิเหล่านี้ครอบคลุมไปถึงการมีชีวิตรอด การมีอิสระ มีเสรีภาพในความคิดและการแสดงออก ตลอดจนความเสมอภาค ในทางกฎหมาย

พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์มีพระมหากรุณาธิคุณต่อการพัฒนาแผ่นดิน โดยเฉพาะเรื่องสิทธิมนุษยชนนั้นได้มีการพัฒนามาเป็นลำดับตามยุคสมัย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยรัตนโกสินทร์ ทำให้ราษฎรได้สิทธิในที่ดินที่อยู่อาศัย ได้ศึกษาเล่าเรียน และมีสิทธิปกครองตนเอง
%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%996
โดยพระองค์ทรงเสียสละพระราชอำนาจที่มีอยู่นั้นให้แก่ราษฎร ทรงวางแนวทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเพื่อให้อาณาเขตประชาราษฎร์มีสิทธิในการปกครองประเทศในที่สุด

ดังมีตัวอย่างที่คัดลอกจากหนังสือ พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดังนี้

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเห็นความสำคัญของ “สิทธิทางการศึกษา” ของปวงชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง จึงมีพระราชดำริส่งเสริมการศึกษาให้เข้าถึงปวงประชาทุกระดับอย่างทั่วถึงตั้งแต่ระดับปัจเจกบุคคลจนถึงระดับประเทศ เริ่มจากการศึกษาของพระราชโอรสและพระราชธิดา พระองค์มีพระราชดำรัสว่า
%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%995
“โรงเรียนอะไรก็ไม่ดี เพราะครูๆ อาจตามใจลูกๆ ฉัน แล้วทีนี้นักเรียนอื่นๆ อาจจะหัวแข็ง เกิดอิจฉาพวกเลือดเจ้าขึ้นมา ครั้นจะจ้างครูมาสอนพิเศษก็ไม่ดีอีกนั่นแหละ ดังนั้นเราจึง ตั้งโรงเรียนขึ้นในวัง สอนพวกลูกข้าราชการและคนที่ทำงานอยู่ในบริเวณนั้น”

พระองค์พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างโรงเรียนจิตรลดา เป็นโรงเรียนราษฎร์ในเขตพระราชฐาน เพื่อพระองค์จะได้อบรมพระราชโอรสพระราชธิดาได้อย่างใกล้ชิด แม้ว่าพระราชโอรสพระราชธิดาจะจบการศึกษาไปแล้ว พระองค์พระราชทานโรงเรียนนี้ดำเนินการต่อไป นอกจากนี้พระองค์ยังสนพระราชหฤทัยในการจัดให้มีการศึกษาในระบบทางไกลขึ้นที่โรงเรียนวังไกลกังวล ซึ่งได้ทดลองเผยแพร่ออกอากาศให้โรงเรียนอื่นๆ ได้เรียนรู้และนำวิธีสอนไปใช้ด้วย

ในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วน พระองค์ สนับสนุนการจัดตั้งโรงเรียน ในหลายแห่งหลายพื้นที่ เพื่อส่งเสริม ความทัดเทียมทางการศึกษาให้แก่เด็กที่ อยู่ในวัยเรียน อาทิ โรงเรียนเจ้าพ่อหลวง (โรงเรียนเด็กชาวเขา) และโรงเรียน ร่มเกล้า เป็นต้น
%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%994
รวมถึงโรงเรียนที่อยู่นอกระบบการศึกษา โดยจัดตั้ง โรงเรียนพระดาบส เพื่อจัดการศึกษาให้กับบุคคลทั่วไป ไม่จำกัดเพศ วัย และความรู้หรือฐานะ สำหรับช่วยเหลือครอบครัวยากจนและ มีปัญหา รวมทั้งทหาร ตำรวจ พลเรือนที่ผ่านศึกและทุพพลภาพ ไม่สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนอาชีวศึกษาทั่วไปได้ โดยมีครูผู้ฝึกอาสาสมัครที่ต่างเสียสละเวลามาช่วยเหลือบุคคลที่เคยเสียสละ เพื่อชาติมาแล้ว วิชาแรกที่เปิดสอนคือ ช่างวิทยุ ช่างไฟฟ้า มีผู้เรียน 9 คน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดให้ฟื้นฟูพระ ราชทานทุนเล่าเรียนหลวงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงริเริ่มสนับสนุนและ ส่งเสริมให้เยาวชนไทยที่ฉลาดและ เรียนดีได้ไปศึกษาในประเทศตะวันตก เพื่อนำความรู้กลับมาสร้างความเจริญทันสมัยให้แก่บ้านเมือง
%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%993
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ยังส่งเสริมให้ประชาชนมี “สิทธิและเสรีภาพในการดำรงชีวิต” ท่ามกลางธรรมชาติอย่าง ถูกต้องและเหมาะสม หาวิธีป้องกันการทำลายเพื่อให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน การดำรงอยู่ของชุมชนจะต้องไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น ดังพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 5 มี.ค.2550 ความว่า

“การมีเสรีภาพนั้นเป็นของดีอย่างยิ่ง แต่เมื่อจะใช้ จำเป็นต้องใช้ด้วยความระมัดระวังและความรับผิดชอบ มิให้ล่วงละเมิดเสรีภาพของผู้อื่น ที่เขามีอยู่เท่าเทียมกัน ทั้งมิให้กระทบกระเทือนถึงสวัสดิภาพและความเป็นปกติสุขของส่วนรวมด้วย มิฉะนั้น จะทำให้มีความยุ่งยาก จะทำให้สังคมและชาติต้องแตกสลายจนสิ้นเชิง”

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ นั้น ได้เกิดขึ้นเพื่อเป็นแนวทาง และหลักการของการพัฒนาเพื่อมนุษยชาติและเพิ่มรายได้พร้อมกับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้มีคุณค่าเป็นรายได้ในอนาคต

พระองค์ทรงให้เสรีภาพในการสนองงานพระราชดำริโดยแก้ไขโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นการให้โอกาสเพื่อสร้างความสำเร็จที่ก้าวหน้า โดยไม่ให้ยึดกับความคิดของพระองค์ โดยพระองค์ทรงให้อิสระต่อความเชี่ยวชาญของบุคคลอื่น

พระองค์ทรงใช้เวลาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรของพระองค์ในถิ่นทุรกันดารตามชนบททั่วทุกแห่ง ทรงศึกษาสภาพชีวิตและปัญหาของประชาชนในด้านสิทธิในการทำมาหากิน และสิทธิในสถานภาพความเป็นอยู่ทุกด้าน และได้มี พระราชดำริให้ตั้งโครงการต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย

มีชื่อเรียกแตกต่างกัน ได้แก่ โครงการตามพระราชประสงค์ โครงการหลวง โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการส่วนพระองค์

ต่อมาโครงการส่วนพระองค์และโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ ได้เกิดขึ้นเพื่อการพัฒนาเกษตรกรและสร้างความร่มเย็นเป็นสุขต่อพสกนิกรอย่างมากพ้นสุดพรรณนามากมาย

เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในพื้นที่ราบสูงทางภาคเหนือ ทรงพบว่าราษฎรที่นั่นมีความยากจนลำเค็ญยิ่งไปกว่าภาคอีสาน ด้วยอยู่ห่างไกลความเจริญที่ราชการจะเข้าไปดูแลได้ ทำให้กลุ่มชาวไทยภูเขาใช้ชีวิตโดดเดี่ยวในพื้นที่กันดาร และไม่มีสัญชาติจนทำให้สัญจรไปมาอย่างอิสระในพื้นที่ชายแดนระหว่างประเทศ ก่อนพุทธศักราช 2495 ชาวเขาที่อยู่ตามชายแดนมัก ทำนาทำไร่เลื่อนลอยทำลายป่าไปเรื่อย โดยการโค่นต้นไม้สุมไฟเผาเพื่อใช้ที่ดินปลูกพืชไร่

พระองค์ทรงเห็นว่าควรให้ “สิทธิในที่ดินทำมาหากิน” พร้อมกับการส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ พัฒนาแหล่งทำกินและสิ่งแวดล้อม จึงทรงตั้งโครงการอันเนื่องมาจากพระราช ดำริมากถึง 100 โครงการ ทำให้ชาวเขาและราษฎรที่ห่างไกล ได้พัฒนาตนเองจนมีฐานะดีขึ้นตามลำดับ

ด้าน “สิทธิแห่งความเป็นมนุษย์” พระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญ และได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจมากมายหลายประการเพื่อส่งเสริมทำนุบำรุงประชาราษฎร์ให้มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน

พระองค์ทรงยึดมั่นในทศพิธราชธรรม ทศพิธราชธรรมที่ทรงบำเพ็ญแต่ละข้อสะท้อนให้เห็นว่ามิได้ทรงถือทศพิธราชธรรม เพื่อประโยชน์ของพระองค์เอง หากเป็นแนวทางที่ทำให้การดำรงพระองค์อยู่ในทางธรรม และทรงงานหนักอย่างไม่มีวันหยุด เพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่แผ่นดินไทย ซึ่งเป็นการช่วยเหลือประชาชนผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากจน ผู้มีกำลังน้อย เพื่อให้สามารถยกฐานะขึ้นมาเท่าเทียมกับผู้อื่น

เมื่อทุกคนมีฐานะดีขึ้น มีความกินดีอยู่ดี มีความสุขมากขึ้น ก็ย่อมไม่เบียดเบียนทำร้ายล่วงละเมิดสิทธิของกันและกัน

สังคมไทยย่อมเป็นสังคมแห่งความเสมอภาคที่มี ความสุข

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน