โลกออนไลน์เดือด หลังหลุดเอกสารการประชุมเกี่ยวกับการบริหารวัคซีน พร้อมความเห็น ไม่ควรฉีดให้บุคลากรการแพทย์ เพราะเป็นการยอมรับว่าซิโนแวค ไม่มีผลในการป้องกัน ‘แก้ตัวยาก’ มากขึ้น

หลังจากที่คืนวานนี้ ( 4 ก.ค. ) ได้มีเอกสารหลุดจากการประชุมเฉพาะกิจร่วม ระหว่าง คณะกรรมการด้านวิชาการ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และคณะทํางานวิชาการด้านบริหารจัดการและศึกษาการให้บริการวัคซีน เมื่อ 30 มิถุนายน 2564 ณ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

โดยในเอกสารดังกล่าว ในส่วนข้อเสนอแนวทางพิจารณาการให้วัคซีนไฟเซอร์ คาดว่าภายในเดือนกรกฎาคม จะได้วัคซีนไฟเซอร์ล็อตแรก 1.5 ล้านโดส และจะได้อีก 20 ล้านโดส ภายในไตรมาส 4 ปี 2564 โดยข้อมูลในหน้า 3 ของเอกสารสรุปการประชุม ได้ระบุถึงกลุ่มที่จะได้รับวัคซีนไฟเซอร์ ได้แก่ 1. บุคคลอายุ 12-18 ปี 2. กลุ่มเสี่ยงที่ยังไม่ได้วัคซีน ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์ 3. ให้บุคลากรด่านหน้ากระตุ้นภูมิคุ้มกัน เป็นวัคซีนเข็มที่ 3

ซึ่งมติที่ประชุมออกมา มีข้อสรุปว่า วัคซีน ไฟเซอร์ ระยะแรก จำนวน 1.5 ล้านโดส เป็นวัคซีนเข็มที่ 1 ทั้งหมดแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป หรือหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป ในพื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรง คือ กทม. และปริมณฑล

แต่สิ่งที่ทำให้โลกออนไลน์ต้องลุกเป็นไฟอีกครั้ง ก็เพราะวะว่า จากข้อมูลในส่วนของข้อความคิดเห้น ในข้อที่ 8 ที่ระบุว่า “ขอให้กลุ่ม 2 ไม่ควรให้กลุ่ม 3” และในข้อที่ 10 ที่ระบุว่า “ในขณะนี้ ถ้าเอามาฉีดกลุ่ม 3 แสดงยอมรับว่า Sinovac ไม่มีผลในการป้องกัน แล้วจะแก้ตัวยากมากขึ้น”

ทำให้หลังจากที่มีเอกสารดังกล่าวหลุดออกมานั้น ทำให้ชาวเน็ตได้ผุดแฮชแท็ก #ฉีดPfizerให้บุคลากรการแพทย์ ตั้งแต่เมื่อค่ำวาน จนถึงขณะนี้แฮชแท็กดังกล่าวก็ยังเป็นที่พูดถึงกันอยู่ต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลากรทางการแพทย์ คนดัง สส. หรือประชาชนทั่วไป ก็ไม่เห็นด้วยที่เหล่าบุคคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่ต้องรับมือกับโควิด-19 จะไม่ได้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์นี้ก่อน เพราะพวกเขานั้นเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้กับโรคร้ายนี้

พร้อมทั้งยังมีการเชิญชวนให้ประชาชนมาลงชื่อในแคมเปญ #ต้องการmRNAvaccine เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลรวมถึงองค์การเภสัชกรรม นำเข้าวัคซีนประเภท mRNA (ไฟเซอร์และโมเดอร์นา)โดยเร่งด่วน โดยเป็นความร่วมมือกันของ ภาคีบุคลากรสาธารณสุข ร่วมกับหมอไม่ทน

รูปภาพรูปภาพ

อย่างไรก็ตามด้าน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาชี้แจงถึงเอกสารดังกล่าวว่า เอกสารดังกล่าวเป็นเรื่องจริง และเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างการประชุม หารือ ทางวิชาการ ไม่ควรที่จะไปพิพากษ์ วิจารณ์เพราะเป็นเรื่องของวิชาการ ตราบใดที่ยังไม่ได้มาเป็นขั้นตอนปฏิบัติ ก็ยังไม่มีผลอะไร “เรื่องนี้ อย่าไปซีเรียส ลืมไปได้เลย” นายอนุทิน กล่าว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน