หมอเล่าเคสบีบหัวใจ พ่อหอบลูกรักษาบอกแค่ “กินยาพิษ” หลังกลับมาเจอ คนในบ้านเสียชีวิตพร้อมกัน เด็กรอดคนเดียว
วันที่ 22 มี.ค. 67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คุณหมอโพสต์เล่ารักษาเคส กินยาพิษ ผ่านเฟซบุ๊กชื่อ Thanet Kulrotwichit ระบุว่า สัปดาห์นี้ เป็นสัปดาห์หนึ่งที่วุ่นวายมากในห้องฉุกเฉิน มีเคสที่น่าสนใจเยอะมาก ขอเล่า 1 เคสละกัน เด็กโต คุณพ่อต่างชาติ พาตัวข้ามมาจาก ประเทศเพื่อนบ้าน ให้ประวัติได้ แค่ “ลูกกินยาพิษมา”
พ่อกลับมาก็เจอมีคนในบ้านเสียชีวิต พร้อมๆกัน มีเด็ คนนี้ที่ยังมีชีวิต เลยพาข้ามมา เราที่ขึ้นเวรอยู่ ก็ประเมิน คนไข้ คิดว่า initial impression ไม่ผ่านแน่ๆ ดู ซีด คล้ำ ซึม หายใจเร็ว ตามทีมกุมารแพทย์มาดู
ระหว่างนี้ก็ ให้ ambubag บีบช่วยหายใจไปและให้ oxygen 100% และประเมินคิดว่าจะเป็นอะไรได้บ้างถ้าเป็นสารพิษเริ่มจากซึมที่ดูแย่ๆ เจอบ่อยอาจจะจาก
1. opiods เลยเปิดตาดูม่านตาก็ไม่เล็ก หายใจก็เร็ว เสียงปอดดี เลยตัดไปต่อมา
2. เป็นพวกสาร anticholinergic หรือป่าว เพราะ มีไข้ หัวใจเต็นเร็ว แต่ ม่านตาไม่โต ผิวดูไม่แห้งนะ ออกชื้นๆหน่อย กระเพาะปัสสาวะไม่โต
3. พวกกลุ่มสารพิษที่ตายได้อีกก็ไซยาไนด์กับพวกภาวะ methemoglobonemia ก็คล้ายอยู่นะ แต่อาจจะ severe hypoxia ก็ได้ที่ดู oxygen ปลายนิ้วต่ำตลอด
จากนั้น ก็ บีบช่วยหายใจไป oxygen ปลายนิ้วก็แค่ 85% ( ปกติมากกว่า 95% ) ตลอด ปากดูซีดๆคล้ำๆ นิ้วดูม่วง ๆ เลยตัดสินใจใส่ท่อช่วยหายใจ และใช้เครื่องช่วยหายใจไป oxygen ปลายนิ้วก็ 85%
ก็เลยขอทดสอบที่เรียนมาสมัยแพทย์ประจำบ้านเอาเลือดคนไข้คนนี้ มาเปรียบเทียบกับเลือดคนปกติ พอหยดดู ลงบนผ้าก๊อซ สีเหมือน chocolate มากเลยทำการทดสอบข้างเตียง โดยการพ่นออกซิเจนไป ก็ไม่เปลี่ยนสี ก็เลยนึกถึง ภาวะ met-hemoglobinemia มากสุด
จาก oxygen ปลายนิ้วก็ต่ำลงเรื่อย ๆ ไปถึง 50% ตอนนั้นเลย คุยกับกุมารแพทย์ได้ให้ 1%methylene bule ไปเลยในระหว่างที่รอให้คนไข้ stable ก็consult ศูนย์พิษวิทยา รพ.รามาไปด้วย
จากนัันก็ oxygen ปลายนิ้วก็ค่อยๆ ขึ้นมาตลอด และอาการคนไข้ก็เริ่มคงที่มากขึ้น จนถอดท่อช่วยหายใจได้ใน 1 วันถัดมา
แต่อะไรที่กระตุ้นให้เกิดภาวะนี้คงต้องหากันต่อไป ขอขอบคุณ ทีมห้องฉุกเฉิน รพ.แม่สอด , ทีมกุมารแพทย์รพ.แม่สอด , ศูนย์พิษรามาฯ , น้องๆ intern ที่ร่วมด้วยช่วยกัน สุดยอดมากครับ
สำหรับ ภาวะเมธฮีโมโกลบินนีเมีย นั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์สัมมน โฉมฉาย ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลว่า ภาวะเมธฮีโมโกลบินนีเมีย (methemoglobinemia) หมายถึง ภาวะที่กระแสโลหิตมีความระดับเข้มข้น ของเมธฮีโมโกลบิน (methemoglobin) มากกว่าปกติซึ่งอาจทำให้เนื้อเยื่อและอวัยวะภายในร่างกายเกิดภาวะขาดออกซิเจน จนอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
เมธฮีโมโกลบิน เป็นฮีโมโกลบินที่ผิดปกติที่ไม่สามารถจับกับออกซิเจนได้ดี หากร่างกายมีสัดส่วน(ร้อยละ) ของเมธฮีโมโกลบินมากขึ้น สัดส่วนของฮีโมโกลบินปกติที่ทำหน้าที่ขนถ่ายออกซิเจนไปสู่เนื้อเยื่อและอวัยวะจะลดลงและเพิ่มความรุนแรงของภาวะขาดออกซิเจนของเนื้อเยื่อและอวัยวะในร่างกาย
นอกจากนี้เมธฮีโมโกลบินยังทำให้เม็ดเลือดแดงถูกทำลายเพิ่มขึ้นที่ม้ามและเมธฮีโมโกลบินมีลักษณะสีเป็นสีน้ำตาล ดังนั้นผลโดยรวมจากการเกิดภาวะเมธฮีโมโกลบินนีเมียในผู้ป่วยได้แก่การที่ผู้ป่วยมีผิวหนัง ปลายมือปลายเท้า และริมฝีปากมีสีคล้ำ