ขอบคุณที่มา silpa-mag.com

คำ “โล้สำเภา” นี้เป็นความเปรียบที่ใช้ในวรรณคดีไทยกล่าวถึงบทอัศจรรย์ หรือบทสังวาส คือบทเข้าพระเข้านางนั่นเอง คนไทยแต่โบราณมีศิลปะในการใช้ภาษาเล่าบทร่วมรักได้อย่างอัศจรรย์ใจ โดยใช้ธรรมชาติและสิ่งรอบกายเปรียบเทียบไม่กล่าวตรงๆ ให้ดูหยาบจนเก้อไป

‘รอมแพง’สร้างความโรแมนติกให้แก่หนุ่มสาวชาวอยุธยาคู่นี้ในละครบุพเพสันนิวาสด้วยสำนวนโบราณดูเข้าที แม้คนส่วนใหญ่ไม่คุ้นหูแต่ก็เดาทางหรือ “ตีท่า” จากคำได้ไม่ยาก ทั้งในนวนิยายยังได้แทรกคำประพันธ์บทอัศจรรย์ไว้ตามอย่างขนบวรรณคดีว่า

“โล้สวาทวาดใบสำเภาพริ้ว
ระเรื่อยลิ่วคลองแคบคละขัดขึง
น้ำเจือน้อยค่อยวางทางติดตรึง
ขยับหายโยกคลึงคราคลื่นมา

เมื่อผ่านช่องเข้าอ่าวคราน้ำขึ้น
พอหายมึนสอดสั่งทั้งซ้ายขวา
ข้ามนทีสรวงสวรรค์?ทุกชั้นฟ้า
สมอุราซ่านซบสยบทรวง”

การใช้ความเปรียบ “โล้สำเภา” หรือ “สำเภา” นี้ ปรากฏในวรรณคดีเก่าหลายเรื่อง ทั้งนี้ในงานวิจัยเรื่อง เพศในเพลงพื้นบ้านของผศ.บัวผัน สุพรรณยศ ก็ได้กล่าวให้เห็นแนวคิดในการเปรียบอวัยวะเพศชายหญิงเป็นสิ่งต่างๆ ไว้ว่า ในการเปรียบเรื่องเกี่ยวกับเพศนั้น สิ่งที่แสดงความเป็นเพศหญิงมักเป็นสิ่งที่อยู่กับที่ เช่น ท่าน้ำ ถ้ำ และสิ่งที่แสดงความเป็นชายนั้น มักเป็นสิ่งที่มักเคลื่อนไหว หรือเคลื่อนที่ เช่น เรือ แมลง ซึ่งในบริบทนี้ก็คงเช่นเดียวกัน

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน