ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งสำหรับ “เจียงฮายเกมส์” หลังห่างหายจากการเป็นเจ้าภาพกีฬาระดับชาติมานานถึง 33 ปี (ตั้งแต่ปี 2528)

หนนี้ว่าจะมีดราม่าเล็กๆบ้าง จากทีมฟุตบอลสมุทรสงคราม ที่ถูกฉกทรัพย์สินร่วม 200,000 บาท รวมถึงสนามกอล์ฟที่ไม่อนุญาตให้กองเชียร์เข้าชม ทว่าเล่านี้คือปัญหาที่เจ้าภาพจำเป็นต้องแก้ไข และเชียงรายเองก็แก้ไขได้อย่างยอดเยี่ยม ชนิดเปลี่ยงเสียงด่า เป็นคำชมได้แบบ งง งง

เมืองหลวงเจ้าทองสมัยที่ 28

ด้านผลการแข่งขัน ทัพนักกีฬาเมืองหลวงยังคงความแข็งแกร่ง ครองเจ้าเหรียญทอง เป็นสมัยที่ 2 ติดต่อกัน พร้อมกับเป็นสมัยที่ 28 หลังโกย 118 ทอง 118 เงิน กับ 120 ทองแดง ตามติดมาด้วย อุดรธานี ม้านอกสายตา หลังสร้างผลงานสุดเซอร์ไพรส์ ด้วยการแซงชลบุรีขึ้นมาได้อย่างน่าทึ่ง ที่ 51 เหรียญทอง 30 เหรียญเงิน 32 เหรียญทองแดง ขณะที่เจ้าภาพเชียงราย ถือว่าไม่น้อยหน้า ทะยานขึ้นมาจบในอับที่ 5 ด้วยผลงาน 29 เหรียญทอง 27 เหรียญเงิน กับ 31 เหรียญทองแดง และนับเป็นผลงานที่ดีที่สุดเท่าที่เคยทำได้ด้วย

นอกจาก กทม. สร้างสถิติคว้าเหรียญทองทะลุหลักร้อยเหรียญเเล้ว ขุนพลเมืองหลวงยังสร้างอีกหนึ่งสถิติที่น่าจดจำ ด้วยการคว้าเเชมป์เหรียญทองรวมในอีก 12 ชนิดกีฬา จากทั้งหมด 43 ชนิดกีฬา ที่ลงชิงชัย

“ฉลามวาย-เงือกอุ้ม” โกยเหรียญมากสุด

“เจียงฮายเกมส์”

นักกีฬาที่ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม เป็น “ฉลามวาย” นวพรรษ วงค์เจริญ นักว่ายน้ำดีกรีทีมชาติไทย จาก กทม. หลังโกยเหรียญรางวัลได้มากที่สุดของทัวร์นาเมนต์ ที่ 5 เหรียญทอง 3 เหรียญเงิน ขณะที่ฝ่ายหญิง “เงือกอุ้ม” ณัชฐานันตร์ จันทร์กระจ่าง จอมเก๋าดีกรีทีมชาติไทย จาก อุดรธานี ยังคงไว้ลาย หลังโกยมา 4 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน กับ 2 ทองแดง ครองราชินีสระ แถมไปด้วยการพังสถิติคว้าเหรียญทองสูงสุดในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ หลังโกยไปแล้ว 89 เหรียญทอง

เหรียญรางวัลแพงกว่าเงินอัดฉีด

“เจียงฮายเกมส์”

หลายคนคงพอทราบอยู่แล้วว่าเหรียญรางวัลที่ได้จากการแข่งขันครั้งนี้ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ โดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติชาวเชียงราย ทำให้มูลค่าในตัวมันเพิ่มขึ้นเป็นเท่าทวี ข้อมูลล่าสุดมีนักกีฬาบางส่วนโพสต์ขาย ซึ่งราคาอยู่ที่ 5,000-300,000 บาทเลยทีเดียว ทั้งนี้สอบคล้องกับอาจารย์เฉลิมชัย เคยพูดว่าเหรียญรางวัลนี้จะมีมูลค่า ให้ขายได้ แต่ขอให้ขายแพงๆ และหากได้ราคาตามนี้จริง เท่ากับราคาเหรียญ “เจียงฮายเกมส์” ก็จะแพงกว่าเงินอัดฉีกเสียอีก

“พี่ติ๋ม”เดินทนจนได้ดี

“เจียงฮายเกมส์”

ด้าน “พี่ติ๋ม” ธนภรณ์ เปี่ยมสกุล จอมอึดทีมชาติ วัย 40 ปี จากสงขลา ผู้สร้างสถิติเจ้าของแชมป์เดินทนกีฬาแห่งชาติ 16 สมัยติดต่อกัน ยังคงไร้เทียมทานคว้าเหรียญทองไปครองเป็นสมัยที่ 17 ได้อย่างไม่มีปัญหา ซึ่งเจ้าตัวยอมรับว่าด้วยอายุ กีฬาแห่งชาติครั้งหน้าอาจเป็นครั้งสุดท้าย และเตรียมผันตัวมาเป็นโค้ชต่อไป เรียกได้ว่า มีทุกวันนี้เพราะเดินทนขนานแท้ ดังคำว่า “เดินทนจนได้ดี”

แชมป์โลกผู้ไม่เคยยิ้ม

“เจียงฮายเกมส์”

“เจียงฮายเกมส์” บรรจุบังคับโดรน เป็นครั้งแรก แน่นอนต้องมีชื่อ “น้องมิลค์” ด.ญ.วรรรญา วรรณผ่อง วัย 11 ขวบ เจ้าของแชมป์โลกบังคับโดรน จาก กทม. เข้าร่วมการแข่งขันพร้อมกับคว้าแชมป์ไปครองอย่างไม่ต้องสงสัย ทว่าขนาดแชมป์โลกเจ้าตัวยังไม่ยิ้ม นับประสาอะไรกับแชมป์กีฬาแห่งชาติ ที่น่าสนใจคือ “น้องมิลค์” เป็นนักกีฬาผู้หญิงเพียงคนเดียวที่เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้

สถิติมีไว้ทำลาย

ฝ่ายพัฒนากีฬาเป็นเลิศ กกท. รวบรวมสถิติที่น่าสนใจใน “เจียงฮายเกมส์” ปรากฎว่า นักกีฬาทั่วไป สามารถชนะทีมชาติได้ 79 รายการ คิดเป็น 11.62 เปอร์เซ็นต์, นักกีฬาทำสถิติดีขึ้นกว่าครั้งที่ 45 จำนวน 68 รายการ จาก 134 รายการ คิดเป็น 50.75 เปอร์เซ็นต์, มีการทำลายสถิติ 13 รายการ จาก 134 รายการ คิดเป็น 9.70 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการป้องกันแชมป์ นักกีฬาคนเดิม/ทีมเดิม ได้แชมป์ 179 รายการ คิดเป็น 26.32 เปอร์เซ็นต์ และนักกีฬาคนใหม่/ทีมใหม่ ได้แชมป์ 501 รายการ คิดเป็น 73.98 เปอร์เซ็นต์

ปรากฎการณ์คว้าเหรียญครบทุกจังหวัด

“เจียงฮายเกมส์”

นอกจากนี้ ในการแข่งขัน “เจียงฮายเกมส์” ดำเนินไปอย่างเข้มข้นตลอดทั้งทัวร์นาเมนต์ มีทั้งผู้ที่สมหวัง และผิดหวัง แต่ที่น่าสนใจคือในการแข่งขันครั้งนี้ ทุกจังหวัดมีเหรียญติดมือกลับไปทั้งสิ้น และมีเพียง 6 จังหวัดเท่านั้นที่ไม่ได้เหรียญทองติดมือ นั่นแสดงให้เห็นว่าทุกจังหวัดต่างการพัฒนาขึ้นอย่างชัดเจน ทว่าเพียงเท่านี้ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ยอดเยี่ยมแล้ว

ทั้งหมดทั้งมวลนี้ แสดงให้เห็นว่ากีฬาแห่งชาติหนนี้นับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง สมกับที่ชาวจังหวัดเชียงราย รอคอยมานานถึง 33 ปี และนี้จะเป็นมาตรฐานใหม่ให้เจ้าภาพครั้งต่อไปต้องคิดหนัก

ก่อนจะพบกันใหม่ที่ “ศรีสะเกษเกมส์”

 

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน