ชมวิว-สวนหินผาพญากูปรี

ชมวิว-สวนหินผาพญากูปรี – จุดชมวิวผาพญากูปรี ตั้งอยู่ริมถนนสายบ้านแซรไปร-ช่องสะงำ ต.ไพรพัฒนา อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ห่างจากจุดผ่านแดนถาวรไทย-กัมพูชา ช่องสะงำ 4 ก.ม. เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอากาศบริสุทธิ์มากอีกแห่งหนึ่งของไทย ติดกับเทือกเขาพนมดงรัก

ชมวิว-สวนหินผาพญากูปรี

พระครูโกศลสิกขกิจ

พระครูโกศลสิกขกิจ หรือ หลวงพ่อพุฒ วายาโม ประธานมูลนิธิหลวงปู่สรวง เจ้าคณะอำเภอภูสิงห์ ฝ่ายธรรมยุต และเจ้าอาวาสวัด ไพรพัฒนา ร่วมกับ พล.ต.สนธยา ศรีเจริญ อดีตผบ.กองกำลังสุรนารี ในขณะนั้น และทหารหน่วยเฉพาะกิจที่ 3 กองกำลังสุรนารี และอบต.ไพรพัฒนา ร่วมกันปรับภูมิทัศน์

ขณะนี้มีชาวศรีสะเกษ และนักท่องเที่ยวพาครอบครัวญาติพี่น้องเดินทางมาสูดอากาศบริสุทธิ์ ชมบรรยากาศธรรมชาติที่สวยงามของผาพญากูปรีกันอย่างคึกคักมากทุกวัน

ชมวิว-สวนหินผาพญากูปรี

ชมวิว-สวนหินผาพญากูปรี

รวมทั้งชมความสวยงามตามธรรมชาติของห้วยสำราญ กั้นระหว่าง อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ กับ อ.บัวเชด จ.สุรินทร์ โดยห้วยสำราญเป็นลำห้วยสำคัญที่ไหลลงไปสู่ตัวเมืองศรีสะเกษ

อีกทั้งบริเวณนี้มีต้นไม้ใบหญ้าหลากหลายชนิดจำนวนมาก สร้างความร่มรื่นสดชื่นไปทั่วบริเวณนี้

นอกจากเป็นจุดชมวิวที่สวยงามแล้ว ด้านล่างหน้าผายังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติไปยังลำธารน้ำตก และถ้ำที่มีองค์พระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ด้วย และบริเวณจุดชมวิวด้านบนยังมีร้านกาแฟไว้บริการผู้มาเยือนนั่งดื่มกาแฟริมหน้าผาอีกด้วย

ชมวิว-สวนหินผาพญากูปรี

ชมวิว-สวนหินผาพญากูปรี

ชมวิว-สวนหินผาพญากูปรี

พระครูโกศลสิกขกิจเล่าถึงที่มาชื่อผาพญากูปรีว่า บริเวณนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของกูปรี หรือโคไพร สัตว์ป่าจำพวกวัว เป็นหนึ่งใน 15 สัตว์ป่าสงวนของไทย เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายกับกระทิง และวัวแดง ปัจจุบันกูปรีเป็นสัตว์ป่าสูญพันธุ์ไปแล้ว มีรายงานว่าพบกูปรีอยู่ตามแนวเทือกเขาชายแดนไทย-กัมพูชา และลาว

ล่าสุดเมื่อปี 2525 มีรายงานพบกูปรีในบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก มีเรื่องเล่าว่าปี 2502 มีพระธุดงค์ปักกลดอยู่ข้างหนองระหาร ห่างจากผาพญากูปรี 1 ก.ม. มีหนองน้ำใหญ่ สัตว์ป่าทุกชนิดจะมากินน้ำอยู่ที่หนองระหารแห่งนี้ กูปรีก็จะมากินน้ำที่หนองน้ำนี้เช่นกัน

ชมวิว-สวนหินผาพญากูปรี

ชมวิว-สวนหินผาพญากูปรี

ต่อมาปี 2510 นายพรานคนหนึ่งไปเจอกับกูปรีฝูงนี้ที่หนองน้ำระหาร นายพรานพบว่าหัวหน้าฝูงกูปรีมีความสง่างามเป็นอย่างมาก ทำให้นายพรานไม่กล้าจะยิง เพราะเห็นว่าสัตว์ที่สง่างามควรจะอยู่ในป่าผืนนี้ต่อไป และกลับใจเลิกเป็นนายพรานไปตลอดชีวิต

หลวงพ่อพุฒเล่าว่า ราวปี 2518 ประเทศกัมพูชาสู้รบกัน และฝ่ายเขมรแดงหนีภัยสงครามเข้ามาพักเป็นค่ายอพยพบริเวณนี้จำนวนมาก และใช้น้ำจากหนองระหารเพื่ออุปโภคบริโภค ทำให้สัตว์ป่าพากันหวาดกลัวหนีไปอยู่ทางบ้านนาตราว น้ำตกวังยาว หรือวังใหญ่ กูปรีและสัตว์อีกกลุ่มหนึ่งก็ลงมากินน้ำที่ลำห้วยสำราญ

กูปรีได้มากินน้ำจากห้วยสำราญและกินดินโป่ง เพราะรอบหน้าผาบริเวณนี้มีดินโป่งเยอะมาก หลังจากกูปรีกินน้ำและกินดินโป่งแล้วจะพากันปีนหน้าผาขึ้นไปบนที่สูง ดังนั้น จึงเรียกหน้าผานี้ว่า ผาพญากูปรี

ชมวิว-สวนหินผาพญากูปรี

ชมวิว-สวนหินผาพญากูปรี

ต่อมาต้องการให้เป็นจุดท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจของประชาชน และเพื่อเปิดหน้าตาสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามมากที่สุดอีกแห่งหนึ่งของ จ.ศรีสะเกษ มีชาวไทยและชาวกัมพูชาพากันมาเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจเป็นจำนวนมาก โดยจัดให้ประดับตกแต่งรอบบริเวณอย่างสวยงาม มีรูปปั้นกูปรีขนาดใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่บนเนินดินด้านหน้าของหน้าผา

นำเอาหินโบราณมาจัดเป็นสวนหินสวยงามมาก เป็นจุดชมวิวที่รองรับนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวกัมพูชา รวมทั้งนักท่องเที่ยวจากที่อื่นๆ ส่งผลให้ประชาชนชาวไทยที่อยู่ตามหมู่บ้าน 2 ข้างถนนสายนี้นำเอาสิ่งของมาจำหน่าย ทั้งทำที่พักแรม ร้านอาหาร ทำให้มีรายได้เพิ่มมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ส่งผลดีต่อการค้าและการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดียิ่ง

นอกจากเที่ยวชมผาพญากูปรีแล้ว นักท่องเที่ยวยังจะได้มีโอกาสกราบไหว้สักการะขอพรสรีรสังขารไม่เน่าเปื่อยของหลวงปู่สรวง เทวดาเล่นดิน ที่วัดไพรพัฒนา ต.ไพรพัฒนา อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ หรือขึ้นไปเที่ยวเมืองใหม่ช่องสะงำ และจุดผ่านแดนถาวรไทย-กัมพูชา ช่องสะงำ ซึ่งอยู่ใกล้กัน หรือจะข้ามไปเที่ยวในเขตประเทศกัมพูชาต่อไปก็ได้ด้วย

ศิริเกษ หมายสุข

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน