ผบก.จร. จับรถควันดำ ย่านลาดกระบัง สาเหตุปล่อย ฝุ่นพิษ ยันมีเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน ขู่ฟ้องโซเชี่ยลบิดเบือนข้อมูลผิดๆ ชี้ตรวจควันดำไม่ใช่กลั่นแกล้ง หากเป็นรถของหน่วยงานราชการนั้นๆ ต้องรับผิดชอบ

จับรถควันดำ / เมื่อวันที่ 7 ก.พ. ที่ด่านตรวจมลภาวะ ถนนลาดกระบัง แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร พล.ต.ต.นิธิธร จินตกานนท์ ผบก.จร. ร่วมกับ นายสมชาย ราชแก้ว หัวหน้าฝ่ายตรวจการ กองตรวจการขนส่ง กรมการขนส่งทางบก, กรมการขนส่งทางบก, กรมควบคุมมลพิษ และเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.5 บก.จร. ออกตรวจควันจากท่อไอเสีย

เพื่อตรวจรถยนต์ รถบรรทุก รถรับจ้างสาธารณะไม่ประจำทาง ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล ที่ควันดำและยังนำมาใช้บนท้องถนนเส้นถนนลาดกระบังเป็นเส้นทางที่มีรถบรรทุกและรถส่งของใช้เยอะ รวมถึงมาตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และผู้ตรวจการกรมการขนส่งทางบก ในการตั้งด่านตรวจจับควันดำจากท่อไอเสียที่เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหามลภาวะฝุ่นละอองในอากาศ หรือ PM2.5

พล.ต.ต.นิธิธร กล่าวว่า ถนนเส้นนี้มีรถโดยสารทั้งประจำและไม่ประจำทางสัญจรต่อเนื่อง จึงใช้เครื่องมือมาตรฐานตรวจสอบ ที่มีคุณภาพ หากในโลกโซเชี่ยลอ้างว่าเครื่องมือตำรวจไม่ได้มาตรฐาน ตนก็จะดำเนินการฟ้องร้องที่ให้ข้อมูลผิดๆ ไป จึงอยากบอกประชาชนว่า รถที่โดนสั่งห้ามวิ่งนั้นหากนำมาวิ่งก็จะถูกห้ามใช้เด็ดขาด

ขณะนี้ตำรวจจะรวบรวมข้อมูลรถที่เคยโดนตรวจย้อนหลังเพื่อเป็นข้อมูลในแต่ละด่าน และอยากฝากถึงผู้ประกอบการว่า การตรวจควันดำไม่ใช่การกลั่นแกล้ง ถ้ามีรถควันดำก็ต้องบังคับใช้กฎหมาย ขอให้ผู้ประกอบการนำรถที่มีคุณภาพมาขับรับนักท่องเที่ยวจะดีกว่า ยังเป็นการช่วยเหลือประเทศด้วยทำให้ภาพลักษณ์ประเทศดีขึ้นในสายตานักท่องเที่ยวด้วย

ผบก.จร. กล่าวต่อว่า ในส่วนที่มีรถควันดำไปจอดริมทางเพื่อป้องกันการตรวจจับที่ด่านนั้น ตนจะประสานทางท้องที่ดำเนินการจับกุมข้อหาจอดรถในที่ห้ามจอดทันที ส่วนรถของหน่วยงานราชการนั้น หากตรวจสอบพบว่าควันดำทางหน่วยงานราชการนั้นๆ จะต้องรับผิดชอบต่อไป อาจจะปรับปรุงตรวจสภาพหรือสั่งซื้อรถใหม่ ถ้ารถยังอยู่ในขอบเขตสภาพว่ายังไม่ควันดำ ก็จะดำเนินการกับผู้ดูแลรถเรื่องความบกพร่องในส่วนนี้

ด้านนายสมชัย กล่าวว่า จากการตั้งด่านตรวจค่าควันดำในกลุ่มรถที่จดทะเบียนไว้กับกรมขนส่งทางบก (รถป้ายเหลือง) ตั้งแต่ช่วงเช้าวันนี้ พบรถโดยสารไม่ประจำทาง ที่มีค่าควันดำเกินมาตรฐาน คือค่าทึบแสงเกินร้อยละ 45 ขึ้นไป จำนวน 1 คัน และพ่นสีสัญลักษณ์ห้ามใช้รถจนกว่าจะมีการปรับปรุงแก้ไข พร้อมเปรียบเทียบค่าปรับผู้ประกอบการในอัตราตั้งแต่ 5,000-50,000 บาท

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์@ข่าวสด ที่นี่
เพิ่มเพื่อน

นายสมชัย กล่าวต่อว่า หลังจากนี้เจ้าของรถจะต้องนำรถไปดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง และนำไปตรวจสภาพที่กรมการขนส่งทางบก และหากผู้ขับขี่ลบสัญลักษณ์ดังกล่าวออกเอง จะถือว่ามีคำผิด ฝ่าฝืนคำสั่งผู้ตรวจการ ซึ่งจะมีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท

ส่วนรถยนต์ส่วนบุคคลที่ควันดำเดินค่ามาตราฐาน จำนวน 10 คัน เฉพาะช่วงเช้า ทางตำรวจจราจรได้เปรียบเทียบปรับจำนวน 1,000 บาท และสั่งให้แก้ไขปรับปรุง ขณะที่วันนี้ยังมีการตั้งด่านตรวจวัดควันดำ ของกรมการขนส่งทั้วกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ร่วมกับตำรวจจราจร อีก 13 จุด

“ยืนยันว่าการตรวจค่าควันดำตามด่านตรวจและโรงตรวจสภาพในกรมการขนส่ง เป็นมาตราฐานเดียวกัน แต่ที่มีกระแสว่าทำไมค่าควันดำไม่เท่ากันนั้นเพราะค่าสันดาป และนำหนักการบรรทุกระหว่างวิ่งกับจอดอยู่กับที่ไม่เท่ากันเป็นปัจจัยทำให้ค่าควันดำไม่เท่ากัน ส่วนเกฑณ์มาตรฐานค่าควันดำ ที่ว่าห้ามเกิน ร้อยละ 30 นั้น เป็นค่าสำหรับการตักเตือน หากตรวจพบค่าควันดำเกินร้อยละ30 ก็ให้เอกสารเตือน แต่ค่ามาตราฐานสำหรับค่าควันดำตามกฎหมายกำหนดคือร้อยละ 45” นายวันชัย กล่าว

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน