เครือข่ายสวนยางใต้ ถกเครียดราคาดิ่ง ซัดบริหารพลาด ชี้หากแก้ช้า เตรียมลุยพบนายกฯ

เครือข่ายสวนยางใต้ / วันที่ 2 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงเย็นวันที่ 1 ก.ย ที่ร้านคันทรี่เลิฟ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช มีกลุ่มแกนนำครือข่ายชาวสวนยางภาคใต้จาก 6 จังหวัดประกอบด้วย จ.นครศรีธรรมราช ,ตรัง ,พัทลุง ,กระบี่ ,สงขลา และ จ.สุราษฎร์ธานี รวมระชุมหารือเกี่ยวกับปัญหาราคายางพาราตกต่ำอย่างหนักในระยะนี้ โดยมีบรรดาแกนนำจาก 6 จังหวัด จำนวนกว่า 50 คนเข้าร่วมประชุม

นายประทบ สุขสนาน รองประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางระดับประเทศ กล่าวว่า สืบเนื่องมาจากปัญหาราคายางที่ผิดปกติ ไม่อยากจะพูดคำว่าตกต่ำ สาเหตุมาจากหลายด้าน เรามองว่าสาเหตุหลักคือการบริหารงานของผู้บริหาร ที่ทางเครือข่ายได้ติดตามและประเมินการทำงานของท่านที่ได้พบปะครั้งล่าสุดพบว่าการปฏิบัติสวนทางกัน จากราคายางแผ่นรมควันราคาเกือบ 52 บาท น้ำยางสดเกือบ 50 บาท วันนี้อยู่ที่ 42-43 บาท และ 38-39 บาท

น้ำยางสดเป็นปัญหาที่ชาวบ้านระดับรากหญ้าเดือดร้อน ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากการบริหารงานของผู้บริหาร ทางเครือข่ายภาคใต้จึงมาประชุมสรุปปัญหาที่วิกฤติทั้งหมด เพื่อนำเสนอไปให้ผู้ที่รับผิดชอบได้รับทราบ โดยจะยื่นหนังสือให้ท่านประธานบอร์ดการยางแห่งประเทศไทย พล.อ.ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข ที่จ.พัทลุง ในวันที่ 3 ก.ย.61 นี้ หลังจากนั้นจะยื่นให้ท่าน รมว.เกษตรและสหกรณ์

เครือข่ายสวนยางใต้ ถกเครียด

“หากยังไม่ได้รับการแก้ไขจาก 2 ท่านนี้ จะขอเข้าพบนายกรัฐมนตรี เพราะเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องที่ทางรัฐบาลให้นโยบายมา และ กยท.กำกับดูแลไม่ว่าจะเป็นโครงการที่เกษตรกรรออยู่คือการใช้ยางจากภาครัฐ แต่การปฏิบัติมันสวนทางกัน มีการนำยางไปใช้ไม่กี่กระทรวงจาก 8 กระทรวง

ซึ่งกระทรวงที่มีการนำยางไปใช้มีแค่กระทรวงเกษตรฯ และกลาโหม แต่กระทรวงมีการใช้ถนนลาดยางเยอะๆ อย่างกระทรวงคมนาคม ,มหาดไทย และกระทรวงอื่นๆ ยังไม่ได้ดำเนินโครงการนี้เลย ซึ่งจะนำปัญหานี้เสนอต่อนายกรัฐมนตรีต่อไป” นายประทบ กล่าว

สำหรับข้อสรุปปัญหาที่ร่วมประชุมคือ เรื่องราคายางตกต่ำ โดยเร่งโครงการใช้ยางภาครัฐ สนับสนุนหน่วยธุรกิจการยางเข้ากลับมาดูแลตลาดโดยด่วน สร้างโรงงานล้อยางที่ใช้งบจากส่วนกลาง เปิดตลาดไทยค่อม ประมูล 2 รอบ คือรอบเช้ารอบบ่าย ตลาดกลางบริหารน้ำหนักเองหรือบริษัทคู่ค้า เชื่อมต่อยัง สถาบันและเกษตรกร นอกจากนนี้ยังมีเรื่องที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ หรือบัตรสีชมพูเข้าถึงสิทธิในมาตรา 43(2-6) ด้วย

ที่สำคัญคือเรื่องปุ๋ย รับปุ๋ยโดยวิธีโอนสิทธิ์ ผ่านการประมูลหรือให้สถาบันเกษตรกรจัดหา โดยมีกติกา เช่นเข้าร่วมโครงการจ่ายปุ๋ยกับการยางมีระเบียบรองรับ การจ่ายเงินเข้าสมุดบัญชีเจ้าของสวนยาง แต่ต้องมีเงื่อนไขกติกาเช่น ใบเสร็จที่ส่ง พสย. ต้องตามระเบียบ ตั้งคณะกรรมการในสาขาจากทุกฝ่าย สุ่มตรวจ การออกหนังสือสั่งยุติการประกาศ

ชี้หากแก้ราคายางเตรียมพบนายก

การจัดซื้อปุ่ยผ่านระบบ Ebridding. การยกเลิกพร้อมมีหนังสือ ขอให้ คณะกรรมการร่าง ทีโออาร์ ในเจตนารม ข้อ 2.14 การอยู่ในระหว่างคดีความ สุดท้ายออกหนังสือให้ กรมบัญชีกลางตีความ เป็นเพราะอะไร เข้ามารับตำแหน่งสั่งหยุดทันที แล้วมีการเล่นต่อเกษตรกรรอปุ๋ย

นอกจากนี้เกษตรกรยังมีข้อสังเกตคือ การบริหารงานของรักษาการผู้ว่าการการยางเหมือนขายฝัน พูดมากกว่าทำ ไม่กล้าตัดสินใจ รวบอำนาจ ไม่กระจายอำนาจ การหยุดโรงงาน กยท.4-6 ผลผลิตเข้าสู่บริษัทไหน ทำไมไม่ขายยาง การหยุดหน่วยธุรกิจการยางเป็นอัมพาต ไม่ดำเนินงานตามหน้าที่

และการตั้งที่ปรึกษารักษาการ ไม่ควรมาจาก ตัวแทนบริษัท ขอแก้ไขผังเมืองที่เกี่ยวข้องกับยาง รวมทั้งการจำนำยาง และชดเชยรายได้ ซึ่งเป็นข้อสรุปโดยคร่าวๆ เพื่อจะนำไปเขียนสรุปเพื่อส่งต่อประธานคณะกรรมการการยาง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์ หรือนายกรัฐมนตรีต่อตามลำดับ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน