ปราชญ์กะเหรี่ยง ตั้ง 5 ข้อสังเกต ไฟป่าสะเมิง รัฐบริหารจัดการเชื้อเพลิงผิดพลาดหรือไม่ หวั่นเจ้าหน้าที่เร่งหาคนทำผิด จับชาวบ้านเป็นแพะเหมือนไฟไหม้ดอยสุเทพ

เกาะติดข่าว กดติดตามไลน์ ข่าวสด
เพิ่มเพื่อน

วันที่ 31 มี.ค.64 พฤ โอโดเชากนนำเครือข่ายกะเหรี่ยงภาคเหนือ และ ปราชญ์กะเหรี่ยง โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นเรื่องไฟป่าในพื้นที่ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ความว่า ทราบข่าวว่าไฟแถวสะเมิงกำลังไหม้ บริเวณถ้ำหลวงแม่สาบ ดูภาพเหมือนภูเขาห่มผ้าสีแดงเลยนะครับ

ซึ่งภูเขาลูกนี้เหมือนกับว่าปีที่แล้วทางการไม่ยอมให้ไฟไหม้ครับ ปีนี้เวลาไฟไหม้ก็จะไหม้แรงกว่า แบบนี้เป็นปกติ สำหรับคนเฒ่าคนแก่ในสะเมิงคงเห็นไฟไหม้ที่นี่จนชิน ตั้งนานมาแล้วครับ แต่สำหรับคนที่อื่นคงตกใจ แต่เรื่องนี้คิดว่าไม่ควรจะชาชินและไม่ควรจะตื่นเต้นมากไป เพราะมันมีองค์ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับไฟนั้น

มันมีข้อเสี่ยงที่จะหลงพากันฉวยโอกาสเยอะอยู่ เรื่องไฟซึ่งไม่ใช่เรื่องต้องชาชินและไม่ใช่เรื่องก็ตกใจตื่นเต้นเป็นกระแส ต้องเข้าใจและมันเชื่อมโยงกับ ความรู้ อำนาจงบประมาณ สิทธิ หลายมิติ และรวมทั้งการใช้ไฟในการช่วงชิงพื้นที่ สื่อต่างๆ

ชาวบ้าน ในละแวกนั้นคงเห็นเหมือนกับเป็นแค่ดอกไม้ไฟ ในเทศกาลข้ามคืนหนึ่ง ตื่นเต้น ในค่ำคืนหนึ่งที่มันจะลามลงมาหาสวนนา ชาวบ้านในละแวกที่อยู่รอบดอย มีคนชุมชนอยู่เกือบจะล้อมรอบเลย ชาวบ้านแถวตัวอำเภอสะเมิงซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ ที่เป็นคนดั้งเดิมคงเห็นไฟไหม้ แถวภูเขาอำเภอสะเมิงเป็นประจำมาตั้งแต่เด็กจนแก่เฒ่า

ส่วนไฟที่ลุกไหม้ ดอยแถวดอยถ้ำหลวงแม่สาบ แห่งนี้ชาวบ้านบอกว่า เห็นไฟเริ่มลุกไหม้ตั้งแต่วันที่ 28 มี.ค.64 วันที่ไปส่งหีบบัตรเลือกตั้งนายกเทศบาลและสมาชิกเทศบาลตำบลสะเมิงใต้กันแล้ว ถ้าไฟดับจริงก็คงดับได้ แต่เข้าใจว่า เป็นการบริหารจัดการเชื้อเพลิงของทางหน่วยงานรัฐ

ตอนนั้นไฟยังไหม้ไม่กว้างเท่าไหร่ อยากตั้งข้อสังเกตว่า 1.ว่าเป็นการบริหารจัดการเชื้อเพลิงของทางเจ้าหน้าที่หรือไม่ 2. ไฟลุกขึ้นมาหลังดับไฟหรือไม่ 3.ไฟไหม้ขึ้นตอนกลางคืน เพราะว่ามีการจุดสมทบจากข้างล่างขึ้นไปเพื่อให้เป็นการขยายแนวเขตให้ไฟชนกันหรือไม่

4. มีไฟที่เกิดขึ้นโดยไม่มีการตั้งใจหรือไม่มีเจ้าของ 5. เป็นความผิดพลาดจากการบริหารจัดการเชื้อเพลิง โดยไม่มีเจตนาจะให้ข้ามแนวการไฟ แต่ได้ลามไหม้ภูเขา

ไฟล์ไม่จุดนี้ห่างจากบ้านผม 20 กิโลเมตร อยู่ติดกับอำเภอสะเมิง หรือตัวเมืองอำเภอสะเมิงเลยก็ว่าได้ อยู่ทางทิศตะวันตกของเทศบาลตำบลสะเมิงใต้ คือ หลังผิงของบ้านท่าศาลาหมู่ 10 ต.สะเมิงใต้ ห่างกันประมาณครึ่งกิโลเมตร ถือว่าเป็นดอยสุเทพของอำเภอสะเมิงก็ว่าได้

ภูเขาลูกนี้ชาวบ้านคงมีชื่อเรียกหลายเรียกหลายชื่อ แต่รู้จักกันว่า ชื่อดอยถ้ำหลวงแม่สาบ เพราะทาง ตะวันตกเฉียงเหนือของภูเขาลูกนี้จะมีถ้ำเป็นแหล่งท่องเที่ยวอยู่ บริเวณใกล้ๆชุมชนแม่สาบหมู่ 1 ตำบลสะเมิงใต้

ทางตะวันออกของภูเขามีหมู่บ้านจากทางเหนือลงมาคือบ้านห้วยน้ำริน บ้านศาลา บ้านแสงตอง บ้านทรายมูล ด้านหลังตะวันตกติดกับบ้านแม่สาบ ทางทิศใต้สิ้นสุดที่แม่น้ำสะเมิงกับแม่น้ำแม่สาบไหลบรรจบกัน

และทุกปีถ้าไฟไหม้ภูเขาป่าแถวนี้อีกไม่กี่วันก็จะเริ่มลามไหม้มาถึงป่าชุมชนทางบ้านที่ผมอยู่ครับ เพราะ บ้านแม่สาบและบ้านทรายมูลจะ มีเขตติดต่อกับทางหมู่ 6 บ้านแม่ลาน และหมู่ 11 บ้านป่าคา ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่

จากภูเขาที่ชื่อว่าถ้ำหลวงแม่สาบ จะมีแม่น้ำแม่สาบและแม่น้ำแม่ขาน เป็นตัวกั้นระหว่างไฟจากภูเขาลูกนี้ที่จะลามมาเข้าสู่ภูเขามาทางบ้านผม คือหมู่ 6 และหมู่11ครับ

ทางชาวบ้านหมู่ 6 และหมู่ 11 มีมติว่าในป่าที่พวกเราอยู่จะไม่มีการชิงเผาหรือที่เก็บไฟครับ เพราะว่าทุกปีชาวบ้านเราจะมีวัวควายเข้าไปอยู่ในป่ าและคอยจัดการเชื้อเพลิงได้ระดับหนึ่งครับ แล้วถ้าไฟมาเราก็คงจะต้องไปดับกัน แต่ลึกๆแล้วไม่อยากจะไปดับไฟป่าครับ เพราะช่วงนี้ชาวบ้านเราก็กำลัง เผาไร่หมุนเวียนการซึ่งต้องดูแลไฟแปลงไร่หมุนเวียนกันให้ดีเพื่อไม่ให้ไฟลามออกไปสู่ในป่าเช่นกันครับ

ตามที่ทางจังหวัดให้เราเผาแค่ 1 วันเผาให้เสร็จนั้นทางชุมชนหมู่ 6 และหมู่ 11 ไม่สามารถจะทำได้เพราะชาวบ้านทางหมู่ 6 และหมู่ 11 นั้นมีแปลงไร่หมุนเวียนกระจัดกระจายไม่ได้ทำแปลงแบบแปลงใหญ่ติดกันเหมือนกับทางชุมชนที่มีที่ดินดีทั้งหมดแปลงใหญ่รวมกันทำ เช่นทางจังหวัดแม่ฮ่องสอน อ. แม่แจ่ม หรืออมก๋อยครับ (เพราะการทำไร่หมุนเวียนนั้นมี 2 แบบทำแบบรวมใหญ่หรือทำแบบแปลงกระจัดกระจายไม่ติดกัน มันเกี่ยวข้องกับว่าที่ดินตรงนั้นมันดี อุดมสมบูรณ์ต่อเนื่องไหม หรือมันจะดีสำหรับการเพาะปลูกเป็นจุดจุดอยู่ที่ภูมิศาสตร์และที่ดินทางธรรมชาติเป็นตัวบังคับครับ )

ดังนั้นเวลาชาวบ้านจะเผาไร่หรือบริหารจัดการเชื้อเพลิงจะต้องมีชาวบ้านไปช่วยการเฝ้าระวังแต่ละแปลง หากต่างคนต่างไปเผาของไร่ตัวเองแต่ละแปลงนั้น ไม่มีความมั่นใจได้ว่าจะเอาไฟอยู่ครับเพราะลมพัด และหากดอกไฟไปตกเลยพื้นที่เรา ห่างออกไปได้หลายสิบเมตร และไฟไหม้ออกไปในป่าเราไม่สามารถจะดับคนสองคนได้จึงต้องมีการช่วยเหลือกัน เฝ้าในแต่ละแปลง

เนื่องจากว่าทางจังหวัดเลื่อนการบริหารจัดการเชื้อเพลิงมา 2 ครั้งแล้วครั้งที่ 3 ที่ทางเจ้าหน้าที่มาประสานก็ตรงกับฝนตกพอดี และหลังจากนั้นมาอีกครั้งที่ 4 พื้นที่แปลงก็ยังไม่แห้งชาวบ้านจึงขอไปยังผู้ว่าฯว่าจะบริหารจัดการเชื้อเพลิงตามความเหมาะสมของสภาพอากาศ ตามแรงงาน และสภาพพื้นที่ที่ชาวบ้านสามารถควบคุมดูแลได้เองครับ ชาวบ้านจึง มีมติความคิดเห็นว่า ชาวบ้านบริหารจัดการเชื้อเพลิงกันเองตามความจำเป็นและเหมาะสมครับ

เพราะถ้ารอคำสั่งแบบทางจังหวัดคงไม่สอดคล้องกับพื้นที่ในการ บริหาร จัดการ เชื้อเพลิง และไม่สอดคล้องกับตามวิถีชีวิต ฝนฟ้าอากาศแรงงานตามสภาพพื้นที่ภูมิศาสตร์ เพราะผู้สั่งการก็ไม่รู้สภาพพื้นที่จริง อยู่ที่ส่วนกลาง จะให้คณะกรรมการและชาวบ้านเป็นผู้เลือกและตัดสินใจเลือกว่าจะบริหารจัดการเชื้อเพลิงอย่างไรถึงจะดีที่สุดครับ

แต่ปีนี้เหมือนกับทางราชการหรือ ผู้ว่าฯยังมีอำนาจสั่งการตัดสินใจเป็นหลักอยู่ ว่าชาวบ้านจะได้เผาไร่หรือบริหารจัดการเชื้อเพลิงวันไหน เมื่อไหร่ รวมทั้งนัดแล้วจะเลื่อนอีกก็ได้ จะอนุญาตก็ขึ้นอยู่กับ ผู้ว่าฯที่ส่วนกลางจะเป็นคนเคาะอนุญาตครับ บางครั้งจึงไม่สอดคล้องกับพื้นที่ความเป็นจริง

สำหรับผมมีข้อกังวลแต่เพียงว่ากระแสจากไฟไหม้ภูเขาถ้ำหลวงแม่สาบนี้ จะเหมือนกับไฟไหม้ดอยสุเทพ เมื่อปีก่อนแล้ว เจ้าภาพจะต้องวิ่งหาคนทำผิดเลยไปจับชาวบ้านที่อมก๋อยและแม่แดด เรื่องนี้ก็เกรงว่า จะลามมาเป็น การค้นหาแพะดำเนินคดีที่ชาวบ้านกำลังจะเตรียมทำการเพาะปลูกข้าวไร่หมุนเวียน ที่จำเป็นจะต้องมีการเผาพื้นที่เพื่อเพาะปลูกข้าวครับ หวังว่าคงจะไม่ลามมาถึงไร่หมุนเวียนที่บ้านผมนะครับ

เพราะภูเขาที่เกิดนั้นไม่มีชาวกะเหรี่ยงอยู่ล้อมรอบและไม่มีไร่หมุนเวียนครับมีแต่ คนเมือง และชาวไทลื้อที่เปลี่ยนแปลงระบบการเกษตรเป็นไร่ถาวรหมดแล้ว

ขอบคุณภาพจาก : ดร.สุมิตร อธิพรหม / คุณ On-Uma Juarjan

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน