ญี่ปุ่นจัดพระราชพิธี “สละราชสมบัติ” สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ

ญี่ปุ่นจัดพระราชพิธี – เมื่อวันที่ 30 เม.ย. ชาวญี่ปุ่นและนานาประเทศทั่วโลก ต่างติดตามการถ่ายทอดสดงานพระราชพิธีสละราชสมบัติของ สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ พระชนมพรรษา 85 พรรษา องค์พระประมุขแห่งญี่ปุ่นที่ครองราชย์มานาน 30 ปี เป็นการสละราชสมบัติขององค์จักรพรรดิญี่ปุ่นครั้งแรกในรอบ 200 ปี

เอพี รายงานว่า สถานีโทรทัศน์ญี่ปุ่นเผยแพร่ภาพที่พระองค์เสด็จฯ ยังศาลเจ้า คาชิโกะโดโกโระ เพื่อแจ้งพระราชประสงค์ต่อทวยเทพ ซึ่งศาลเจ้าแห่งนี้เป็นที่สถิตของเทพอะมะเทราสึ หรือเทพธิดาแห่งดวงอาทิตย์ บรรพบุรุษของพระราชวงศ์

จากนั้นจึงเป็นพระราชพิธีที่พระราชวัง สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะจะเสด็จฯ ออกพบตัวแทนประชาชน ขณะที่นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนของผู้เข้าเฝ้าฯ กล่าวถวายพระพรและแสดงความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ พร้อมกันนี้องค์อากิฮิโตะจะทรงมีพระราชดำรัสครั้งสุดท้ายในฐานะสมเด็จพระจักรพรรดิ

ญี่ปุ่นจัดพระราชพิธี

เสด็จยังศาลเจ้าคาชิโกะโดโกโระ Japan’s Emperor Akihito walks for a ritual called Taiirei-Tojitsu-Kashikodokoro-Omae-no-gi, a ceremony for the Emperor to report the conduct of the abdication ceremony, at the Imperial Palace in Tokyo, Japan April 30, 2019. Japan Pool/Pool via REUTERS

ราชวงศ์ญี่ปุ่น หรือราชวงศ์ดอกเบญจมาศ มีประวัติการสืบราชบัลลังก์ติดต่อกันมายาวนานที่สุดในโลก การสละราชสมบัติขององค์จักรพรรดิครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกนับจากปีพ.ศ.2360 (ค.ศ. 1817) หรือเมื่อ 202 ปีก่อนในสมัยเอโดะ

Japan’s Emperor Akihito, left, walks for a ritual to report his abdication to the throne, at the Imperial Palace in Tokyo. (Japan Pool via AP)

ทั้งนี้ เนื่องจากองค์อากิฮิโตะมีพระราชดำรัส เมื่อปี 2559 ว่า พระชนมายุของพระองค์ที่สูงขึ้น และพระพลานมัยของพระองค์ที่อ่อนแอลงจะเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติพระราชกรณียกิจ พระราชดำริดังกล่าวทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นและราชสำนักต้องเตรียมการทั้งในด้านกฎหมายสำหรับการสละราชสมบัติ รวมถึงเตรียมงานพระราชพิธีขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระจักรพรรดิองค์ต่อไปในคราวเดียวกัน

องค์อากิฮิโตะทรงขึ้นครองราชย์พร้อมกับการเริ่ม ยุคสมัยเฮเซ ที่มีความหมายว่าความสงบสุขทั่วแผ่นดิน ตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค. 2532 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจาก สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ พระราชบิดาเสด็จสวรรคต

ญี่ปุ่นจัดพระราชพิธี

ชาวญี่ปุ่นมารอถวายพระพรหน้าพระราชวังอิมพีเรียล Japanese tourists visit the Imperial Palace in Tokyo, Japan, April 30, 2019. REUTERS

สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 125 ในสายการสืบสันตติวงศ์ นับตั้งแต่ญี่ปุ่นก่อตั้งประเทศขึ้น เมื่อ 600 ปีก่อนคริสต์กาล ในรัชสมัยของจักรพรรดิจิมมุ ผู้ได้ชื่อว่าเป็นลูกของเทพธิดาแห่งดวงอาทิตย์

สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อภิเษกสมรสกับสามัญชนเมื่อครั้งที่ยังทรงเป็นมกุฎราชกุมาร โดยทรงอภิเษกสมรสกับนางสาวมิชิโกะ โชดะ เมื่อปี 2499

จากนั้นทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา รวม 3 พระองค์ ได้แก่ เจ้าชายนารุฮิโตะ มกุฎราชกุมาร เจ้าชายฟุมิฮิโกะ เจ้าอากิชิโน และ เจ้าหญิงซายาโกะ

สำหรับวันที่ 1 พ.ค. สมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินีไม่ทรงมีหมายกำหนดการเข้าร่วมพระราชพิธีขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระจักรพรรดิองค์ใหม่

ญี่ปุ่นจัดพระราชพิธี

มกุฎราชกุมารนารุฮิโตะเสด็จฯ ออกจากพระราชวังอิมพีเรียล Japan’s Crown Prince Naruhito, in a car, leaves the Imperial Palace in Tokyo. /Kyodo News via AP/

ผศ.โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์ จากมหาวิทยาลัยโตเกียวแห่งการศึกษาวิชาการต่างประเทศ Tokyo University of Foreign Studies ให้ข้อมูลแก่บีบีซีไทย ว่าเมื่อสิ้นสุดสมัยเฮเซ ญี่ปุ่นจะเข้าสู่ศักราชใหม่ ยุคเรวะ ที่หมายถึง “ความรุ่งเรืองแห่งสันติภาพ” ในทันที พร้อมกับการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระจักรพรรดิองค์ใหม่

จากนี้ไป สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะจะดำรงพระสถานะเป็นโจโกซึ่งในภาษาไทยมีคำว่าพระเจ้าหลวงและสมเด็จพระจักรพรรดินี (ชื่อเดิมขณะเป็นสามัญชนมิจิโกะ โชดะ“) จะทรงเป็นโจโกโงหรือพระพันปี

ญี่ปุ่นจัดพระราชพิธี

Japan’s Chief Cabinet Secretary Yoshihide Suga unveils ‘Reiwa’ as the new era name at the prime minister’s office in Tokyo, Japan, April 1, 2019. Reuters

ส่วนภาษาอังกฤษ สำนักพระราชวังแห่งญี่ปุ่นบัญญัติคำว่า Emperor Emeritus และ Empress Emerita ตามลำดับ ซึ่งหากเอ่ยถึงพระองค์เป็นภาษาไทย คำที่เหมาะสมจึงน่าจะเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิพระเจ้าหลวงและสมเด็จพระจักรพรรดินีพระพันปีหลวง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน