สิ้นนายใหญ่ซัมซุง อีคุนฮี วัย78 เจ้าของวาทะ “จงเปลี่ยนทุกอย่างยกเว้นลูกเมีย”

สิ้นนายใหญ่ซัมซุง อีคุนฮีเอพี รายงานว่า เมื่อ 25 ต.ค. บริษัท ซัมซุง อิเลกทรอนิกส์ ธุรกิจยักษ์ใหญ่ระดับโลกแห่งเกาหลีใต้ แถลงการณ์แจ้งข่าวเศร้าว่า นายอี คุนฮี ประธานบริหารของบริษัทที่ล้มป่วยมานานด้วยอาการโรคหัวใจตั้งแต่ปี 2557 เสียชีวิตแล้ว ขณะอายุ 78 ปี

ประธานอีจากไปอย่างสงบท่ามกลางสมาชิกในครอบครัว รวมถึงนายอี แจยอง ลูกชายผู้สืบทอดตำแหน่งทายาทผู้นำบริษัทที่เฝ้าดูใจจนลมหายใจสุดท้าย เมื่อเช้าวันอาทิตย์ที่ 25 ต.ค.

สิ้นนายใหญ่ซัมซุง อีคุนฮี

สื่อเกาหลีใต้มาทำข่าวหน้าสถานที่ประกอบพิธีศพนายอี คุนฮี ที่กรุงโซล Media members are seen outside a funeral parlor where the funeral of Lee Kun-hee, leader of Samsung Group, will take place, in Seoul, South Korea, October 25, 2020. REUTERS/Kim Hong-Ji

“พวกเราทั้งหมดของซัมซุงจะจดจำท่านและเส้นทางอันน่าชื่นชมของท่านไว้ และขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัวและญาติมิตรของท่านที่ใกล้ชิดที่สุด ตำนานของท่านจะอยู่ตลอดไป” แถลงการณ์ซัมซุงระบุ

 

อี คุนฮี ผู้แปรปรับยกระดับบริษัทซัมซุง จากผู้ผลิตโทรทัศน์เล็กๆ ก้าวสู่เจ้าแห่งอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าระดับโลก และเป็นผู้นำตลาดสมาร์ตโฟนและอุปกรณ์สื่อสารรายใหญ่ที่สุดของโลกถึงปัจจุบัน เข้าโรงพยาบาลตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2557 เมื่อเกิดอาการหัวใจวาย จากนั้นอี แจยอง ลูกชายคนโตเข้ารับหน้าที่ดูแลบริษัทแทน

สิ้นนายใหญ่ซัมซุง อีคุนฮี

อี แจยอง และ อีคุนฮี สองพ่อลูกผู้บริหาร / FILE PHOTO: Lee Kun-hee (front), former Samsung Group chairman, and his son Lee Jae-yong (L) wait to make a call of condolence for the late President Kim Dae-jung at a memorial altar at the National Assembly in Seoul August 21, 2009. REUTERS/Korea Pool/File Photo SOUTH KOREA OUT.

ซัมซุงไม่เพียงเติบโตในฐานะบริษัทยักษ์ใหญ่ แต่ยังมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ให้เกาหลีใต้ผงาดขึ้นเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 4 ของทวีปเอเชีย โดยซัมซุงครองสัดส่วนหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เกาหลีใต้อยู่กว่าร้อยละ 20

ความมั่งคั่งของนายอี คุนฮี สื่อฟอร์บส์ของสหรัฐอเมริกา ประเมินเมื่อเดือนมกราคม 2560 ว่าสูงถึง 16,000 ล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 5 แสนล้านบาท

ตำนานของอี คุนฮีในการคุมบริษัทซัมซุงเริ่มต้นเมื่อปี 2530 เมื่อรับกิจการต่อจากพ่อ ตอนนั้นซัมซุงยังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากญี่ปุ่น เพื่อผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ และเริ่มส่งออกเตาไมโครเวฟและตู้เย็น

ปี 2514 บริษัทเกือบจะใกล้ล้มละลาย แต่กัดฟันขยายโรงงานผลิตเซมิคอนดักเตอร์จนประคองกิจการมาได้

SAMSUNG CSC

กระทั่งปี 2536 หลังจากอี คุนฮี ไปศึกษางานต่างประเทศมา 2 เดือนก็ตระหนักได้ว่าต้องยกเครื่องบริษัทครั้งใหญ่เพื่อปรับปรุงคุณภาพสินค้า

นายอีกล่าววาทะอันเป็นที่จดจำแก่ผู้บริหารซัมซุงว่า “เรามาเปลี่ยนทุกอย่างกันเถอะ ยกเว้นภรรยาและลูก”

(FILES) In this file photo taken on July 11, 2008 (FILES) Lee Kun-Hee (C), former Samsung Group chairman, leaves after his trial as reporters ask him questions at a Seoul court. – Lee died on October 25 at the age of 78, the company said. (Photo by JEON HYEONG-JIN / AFP FILES / AFP)

อย่างไรก็ตามไม่ใช่กิจการทุกอย่างจะไปได้สวยหลังการเปลี่ยนแปลงนั้น ซัมซุงต้องขายกิจการซัมซุง มอเตอร์ที่เริ่มมาจากความนิยมรถหรูของนายอี ให้กับบริษัทเรอโนลต์ของฝรั่งเศส อีกทั้งบริษัทยังถูกวิจารณ์ว่าไม่เคารพสิทธิแรงงาน เพิกเฉยต่อสุขภาพพนักงานหลายปี ทำให้คนงานในโรงงานผลิตเซมิคอนดักเตอร์ป่วยเป็นมะเร็งไปหลายคน

ช่วงท้ายของชีวิตนายอี คุนฮี ยังเป็นช่วงที่บริษัทซัมซุงเผชิญกับความซับซ้อนทางธุรกิจ

นอกจากจะมีคู่แข่งรายใหม่จากจีนที่เข้าแข่งขันอย่างเข้มข้นในตลาดแล้ว ยังเกิดแรงกดดันมหาศาลให้บริษัทต้องปรับตัวจากธุรกิจฮาร์ดแวร์ที่แข็งแกร่งให้เป็นผู้นำนวัตกรรม รวมถึงต้องยกเครื่องปฏิรูปวัฒนธรรมการบริหารตามลำดับขั้น ให้เป็นการบริหารที่โปร่งใสและมีธรรมาภิบาล

เมื่อปี 2559-2560 ซัมซุงเผชิญมรสุมอื้อฉาวทางธุรกิจที่ไปทับซ้อนการเมือง กรณีพัวพันกับการจ่ายค่าอำนวยความสะดวกจำนวนมหาศาลให้รัฐบาลเพื่อให้การควบรวมกิจการสำหรับถ่ายโอนอำนาจจากพ่อสู่ลูกตระกูลอีราบรื่น อันเป็นคดีที่ทำให้น.ส.ปาร์ก กึนเฮ ถูกถอดถอนจากตำแหน่งประธานาธิบดี และรับโทษจำคุก

ส่วนอี แจยอง ผู้ได้ฉายาจากสื่อว่า เจ้าชายซัมซุง ถูกดำเนินคดีพร้อมผู้บริหารกิจการยักษ์ใหญ่อื่นๆ และต้องโทษจำคุก แต่เป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ จากโทษเต็ม 5 ปี จนถูกวิจารณ์ว่าเป็นเพราะทางการกลัวว่าธุรกิจซัมซุงจะกระเทือนถึงเศรษฐกิจโดยรวมของเกาหลีใต้

Vice-Chairman of Samsung Electronics Lee Jae-yong speaks during a news conference in Seoul on May 6, 2020. (Photo by KIM HONG-JI / POOL / AFP)

เหมือนสมัยอี คุนฮี เคยถูกตัดสินมีความผิดในคดีอื้อฉาวทางธุรกิจเมื่อปี 2551 จากการถ่ายโอนหุ้นด้วยวิธีผิดกฎหมาย เลี่ยงภาษี และติดสินบนเพื่อจัดการโอนทรัพย์สินและอำนาจควบคุมบริษัทให้ลูกๆ ทั้งสามคน แต่สุดท้ายก็รับโทษสถานเบา

ปี 2563 ขั้นตอนต่างๆ ที่ อี แจยองรับสืบทอดกิจการซัมซุง จากพ่อ จะเสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์ ขณะที่เจ้าชายซัมซุงประกาศว่า จะไม่ส่งต่อกิจการนี้ให้กับลูกๆ รุ่นต่อไปอีก และบริษัทจะยุติการขัดขวางพนักงานจัดตั้งสหภาพแรงงานต่างๆ

////

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : เจ้าชายซัมซุงก้มหัวขอโทษ ประกาศไม่ตั้งลูกๆ สืบทอดตำแหน่ง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน