สิงคโปร์ยังมีราชนิกุล ใช้ชีวิตเยี่ยงสามัญชน บางคนยากลำบาก

สิงคโปร์ยังมีราชนิกุล – รอยเตอร์ รายงานถึงกลุ่มคนที่เป็นราชนิกุลของสิงคโปร์ ว่าปัจจุบันยังมีอยู่ เพียงแต่ใช้ชีวิตเหมือนคนธรรมดาที่ไม่ได้แสดงตนอะไร บางคนเป็นพนักงานออฟฟิศ หรือเป็นคนขับรถแท็กซี่ แม้ครอบครัวสืบทอดมาจากราชวงศ์ในศตวรรษที่ 19 ที่ถูกอังกฤษบุกรุกและครอบครองสิงคโปร์

เต็งกูชาวัล

นายชาวัล อายุ 51 ปี เป็นคนหนึ่งที่ไม่ได้ใช้คำนำหน้าว่า “เต็งกู” หรือเจ้าชาย แม้จะบอกว่าตนเองเป็นสมาชิกของครอบครัว “หัวหน้าตระกูลสิงคโปร์”

“อ้าว..พวกเขายังเหลืออยู่อีกหรือ”มักเป็นคำพูดของคนที่ประหลาดใจว่า ยังมีราชนิกุลอยู่ในสิงคโปร์ ถ้าชาวัลบอกกับคนอื่นว่าเขาสืบเชื้อสายจากสุลต่าน ฮุสเซน ชาห์ ซึ่งทำสัญญาให้อังกฤษปกครองจนพลิกโฉมหน้าประเทศให้ทันสมัย

สิงคโปร์ยังมีราชนิกุล

เต็งกู ชาวัลพาทัวร์พิพิธภัณฑ์อิสตานา กำปงกีลาม ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นวังและเป็นที่อยู่ของตนเอง – Tengku Shawal, a royal descendant, gives a tour of his former home the Istana Kampung Glam, which is now the Malay Heritage Centre museum, in Singapore August 7, 2020. Picture taken August 7, 2020. REUTERS/Edgar Su

ล่วงเข้าศตวรรษนี้ ราชนิกุลบางคนอาศัยอยู่ในวังของบรรพบุรุษที่แออัดและทรุดโทรม ก่อนที่รัฐบาลจะเชิญออกไปอยู่ที่อื่นและปรับปรุงอาคารเก่าให้เป็นพิพิธภัณฑ์

จากจำนวนราชนิกุล 79 คน เคยมี 14 คน ที่อาศัยในพระราชวังซึ่งเป็นวังสมัยอาณานิคม ขณะที่คนอื่นๆ ย้ายไปพำนักในต่างประเทศ

การที่ผู้ได้รับผลประโยชน์ตามกฎหมายไม่ได้เป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณชน ยิ่งทำให้ดูไม่ออกว่าคนไหนเป็นหรือไม่เป็นราชนิกุลตามที่กล่าวอ้าง

สิงคโปร์ยังมีราชนิกุล

Tengku Shawal, a royal descendant, says a prayer next to the tombstone of his great-great- grandfather, Tengku Alam, at the ancestral mausoleum in Sultan Mosque, Singapore, October 2, 2020. Picture taken October 2, 2020. REUTERS/Edgar Su

ขณะที่รัฐบาลสิงโปร์เปิดเผยว่ายังรับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้ราชนิกุลอยู่ แต่ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้

ชาวัล ยังคงไปเยี่ยมเยียนบ้านเก่าที่กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ อยู่ใกล้กับมัสยิดและสุสานในย่านเมืองเก่าที่เรียกว่า “กำปง กีลาม”

แม้ชาวัลต้องประสบปัญหาถูกตัดรายได้และกิจการการขนส่งก็ฝืดเคือง เนื่องจากการระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ แต่ยังอุทิศเวลาให้กับการรักษามรดกของสุลตต่านให้คงอยู่ด้วยการสวมชุดราชนิยมและเข้าร่วมงานเฉลิมฉลองต่างๆ

สิงคโปร์ยังมีราชนิกุล

Tengku Shawal, a royal descendant, talks as his daughter Tengku Puteri (L) and his sister Tengku Intan (C) reminisce over old family photos at Intan’s home in Singapore August 21, 2020. Picture taken August 21, 2020. REUTERS/Edgar Su

เต็งกู อินทรา

การทำตนให้เป็นที่สังเกตว่าเป็นราชนิกุลก็ทำให้เกิดอุปสรรคปัญหาเช่นกัน แม้แต่กับราชนิกุลด้วยกันที่เตือนถึงอันตรายของการฝังอยู่กับอดีตจะยิ่งทำให้การอยู่กับปัจจุบันลำบากยากเย็น

“พวกเราไม่ใช่ราชวงศ์แล้ว ไม่สำคัญหรือว่าสืบเชื้อสายมาจากราชนิกุลหรือไม่ สิ่งสำคัญที่ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิตคือการมีคุณธรรมแทนที่จะยินดีกับสถานะที่ได้เป็นผู้สืบสายเลือดจากบรรพบุรุษ” เต็งกู อินทรา ผู้สืบเชื้อสายราชวงศ์อีกคนหนึ่งวัย 67 ปี กล่าว

เต็งกูอินทราและเต็งกูอาซาน / Tengku Azan and his father Tengku Indra pose for photos in their home in Singapore September 22, 2020. Picture taken September 22, 2020. REUTERS/Edgar Su

อินทราเป็นรุ่นเหลนของสุลต่าน ฮุสเซน ตอนนี้ลูกชายของอินทรา ชื่อ เต็งกู อาซาน อายุ 40 ปี และมีลูกสาวอายุ 2 ขวบ เป้นราชนิกุลอายุน้อยที่สุด ขณะที่อินทราคิดว่า คนรุ่นใหม่ในอนาคตจะไม่ไปใส่ใจกับประวัติศาสตร์ของสุลต่านมากนัก เพราะไม่ใช่เรื่องที่ควรไปยึดมั่นอะไร

เต็งกูไฟซาล

สำหรับคนที่เคยอยู่ในพระราชวังมาก่อน ชีวิตโลกภายนอกทำให้พลิกผันหน้ามือเป็นหลังมืออย่างน่าตกใจ

เต็งกู ไฟซาล อายุ 43 ปี เล่าว่า ตนเองออกจากวังมาเมื่อปี 2542 ไปทำงานเป็นคนทำความสะอาดที่คอนโดมิเนียม ถูกล้อว่าเป็นเจ้าชายตกยาก

ตอนนี้ไฟซาลทำงานเป็นคนขับแท็กซี่ ต้องดิ้นรนกับชีวิตอยู่มาก ต้องขอความช่วยเหลือด้านการเงินมาจ่ายค่าเทอมโรงเรียนอนุบาลให้ลูกสาว ส่วนภรรยาก็ต้องทำงานพาร์ตไทม์ที่ร้านแมคโดนัลด์

“เราไม่ได้ดูดี เราไม่ได้รวย เรามีแค่ตำแหน่งเท่านั้น” ไฟซาลกล่าว

เต็งกูไฟซาล Tengku Faizal, who says he is a royal descendant, prepares to take his daughter to a childcare centre at his rental public housing flat in Singapore August 31, 2020. Picture taken August 31, 2020. REUTERS/Edgar Su

ทั้งนี้เมื่อเทียบกับมาเลเซีย ตำแหน่งสุลต่านของราชวงศ์ประเทศเพื่อนบ้านยังคงมีบทบาทในสังคม ผู้ที่เป็นเต็งกูจะได้รับเกียรติมากกว่าคนธรรมดาทั่วไป แต่สำหรับสิงคโปร์ไม่ใช่เช่นนั้น

เจ้าหญิงปุเตรี กล่าวว่า แม้จะเขียนคำนำหน้าชื่อว่า เต็งกู แต่กลับเป็นเรื่องยากมากที่จะอธิบายว่าตำแหน่งนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร เพราะคนส่วนใหญ่ในประเทศลืมชิ้นส่วนทางประวัติศาสตร์นี้ไปแล้ว

“บางครั้งฉันก็เศร้านะที่ต้องคอยมาอธิบายว่าตัวเองเป็นใคร ไม่ได้เป็นเหมือนอย่างเจ้าชายแฮร์รี ที่ทุกคนรู้เลยว่าเป็นเจ้าชาย” ปุเตรี กล่าว

/////////

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : โควิด-19: การระบาดใหญ่สะท้อนให้เห็นปัญหาความเหลื่อมล้ำรุนแรงในสิงคโปร์

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน