30 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลง: วันที่ 1 ก.พ. บีบีซี รายงาน อดีต และ ปัจจุบัน ของธารน้ำแข็ง สกัฟตาเฟลล์สเยอกุลล์ (Skaftafellsjokull) ของไอซ์แลนด์ ซึ่งตัวสร้างน้ำแข็งจากครอบน้ำแข็ง วัตนาเยกุลล์ (Vatnajokull) ซึ่งเป็นธารน้ำแข็งขนาดใหญ่สุดของยุโรป

ธารน้ำแข็งไอซ์แลนด์

ธารน้ำแข็งสกัฟตาเฟลล์สเยอกุลล์ในปี 2532 Images: Colin & Kieran Baxter/University of Dundee

โคลิน แบ็กซ์เตอร์ ช่างภาพชาวอังกฤษ เยือนธารน้ำแข็งแห่งนี้ ระหว่างทริปวันหยุดกับครอบครัว และถ่ายภาพทิวทัศน์เยือกแข็ง เมื่อปี 2532 ต่อมา ดร.คีแรน แบ็กซ์เตอร์ ลูกชายของโคลิน กลับมาตำแหน่งเดิม อีก 30 ปีให้หลัง

ธารน้ำแข็งผืนดังกล่าวร่นถอยกลับไปอย่างมาก โดยนักวิทยาศาสตร์คาดว่าหดตัวลงราว 400 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีขนาดประมาณ ไอล์ออฟไวต์ (Isle of Wight) เกาะในช่องแคบอังกฤษ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

ธารน้ำแข็งไอซ์แลนด์หดตัว

ธารน้ำแข็งสกัฟตาเฟลล์สเยอกุลล์ในปี 2563 Images: Colin & Kieran Baxter/University of Dundee

ดร.คีแรน แบ็กซ์เตอร์ อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยดันดี กล่าวว่า “ผมเติบโตมากับการเยือนสถานที่น่าตื่นตาตื่นใจเหล่านี้และได้รับความเข้าใจพลังเงียบสงบของภูมิทัศน์เหล่านี้ (การหดตัวของธารน้ำแข็งผืนดังกล่าว) เป็นการทำลายล้างที่ส่วนตัวเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา

“ในลักษณะที่ปรากฏบนพื้นผิวของธารน้ำแข็ง ขอบเขตวิกฤตภูมิอากาศมักยังมองไม่เห็นส่วนใหญ่ แต่ที่นี่เราสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนถึงความหนักหน่วงของสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อโลกทั้งใบ” ดร.แบ็กซ์เตอร์ตั้งข้อสังเกต

 

ทั่วโลกถือว่า ธารน้ำแข็งของโลกเป็นหนึ่งในตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนที่สุดว่า ภูมิอากาศของโลกกำลังร้อนขึ้นอย่างไร

นักวิทยาศาสตร์สหรัฐอเมริการะบุว่า ธารน้ำแข็งโดยเฉลี่ยแล้วสูญเสียน้ำแข็งไปเทียบเท่าชิ้นน้ำแข็งความยาว 24 เมตร ตั้งแต่ปี 2523

การวัดการลดลงตัวเลขจริงของธารน้ำแข็งเป็นการยากในระดับโลก เนื่องด้วยปัจจัยหลายประการที่ส่งผลต่ออัตราการละลายดังกล่าว เช่น ความสูง การตกตะกอน การสัมผัสกับองค์ประกอบต่างๆ เช่น ลม และ แสงแดด

ดร.คีแรน แบ็กซ์เตอร์

ดร.คีแรน แบ็กซ์เตอร์ (ขวา) ALICE WATTERSON

ยุคต่างๆ ของธารน้ำแข็งแตกต่างกันอย่างมากมาย บางผืนมีอายุไม่กี่ร้อยปี หลายผืนอยู่มาหลายแสนปี

การอยู่อย่างยาวนานของธารน้ำแข็งเป็นบันทึกมีคุณค่าถึงภูมิอากาศในอดีต และการเปรียบว่า สถานการณ์ในปัจจุบันกับเหตุการณ์ในอดีตแตกต่างกันอย่างไร

ธารน้ำแข็งไอซ์แลนด์หดตัว

ภาพถ่ายธารน้ำแข็งเบรย์ดาเมร์กูร์เยอกุลล์ (Breiðamerkurjökull) ในปี 2532 (บน) และในปี 2562 (ล่าง) NATIONAL LAND SURVEY OF ICELAND/KIERAN BAXTER

นักวิทยาศาสตร์เจาะน้ำแข็งลงไปในธารน้ำแข็ง และดึงอุปกรณ์แกนกลางออกมา ซึ่งเป็นบันทึกตัวเลขตัวแทนภูมิอากาศในอดีตอย่างต่อเนื่องปีต่อปี

จากการวิเคราะห์ส่วนประกอบของน้ำแข็ง เช่น ฟองอากาศ ที่ติดอยู่ภายในน้ำแข็ง นักวิจัยสามารถสร้างภาพลักษณะบรรยากาศในอดีตขึ้นมาได้ เช่นปริมาณ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในอากาศ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ พืชพรรณ

ทำให้นักวิทยาศาสตร์สร้างภาพภูมิอากาศในอดีตขึ้นมาว่า ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างไร และเราสามารถคาดหวังอะไรได้ในอนาคต

 

การสูญเสียของธารน้ำแข็งทั่วโลกเป็นเหมือนผลกระทบทรงพลังต่อสองอย่าง ไม่เพียงแต่ภูมิภาคจะสูญเสียแหล่งน้ำดื่มสำคัญและชลประทานเพื่อการเกษตร แต่โลกกำลังสูญเสียประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์มีค่าของภูมิอากาศโลกไปตลอดกาล

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ภูเขาน้ำแข็งยักษ์ใกล้ชนเกาะที่อยู่เพนกวิน-แมวน้ำ หวั่นเกิดหายนะระบบนิเวศ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน