40 ประเทศให้คำมั่นหยุดใช้ “ถ่านหิน” ฮึ่มจีน-อินเดีย-ออสเตรเลีย-สหรัฐไม่ลงนาม

40 ประเทศให้คำมั่นหยุดใช้ “ถ่านหิน”บีบีซี รายงานวันที่ 4 พ.ย. ถึงความคืบหน้า การประชุมสมัชชาภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 (COP26) ที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ ว่า

สมาชิกกว่า 40 ประเทศและองค์กรให้คำมั่นว่าจะยุติการใช้ถ่านหินผลิตพลังงานไฟฟ้า หนึ่งในปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ภาวะโลกร้อนยิ่งเลวร้ายเพราะเป็นแหล่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มากที่สุดในโลก

อย่างไรก็ตาม ประเทศผู้ผลิตถ่านหินรายใหญ่ ครอบคลุมถึงออสเตรเลีย อินเดีย จีน และสหรัฐอเมริกา กลับไม่ร่วมลงนามในปฏิญญาดังกล่าว

40 ประเทศให้คำมั่นหยุดใช้ “ถ่านหิน”

FILE PHOTO: Greenpeace activists abseil down the facade of Germany’s embassy as they unfurl a banner against coal, in London, Britain. REUTERS

การลงนามในข้อตกลงนี้มีสาระสำคัญเพื่อยุติการลงทุนทั้งหมดในโครงการผลิตไฟฟ้าด้วยถ่านหินโครงการใหม่ทั้งในและต่างประเทศ ชาติสมาชิกยังตกลงว่าประเทศเศรษฐกิจชั้นนำจะเลิกใช้พลังงานถ่านหินในช่วงทศวรรษที่ 2030 (ระหว่างปีพ.ศ.2573-2582) ส่วนประเทศที่ยากจนจะเลิกใช้พลังงานถ่านหินในช่วงทศวรรษที่ 2040 (ปีพ.ศ.2583-2592)

นายควาซี ควอร์เทง รัฐมนตรีกระทรวงธุรกิจและพลังงานสหราชอาณาจักร กล่าวว่า “ใกล้จะถึงจุดสิ้นสุดของการใช้ถ่านหินแล้ว โลกกำลังมุ่งหน้าไปในทิศทางที่ถูกต้อง เรายืนหยัดพร้อมจะปิดฉากการใช้ถ่านหินเพื่อผลประโยชน์ของสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจในการสร้างอนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาด” นายควอร์เทงกล่าวย้ำ

และว่ากว่า 40 ประเทศได้ลงนามในข้อตกลงนี้ ขณะเดียวกันประเทศผู้ใช้งานไฟฟ้าจากถ่านหินมากที่สุดในโลก ทั้งโปแลนด์ เวียดนาม และชิลี เป็นส่วนหนึ่งใน 18 ประเทศที่ตกลงจะเลิกกิจการและไม่สร้างหรือลงทุนในโครงการพลังงานถ่านหินโครงการใหม่

ฮึ่มจีน-อินเดีย-ออสเตรเลีย-สหรัฐไม่ลงนาม

FILE PHOTO: Bad quality coal is picked out at a small coal depot near a coal mine of the state-owned Longmay Group on the outskirts of Jixi, in Heilongjiang province, China. REUTERS

นายฮวน ปาโบล โอซอร์นิโอ หัวหน้าคณะผู้แทนขององค์กรกรีนพีซในที่ประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กล่าวว่าข้อตกลงนี้ยังขาดความทะเยอทะยานที่จำเป็นต่อการยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลทั้งหมด พร้อมตำหนิการไม่กำหนดระยะเวลาที่แน่ชัดเป็นการเปิดช่องว่างให้แต่ละประเทศมีเวลาเหลือเฟือเกินความจำเป็นในการยุติการใช้ถ่านหิน

ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีความคืบหน้าในการลดการใช้ถ่านหินทั่วโลก แต่ถ่านหินยังเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าที่ร้อยละ 37 ของโลกในปี 2562

ด้านคณะนักวิทยาศาสตร์ที่ติดตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโลก กล่าวว่าช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 ปริมาณก๊าซเรือนกระจกลดต่ำกว่าปริมาณในช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยปีนี้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ราว 36,400 ล้านตัน เทียบกับ 36,700 ล้านตันเมื่อ 2 ปีก่อน

40 ประเทศให้คำมั่นหยุดใช้ “ถ่านหิน”

Smoke and steam rise from towers at the coal-fired Urumqi Thermal Power Plant in Urumqi in western China’s Xinjiang Uyghur Autonomous Region. China. (AP Photo/Mark Schiefelbein)

40 ประเทศให้คำมั่นหยุดใช้ “ถ่านหิน”

FILE PHOTO: Smoke and steam billow from Belchatow Power Station, Europe’s largest coal-fired power plant, operated by PGE Group, at night near Belchatow, Poland. REUTERS

ฮึ่มจีน-อินเดีย-ออสเตรเลีย-สหรัฐไม่ลงนาม

FILE PHOTO: Smoke and steam billows from the coal-fired power plant owned by Indonesia Power, next to an area for Java 9 and 10 Coal-Fired Steam Power Plant Project in Suralaya, Banten province, Indonesia. REUTERS

ฮึ่มจีน-อินเดีย-ออสเตรเลีย-สหรัฐไม่ลงนาม

FILE PHOTO: Men stand by a car near a coal-fired power plant in Shanghai, China. REUTERS

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน