ไฟไหม้ค่ายผู้ลี้ภัย – รอยเตอร์ รายงานว่า ไฟไหม้ค่ายผู้ลี้ภัยโรฮิงยา ทางตะวันออกเฉียงใต้ของบังกลาเทศ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 ม.ค. ทำลายที่อยู่อาศัยมากกว่า 100 หลังคาเรือน แต่ไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บล้มตายทันที

COX’S BAZAAR, BANGLADESH – JANUARY 9: Smoke rises after a fire broke out at a Rohingya refugee camp in Bangladesh’s southern district of Cox’s Bazar on January 9, 2022. (Photo by Stringer/Anadolu Agency via Getty Images)

ไฟเผาค่ายหมายเลข 16 ในค็อกซ์ บาซาร์ เขตชายแดนที่มีผู้ลี้ภัยโรฮิงยามากกว่า 1 ล้านคน อาศัยอยู่ โดยส่วนใหญ่หนีการปราบปรามที่นำโดยกองทัพในเมียนมาเมื่อปี 2560

โมฮัมเหม็ด ชัมซุด โดอูซา เจ้าหน้าที่รัฐบาลบังกลาเทศที่รับผิดชอบผู้ลี้ภัย กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ฉุกเฉินควบคุมไฟไหม้ ส่วนสาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด ขณะที่ อาบู ตาเฮอร์ ผู้ลี้ภัยโรฮิงยาคนหนึ่ง เผยว่า “ทุกอย่างหายไป หลายคนไร้บ้าน”

Rohingya refugees gather near their burnt shelters after a massive fire broke out at the Balukhali Rohingya refugee camp in Cox’s Bazar, Bangladesh, January 10, 2022. REUTERS/Stringer NO RESALES. NO ARCHIVES

นอกจากนี้ มีไฟไหม้ศูนย์รักษาโควิด-19 แก่ผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัยอีกแห่งเมื่อวันอาทิตย์สัปดาห์ก่อน แต่ไม่มีผู้บาดเจ็บล้มตาย

ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนมี.ค. 2564 ไฟไหม้นิคมผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยาที่ใหญ่ที่สุดในโลกในค็อกซ์บาซาร์ คร่าชีวิตผู้ลี้ภัยอย่างน้อย 15 ราย และกระท่อมมากกว่า 10,000 หลังเสียหาย มีการประเมินจำนวนผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาที่อาศัยอยู่ในคอกซ์บาซาร์ ตั้งแต่ 800,000-900,000 คน ตามรายงานของข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและองค์กรช่วยเหลือเด็ก

A general view of the burnt shelters after a massive fire broke out at the Balukhali Rohingya refugee camp in Cox’s Bazar, Bangladesh, January 10, 2022. REUTERS/Stringer NO RESALES. NO ARCHIVES

ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่หนีจากการกดขี่ข่มเหงในเมียนมา โดยกองทัพเมียนมาสังหารและลอบวางเพลิงในปี 2559 และ 2560 บีบให้ชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญามากกว่า 740,000 คนต้องหลบหนีเข้าไปในบังกลาเทศ ทำให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิจารณาคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในปี 256

องค์การสหประชาชาติกล่าวว่า “การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง” โดยกองทัพยังดำเนินต่อไปในรัฐชาติพันธุ์ของยะไข่ ชิน ฉาน คะฉิ่น และกะเหรี่ยง แต่เมียนมาปฏิเสธข้อกล่าวหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และยังปฏิบัติการกวาดล้างโดยกองทัพเป็นมาตรการต่อต้านการก่อการร้ายที่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

โรฮิงยาฝันร้ายอีก ฝนกระหน่ำ-โคลนถล่มค่ายผู้ลี้ภัยจม เด็กดับ

บังกลาเทศอพยพแล้ว โรฮิงยาล็อตแรก1,600คน สู่เกาะนอกชายฝั่ง จุดเสี่ยงภัยพิบัติ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน