เมื่อวันที่ 29 .. เอพีรายงานว่า นายซอว์ เทย์ โฆษกรัฐบาลพม่า โพสต์ผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊กในเชิงตำหนิบทความของหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษเมียนมาไทมส์ หลังระบุว่าเจ้าหน้าที่ทหารซึ่งนำกำลังลาดตระเวนรัฐยะไข่ ทางตอนเหนือ ติดชายแดนบังกลาเทศ ก่อเหตุข่มขืนหญิงชาวมุสลิมโรฮิงยาอย่างน้อย 5 คน เมื่อ 19 ..

รายงานนี้ตอกย้ำวิกฤตความขัดแย้งทางศาสนาที่ยืดเยื้อต่อเนื่องจากเหตุกลุ่มก่อการร้ายที่เชื่อมโยงกับกลุ่มมุสลิมสายสุดโต่ง ซึ่งเชื่อว่าเป็นเครือข่ายของขบวนการตาลิบัน นำกำลังโจมตีด่านตำรวจชายแดน 3 แห่งในรัฐยะไข่ จนทำให้เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 9 นาย และนำไปสู่การบุกโจมตีหมู่บ้านหลายแห่งจนมีผู้เสียชีวิตกว่า 30 รายเมื่อต้นเดือนต..

ภาพประกอบจากเซาธ์ ไชน่า มอร์นิ่ง โพสต์

ภาพประกอบจากเซาธ์ ไชน่า มอร์นิ่ง โพสต์

ขณะที่องค์การนิรโทษกรรมสากล และองค์กรฮิวแมนไรต์วอตช์ ร่วมแถลงการเรียกร้องให้สอบสวนกรณีดังกล่าวโดยเร็ว

นายราเฟนดิ จามิน ผู้อำนวยการองค์การนิรโทษกรรมสากลประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิก กล่าวว่าถ้าเจ้าหน้าที่ความมั่นคงของพม่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชน ก็ไม่ควรรู้สึกยุ่งยากใจที่จะอนุญาตให้กลุ่มสังเกตการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ เข้าตรวจสอบ

ภาพประกอบจาก InterAksyon

ภาพประกอบจาก InterAksyon

ด้านสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติระบุว่าเป็นกรณีที่น่าหวาดวิตก และไม่อาจยอมรับได้หากเกิดขึ้นจริง

ทั้งนี้ รัฐยะไข่กลายเป็นพื้นที่ประสบปัญหาความไม่สงบ หลังเกิดเหตุปะทะระหว่างชาวพุทธ และมุสลิมโรฮิงยา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 ราย อีกหลายหมื่นคนต้องอพยพหนีตาย ในปี 2555

และแม้จะเปลี่ยนถ่ายอำนาจทางการเมืองสู่รัฐบาลประชาชนที่แท้จริงหลังจากประธานาธิบดีติน จ่อ ชนะการเลือกตั้งเมื่อปลายปีก่อน แต่กลุ่มปกป้องสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศกลับแสดงความผิดหวังต่อรัฐบาลพม่า โดยเฉพาะนางออง ซาน ซู จี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ และรมว.ต่างประเทศ เพราะเคยรับปากจะเร่งแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน