โบอิ้งร่วมสอบ – สำนักข่าว ยอนฮัป รายงานวันที่ 31 ธ.ค. ว่า เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาและบริษัท โบอิ้ง ผู้ผลิตเครื่องบินยักษ์ใหญ่ระดับโลก เดินทางไปยังจุดเกิดเหตุเครื่องบินโบอิ้ง 737-800 เที่ยวบิน 2216 ของ สายการบินเชจูแอร์ ซึ่งประสบเหตุลื่นไถลรันเวย์
ก่อนพุ่งชนแนวรั้วกั้นของท่าอากาศยานนานาชาติมูอัน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาหลีใต้ จนมีผู้เสียชีวิต 179 ราย และรอดชีวิต 2 ราย เมื่อวันที่ 29 ธ.ค.ที่ผ่านมา เพื่อร่วมการสืบสวนหาสาเหตุที่แน่ชัด

โบอิ้งร่วมสอบ – Experts from the U.S. National Transportation Safety Board (NTSB) and joint investigation team between the U.S. and South Korea check the site of a plane crash at Muan International Airport in Muan, South Korea, Tuesday, Dec. 31, 2024. (Son Hyung-joo/Yonhap via AP)
กระทรวงคมนาคมของเกาหลีใต้เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ 1 คนจากสำนักงานบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา (เอฟเอเอ) ผู้เชี่ยวชาญ 3 คนจากคณะกรรมการความปลอดภัยการขนส่งแห่งชาติของสหรัฐ (เอ็นทีเอสบี) และตัวแทนจากบริษัทโบอิ้ง 4 คนเข้าร่วมการสืบสวนที่จุดเกิดเหตุกับเจ้าหน้าที่คณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุทางการบินและทางรถไฟของเกาหลีใต้ (เออาร์เอไอบี)
นายจู จองวาน ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายการบิน สังกัดกระทรวงคมนาคมเกาหลีใต้ ระบุว่าทีมสอบสวนของสหรัฐมาถึงเกาหลีใต้เมื่อวันจันทร์ที่ 30 ธ.ค. และเดินทางไปยังเมืองมูอันซึ่งอยู่ห่างจากกรุงโซลไปทางตะวันตกเฉียงใต้ราว 290 กิโลเมตร “เจ้าหน้าที่สอบสวนของเกาหลีใต้และสหรัฐได้หารือเกี่ยวกับขั้นตอนและประเด็นสำคัญสำหรับการสอบสวน”

โบอิ้งร่วมสอบ – The wreckage of a Boeing 737-800 plane operated by South Korean budget airline Jeju Air lies at Muan International Airport in Muan, South Korea, Tuesday, Dec. 31, 2024. (AP Photo/Ahn Young-joon)
นอกจากนี้เจ้าหน้าที่สามารถระบุตัวตนผู้เสียชีวิตบนเที่ยวบิน 2216 เพิ่มเป็น 174 รายจากทั้งหมด 179 ราย ในจำนวนนี้ 4 รายถูกส่งมอบให้กับครอบครัวเพื่อนำไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนาแล้ว อย่างไรก็ตาม คาดว่าอาจต้องใช้เวลานานถึง 10 วันจึงจะระบุตัวตนและส่งมอบศพทั้งหมดกลับคืนให้ครอบครัวเนื่องจากผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ถูกไฟคลอกรุนแรง
ขณะที่ นายเดวิด เลียร์เมาต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบิน ตั้งคำถามเกี่ยวกับกำแพงคอนกรีตที่สร้างขึ้นอย่าง “ผิดปกติ” ห่างจากปลายรันเวย์ราว 250 เมตรซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโศกนาฏกรรม โดยระบุว่านักบินนำเครื่องแตะพื้นสนามบินได้ดีที่สุดเท่าที่การลงจอดแบบไม่มีอุปกรณ์ลงจอดจะทำได้
ทั้งระดับของปีก จมูกเครื่องบินที่ไม่สูงเกินไปเพื่อหลีกเลี่ยงการหักของหาง และเครื่องไม่ได้รับความเสียหายมากนักขณะที่ไถลไปตามรันเวย์
“สาเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากไม่ใช่เพราะการลงจอด แต่เนื่องจากเครื่องบินชนเข้ากับสิ่งกีดขวางที่มีความแข็งแกร่งมากเกินบริเวณปลายรันเวย์” นายเลียร์เมาต์กล่าวด้วยว่าหากไม่มีสิ่งกีดขวางดังกล่าวผู้โดยสารส่วนใหญ่หรือทั้งหมดอาจยังมีชีวิตอยู่

In this photo provided by South Korea’s Muan Fire Station, a passenger plane is in flames at the Muan International Airport in Muan, South Korea, Sunday, Dec. 29, 2024. (South Korea’s Muan Fire Station via AP)

A satellite image shows the area at South Korea’s Muan International Airport after the Jeju Air aircraft went off the runway and crashed, in Muan, South Korea, December 30, 2024. 2024 Planet Labs Inc./Handout via REUTERS THIS IMAGE HAS BEEN SUPPLIED BY A THIRD PARTY. MANDATORY CREDIT
ข่าวที่เกี่ยวข้อง: