เมื่อวันที่ 17 พ.ย. ที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วธ. กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการวันภาษาไทยแห่งชาติครั้งที่ 2/2559 ว่า ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับการเผยแพร่พระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้านภาษาและวรรณกรรม เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลพบว่า พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์เพลง 48 เพลง โดยในจำนวนนี้เป็นภาษาอังกฤษ 5 เพลง ส่วนวรรณกรรม บทความ ที่ทรงพระราชนิพนธ์ มีทั้งหมด 17 เรื่อง อาทิ พระราชานุกิจรัชกาลที่ 8, เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิตเซอร์แลนด์, พระมหาชนก, นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ, ติโต, พระราชดำรัส, ทองแดง เป็นต้น

24-3

รมว.วธ. กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงใช้ภาษาไทยง่ายๆ สั้นกระชับและชัดเจน ทรงสนพระราชหฤทัยและมีพระราชดำริในเรื่องภาษาไทยและการใช้ภาษาไทยที่ก่อให้เกิดความตื่นตัวในการอนุรักษ์ภาษาไทยให้มีแบบแผน รวมทั้งพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงร่วมการประชุมของงานชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2509 ต่อมารัฐบาลประกาศให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ

%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%88%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%aa%e0%b8%b9

นายวีระ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมหารือและมีความเห็นตรงกันว่า จะมีการคัดเลือกหนังสือพระราชนิพนธ์ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบางเรื่อง เพื่อจัดพิมพ์เป็นหนังสือที่ระลึกในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ แจกจ่ายห้องสมุด และโรงเรียนทั่วประเทศ และเผยแพร่ในรูปแบบอีบุ๊ค โดยเรื่องที่ได้รับคัดเลือกจะจัดพิมพ์เรื่องละ 10,000 เล่ม

book-titopramahachanok111

“วธ.จะจัดสัมมนาพระอัจฉริยภาพด้านภาษาไทย โดยเชิญครูสอนภาษาไทยทั่วประเทศ ศิลปินแห่งชาติ นักวิชาการ นักเรียนและนักศึกษาที่เรียนด้านภาษาไทยเข้าร่วมสัมมนา ในเดือนธันวาคมนี้ และจะจัดนิทรรศการพระอัจฉริยภาพด้านภาษาไทยและหนังสือพระราชนิพนธ์ รวมทั้งเชิญสำนักพิมพ์เอกชนเปิดบูธจำหน่ายหนังสือพระราชนิพนธ์ เพื่อเผยแพร่แก่ประชาชน ขณะนี้วธ.รวบรวมคำอาลัย 10,000 คำ และบทกลอน 500 บท ที่จะรวบรวมไว้ในหอจดหมายเหตุ จึงอยากให้โรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนเขียนกลอนแสดงความอาลัย เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาประจำชาติ และให้ครูรวบรวมส่งมายัง วธ. นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ เสนอให้มีการรวบรวมพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัส เพื่อเผยแพร่สู่ประชาชน ทั้งนี้ การดำเนินการรวบรวมและเผยแพร่พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะมีการขอพระบรมราชานุญาต ในการจัดพิมพ์และเผยแพร่ตามขั้นตอนต่อไป” นายวีระ กล่าว

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน