บินลัดฟ้าไปญี่ปุ่นกับ‘โตโยต้า’

‘ลดเมืองร้อนด้วยมือเรา’ปีที่ 14

บินลัดฟ้าไปญี่ปุ่นกับ‘โตโยต้า’ ‘ลดเมืองร้อนด้วยมือเรา’ปีที่ 14 – ก้าวเข้าสู่ปีที่ 14 แล้ว โครงการโลกสีเขียวของค่ายรถยักษ์ใหญ่ ‘โตโยต้า’ ที่จับมือกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ดำเนินกิจกรรมภายใต้ชื่อโครงการ ‘ลดเมืองร้อน ด้วยมือเรา’ เพื่อปลูกฝังการอนุรักษ์ ส่งเสริมให้ชุมชน และโรงเรียน มีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม และยังเป็นการเปิดพื้นที่เรียนรู้

พร้อมพาทีมชนะการประกวด 6 ทีม เดินทางไปศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่ามีพื้นที่ป่าเยอะที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก เพื่อนำประสบการณ์ที่ได้รับกลับมาใช้ต่อยอด ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืนในอนาคต

ปีนี้ทีมที่ชนะการประกวดจากชุมชนและโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 80 ทีม เดินทางมาที่แลนด์มาร์กสำคัญใจกลางเมืองโยโกฮาม่า จากความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน ในการสร้างโรงผลิตไฟฟ้าพลังงานลม ‘ฮามะ วิง’ เป็นกังหันลมขนาดยักษ์สูง 78 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางใบพัด 80 เมตร เคยเป็นกังหันลมที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ใช้พลังงานลม

บินลัดฟ้าไปญี่ปุ่นกับ‘โตโยต้า’ ‘ลดเมืองร้อนด้วยมือเรา’ปีที่ 14

บินลัดฟ้าไปญี่ปุ่นกับ‘โตโยต้า’ ‘ลดเมืองร้อนด้วยมือเรา’ปีที่ 14

ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าเปลี่ยนน้ำให้เป็นพลังงานไฮโดรเจน เพื่อนำมาใช้กับเมืองและรถยนต์ ซึ่งทางโตโยต้าพัฒนาระบบเครื่องยนต์งานบริสุทธิ์ใช้ในรถยนต์รุ่น ‘มิไร’(Mirai) ใช้พลังงานไฮโดรเจน (FCV) ในการขับเคลื่อน แทนรถยนต์ที่ใช้ระบบเครื่องยนต์ ไม่มีการเผาไหม้ที่ปล่อยของเสียออกมาเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ออกมาเป็นน้ำเปล่าแทน

สำหรับ ‘มิไร’ เปิดขายเมื่อปี ค.ศ.2014 ได้รับความสนใจและมียอดจองแล้วถึง 3,000 คัน

โดยในปี ค.ศ. 2030 หรืออีก 11 ปีข้างหน้า รัฐบาลญี่ปุ่นตั้งเป้าไว้ว่าจะมีสถานีบริการเติมพลังงานไฮโดรเจน 900 สถานี ทั่วประเทศ จากปัจจุบันมีสถานีให้บริการอยู่ 113 สถานี ใช้เวลาในการเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจน 3 นาที รถสามารถวิ่งได้ 500 กิโลเมตร

บินลัดฟ้าไปญี่ปุ่นกับ‘โตโยต้า’ ‘ลดเมืองร้อนด้วยมือเรา’ปีที่ 14

จากนั้นเยาวชนและตัวแทนจากชุมชนเข้าชม ‘Toyota Megaweb’ ที่ย่านโอไดบะ กรุงโตเกียว สวนสนุกรูปแบบใหม่ เน้นเรื่องของการดู ขับ และสัมผัสรถยนต์ ภายในแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

‘Toyota City Showcase’ โซนจัดแสดงรถยนต์โตโยต้ารุ่นล่าสุดหลากหลายรุ่น รวมถึงรถยนต์ที่ไม่ได้จัดแสดงในที่ใดมาก่อน แสดงเทคโนโลยีต่างๆ เช่นเทคโนโลยีไฮบริด เทคโนโลยีความปลอดภัย และเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

‘History Garage’ จัดแสดงประวัติศาสตร์รถยนต์รุ่นเก่าจากทั่วทุกมุมโลก รวมถึงรถยนต์โตโยต้า ทั้งอธิบายถึงประวัติศาสตร์ของกีฬามอเตอร์สปอร์ตและการซ่อมรถยนต์

ส่วนโซนที่ 3 ‘Ride Studio’ ให้เยาวชนได้เปิดประสบการณ์การขับขี่ และเรียนรู้กฎจราจร

อีกหนึ่งไฮไลต์สำคัญซึ่งทีมที่ชนะการประกวดทั้ง 6 ทีม จากเยาวชนและชุมชนเดินทางมาชมตัวอย่างบ้านอัจฉริยะ (smart house) ขนาด 120 ตร.ม. ที่ชุมชนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมโตโยต้า (Toyota Ecoful Town) จังหวัดไอจิ บ้านต้นแบบมีคุณสมบัติเด่นในด้านการลดใช้ไฟฟ้าได้อย่างสมบูรณ์

บินลัดฟ้าไปญี่ปุ่นกับ‘โตโยต้า’ ‘ลดเมืองร้อนด้วยมือเรา’ปีที่ 14

ออกแบบและคำนวณทิศทางของตัวบ้านให้สามารถใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ได้อย่างสูงสุด ผ่านระบบ HEMS : Home Energy Management System ที่ใช้ควบคุมการจัดสรรพลังงาน และสภาวะแวดล้อมภายในได้อย่างสมบูรณ์แบบ ทำงานร่วมกับ EDMS หรือ Energy Data Management System ระบบจัดการข้อมูลการใช้พลังงาน

นอกจากการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพลังงานแล้ว ยังทำหน้าที่คาดการณ์หรือช่วยคำนวณการบริหารจัดการที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้พลังงาน

ชุมชนดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงเมืองจำลองต้นแบบ ที่ระบบขนส่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผ่านเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานสะอาดที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก (Ha:mo) ที่สามารถเชื่อมต่อการเดินทางในชีวิตประจำวัน ของผู้อยู่อาศัยภายในเมืองกับระบบขนส่งสาธารณะ

มีระบบให้บริการเช่าผ่านการเป็นสมาชิก สามารถจองและหาจุดจอดรถได้ทางสมาร์ตโฟน เหมาะกับการใช้งานระยะสั้นในเมือง โดยวิ่งได้ 50 กิโลเมตร ความเร็วสูงสุด 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง มีให้บริการอยู่ 103 คัน คิดค่าเช่า 10 นาที ต่อ 200 เยน มีสถานีเติมพลังงานถึง 60 สถานีทั่วเมือง

ส่วนที่สถาบันสิ่งแวดล้อมโตโยต้า ‘ชิราคาว่าโก’ เยาวชนจากโรงเรียนแและตัวแทนของชุมชน ได้สัมผัสกับผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ของจริง เดินป่าศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติทั้งเวลากลางวันและกลางคืนเพื่อสร้างจิตสำนึก และตระหนักถึงคุณค่าของป่าไม้ ที่ชาวญี่ปุ่นใช้ประโยชน์และอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างลงตัว

ทั้งยังได้ทดลองแยกไฮโดรเจนออกจากน้ำจากรถต้นแบบ เพื่อเรียนรู้ถึงระบบการขับเคลื่อนของรถมิไร

นอกจากนี้ที่ โตโยต้า มอเตอร์ คอร์เปอร์เรชั่น โตเกียว สำนักงานใหญ่ของโตโยต้า บรรยายและรับฟังความคิดเห็นร่วมกันระหว่างตัวแทนของทางโตโยต้า และกลุ่มผู้ชนะการประกวดโครงการดังกล่าว

บินลัดฟ้าไปญี่ปุ่นกับ‘โตโยต้า’ ‘ลดเมืองร้อนด้วยมือเรา’ปีที่ 14

น้องๆ จากโรงเรียนวัดตโปทาราม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ที่ได้รับรางวัลที่ 1 ออกมาบรรยายถึงผลการดำเนินกิจกรรม ‘Eco ตโปทาราม ตามศาสตร์พระราชา ลดภาวะโลกร้อน’ ที่บูรณาการเรื่องการจัดการขยะและลดภาวะโลกร้อน จนสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 5,357 กิโลคาร์บอน

นอกจากนี้ยังมีการเปิดศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย

น้องๆ นักเรียนชั้น ม.2 จากทีมของโรงเรียนวัดตโปทาราม เล่าให้ฟังว่า โรงเรียนตั้งอยู่ติดกับอ่างเก็บน้ำบางพระ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตน้ำประปาและเป็นจุดท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรี

บินลัดฟ้าไปญี่ปุ่นกับ‘โตโยต้า’ ‘ลดเมืองร้อนด้วยมือเรา’ปีที่ 14

บินลัดฟ้าไปญี่ปุ่นกับ‘โตโยต้า’ ‘ลดเมืองร้อนด้วยมือเรา’ปีที่ 14

ในปี พ.ศ.2554 เกิดสภาพอากาศแปรปรวนฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันทำให้ระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำสูงขึ้นกว่าปกติและเอ่อเข้าท่วมโรงเรียน ทำให้พื้นที่โรงเรียนกว่า 5 ไร่ได้รับความเสียหาย และยังมีปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ทั้งเรื่องของขยะ มลพิษจากรถยนต์ของผู้ปกครองและคณะครู

รวมถึงการใช้ไฟฟ้าและน้ำประปาตามความต้องการของแต่ละบุคคล โรงเรียนจึงมีแนวคิดปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อช่วยกันแก้ปัญหาดังกล่าว โดยผู้อำนวยการโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา คณะครู นักเรียนแกนนำ ผู้ปกครอง และชุมชน ประชุมวางแผนร่วมกัน

แต่งตั้งคณะทำงานรวบรวมข้อมูลพื้นฐานการใช้ทรัพยากรและพลังงานของโรงเรียน สร้างแผนผังคาร์บอนเพื่อวิเคราะห์แหล่งปล่อยและแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจก โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้ จนประสบผลสำเร็จ

ด.ญ.ปาริศตรา พันลำ เผยความรู้สึกว่า รู้สึกดีใจมากที่ได้มีโอกาสได้มาเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้เห็นความมีระเบียบ สิ่งแวดล้อมที่สะอาด และเป็นธรรมชาติ ที่เกิดจากความร่วมมือของผู้คน และจะนำประสบการณ์ที่ได้รับกลับไปบอกต่อ

เช่นเดียวกับตัวแทนจากชุมชนบ้านสันป่าบง เทศบาลตำบลหงาว อ.เทิง จ.เชียงราย ทีมที่ได้รับรางวัลที่ 1 ออกมาพูดถึงการดำเนินกิจกรรม ‘โครงการรักษ์ป่า รักษ์พลังงาน และบริหารจัดการขยะ ที่ชุมชนบ้านสันป่าบง’ ที่จัดการพื้นที่สีเขียวเชื่อมโยงกับการจัดการขยะและพลังงาน เพื่อแก้ปัญหาความแห้งแล้งและปากท้องของชุมชนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 37,008 กิโลคาร์บอน

บินลัดฟ้าไปญี่ปุ่นกับ‘โตโยต้า’ ‘ลดเมืองร้อนด้วยมือเรา’ปีที่ 14

นายสถิต กองใจ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านสันป่าบง กล่าวว่า การเดินทางมาครั้งนี้นอกจากจะได้มาศึกษา ดูเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของทางโตโยต้าแล้ว ยังได้เรียนรู้ถึงแนวคิดของชาวญี่ปุ่น ในการใช้ประโยชน์จากป่าตามธรรมชาติ ในเรื่องของแนวกันน้ำป่าที่ไหลหลากลงมาจากภูเขา

“แต่เดิมที่เราเรียนรู้กันคือต้นไม้และรากไม้เป็นแนวกันน้ำและช่วยดูดซับน้ำป่า แต่ในความเป็นจริงคือไม่ว่าจะเป็นใบไม้ เปลือกไม้ ที่ทับถมกันบนหน้าดิน เปรียบเหมือนสำลีที่ช่วยดูดซับน้ำป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน” นายสถิตกล่าว

ขณะที่ นายสิงโต สีมอญ รองนายกเทศมนตรีตำบลหงาว เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาภายในพื้นที่ ต.หงาว มีปัญหาด้านการบุกรุกพื้นที่ป่าของชาวบ้าน จนทำให้เกิดปัญหาหน้าดินเสื่อมโทรม มีน้ำป่าไหลหลาก ผู้นำท้องถิ่นพยายามแก้ไขมาโดยตลอดจนออกมาเป็นรูปธรรมและเห็นผลได้ชัด

บินลัดฟ้าไปญี่ปุ่นกับ‘โตโยต้า’ ‘ลดเมืองร้อนด้วยมือเรา’ปีที่ 14

บินลัดฟ้าไปญี่ปุ่นกับ‘โตโยต้า’ ‘ลดเมืองร้อนด้วยมือเรา’ปีที่ 14

การดำเนินการในช่วงแรกชาวบ้านในพื้นที่เกิดความไม่เข้าใจในเรื่องการบุกรุกป่า เพื่อการเพาะปลูก แต่เมื่อทดลองทำและเห็นผล ช่วงหลังๆ ชาวบ้านเกิดความเข้าใจและให้ความร่วมมือ เช่นการจัดสรรพื้นที่ แบ่งโซนอย่างชัดเจนว่าส่วนนี้คือพื้นที่เพาะปลูก ส่วนนี้คือป่า

กระทั่งปัจจุบันชุมชนบ้านสันป่าบง ถือว่าเป็นหนึ่งในชุมชนต้นแบบของทางจังหวัดเชียงราย ที่สามารถจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นความภาคภูมิใจของทุกคนในชุมชน

ที่ผ่านมา ‘โตโยต้า’ ตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ จากแนวคิด “ความรับผิดชอบต่อสังคม ผ่านการสร้างรถยนต์” ของ ‘ซากิชิ โตโยดะ’ ผู้ก่อตั้งบริษัท โดยโครงการ ‘โตโยต้า ลดเมืองร้อน ด้วยมือเรา’ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการรักษ์โลก ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ.2548 เป็นเวลา 14 ปี

สนับสนุนงบประมาณให้แก่โรงเรียน 299 แห่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 238 แห่ง และชุมชน 162 แห่ง ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย

ด้วยต้องการสร้างจิตสำนึกและเรียนรู้การอยู่ร่วมกันระหว่าง คน เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม

โดย…อรรถพันธ์ นิธิธีรโชติ


ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน