เปิดอำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คุมโควิด เผย 6 ข้อห้าม ฝ่าฝืนอาจมีโทษ

จากกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ขออำนาจ คณะรัฐมนตรี ประกาศใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 และมีการแถลงเบื้องต้นแล้วนั้น

ข้อสรุปจะมีการบังคับใช้อย่างไรนั้น
-การใช้ พ.ร.ก ดังกล่าว จะเริ่มวันที่ 26 มี.ค. โดยยกระดับศูนย์โควิด เรียกว่า ศอฉ.โควิด โดยมีนายก เป็นประธาน
-พ.ร.ก.ดังกล่าว มีอายุ บังคับใช้ 1 เดือน

ตามอำนาจ พ.ร.ก.จะทำอะไรได้บ้าง?
– ศอฉ.โควิด จะออกประกาศ เพื่อบังคับใช้ โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และการพิจารณาว่า จะบังคับใช้ในประเด็นใดบ้าง ทั้งข้อความร่วมมือ และมีบทลงโทษหากฝ่าฝืน

อำนาจ พ.ร.ก.มีอะไรบ้าง
-ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือ เป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้น
– ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย
– ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉิน
– ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ
– ห้ามการใช้อาคาร หรือเข้าไปหรืออยู่ในสถานที่ใด ๆ
– ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชาชนดังกล่าว หรือห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่ที่กำหนด

มีโทษหรือไม่?

-มาตรา 18 ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ระบุว่า ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกมาตรา 9 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน