มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเผยเงินสะพัดวันมาฆบูชาต่ำสุดในรอบ 6 ปี ชี้โควิดฉุดเศรษฐกิจแย่-ของแพง

เงินสะพัดมาฆบูชาต่ำสุด – นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์ พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเปิดเผยถึงผลสำรวจทัศนคติ พฤติกรรมและการใช้จ่าย ช่วงวันมาฆบูชา ของกลุ่มตัวอย่าง 1,215 ตัวอย่าง ทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 10-16 ก.พ. 2564 ว่า จากผลสำรวจในปีนี้กลุ่มตัวอย่างจะมีค่าใช้จ่ายโดยรวมต่อคน 1,311.44 บาท รวมเงินสะพัด 2,357.03 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่มีเงินสะพัด 2,601.01 ล้านบาท คิดเป็น 9.38% ซึ่งเป็นการลดลงในแทบทุกหมวดค่าใช้จ่าย ถือว่ามีเงินสะพัดต่ำสุดในรอบ 6 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 2558

สอดคล้องกับผลสำรวจที่ว่า กลุ่มตัวอย่างจะไปและไม่ไปทำบุญใกล้เคียงกัน คือ ระบุว่าจะยังไปทำบุญไหว้พระในวันมาฆบูชา 40% ไม่ไป 37.3% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อน และไม่แน่ใจว่าจะไปหรือไม่ 22.7% โดยสาเหตุที่ไม่ไป 44.4% เป็นเพราะการแพร่ระบาดโควิด-19 รายได้ลดลง 18.7% ภาวะเศรษฐกิจไม่ดี 17.8% ความคึกคักเมื่อเมื่อเทียบกับปี 2563 กลุ่มตัวอย่าง 48.7% ระบุว่า คึกคักน้อยกว่าเป็นเพราะภาวะเศรษฐกิจแย่ลง 26.1% ขาดสภาพคล่องทางการเงิน 24.5% การแพร่ระบาดโควิด-19 15.0% ราคาสินค้าแพงขึ้น 13.3% มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 11.8% มีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น 5.6% กลุ่มตัวอย่าง 23.0% ระบุว่าคึกคักมากกว่าปีที่ผ่านมา 53.2% ระบุว่าเป็นเพราะนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐคาดหวังว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น 25.4% เศรษฐกิจแย่คนเลยทำบุญ 15.7% มีสถานที่ที่จัดงานมากขึ้น 5.4% และตอบว่าสถานการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง 28.3%

โดยมีกิจกรรมที่นิยมทำในวันมาฆบูชา 52.5% ระบุว่าซื้อสังฆภัณฑ์ ทำบุญ 51.5% ไปเวียนเทียน 46.3% ตักบาตร 33.0% ทำทาน 22.5% ปล่อยนก ปล่อยปลา 16.7% กินข้าวนอกบ้าน 16.5% พักผ่อนอยู่บ้าน 14.5% เป็นต้น

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน