นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยภายถึงผลการประชุมคณะกรรมการกำกับและบริหารจัดการระบบขนส่งทางราง ครั้งที่ 1 ว่า ขร. เตรียมกำหนดมาตรฐาน มาตรการ แนวทาง การกำกับและติดตามการดำเนินงานบริหารจัดการระบบขนส่งทางราง เพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเพื่อยกระดับการขนส่งทางราง ให้ ปลอดภัย เท่าเทียม เชื่อมเชื่อมต่อกับระบบการขนส่งหลากรูปแบบ

ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาข้อมูลการให้บริการรถไฟฟ้าแต่ละโครงการที่แตกต่างกัน เรื่องการตั้งชื่อสถานีและรหัสรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และได้กำหนด หลักการตั้งชื่อและกำหนดรหัสสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสาธารณะ ร่วมกันดังนี้

1. ต้องจดจำได้ง่าย 2. สั้นได้ในความ โดยชื่อภาษาไทยไม่ควรเกิน 5 พยางค์ และชื่อภาษาอังกฤษควรใช้ตัวอักษรไม่เกิน 15 ตัวอักษร 3. มีความยั่งยืน ชื่อสถานีควรใช้ได้อย่างตลอดระยะเวลาที่สถานียังคงเปิดให้บริการอยู่

4. สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจน และควรมีความเกี่ยวข้องกับพื้นที่ตั้งสถานี

5. ต้องไม่ซ้ำกัน หรือสร้างความสับสนแก่ผู้ใช้บริการ 6. ชื่อสถานีต้องมีความเชื่อมโยงกัน เพื่อใช้ในการวางแผนการเดินทางได้ โดยเฉพาะชื่อสถานีที่เป็นสถานีเชื่อมต่อ ควรใช้ชื่อเดียวกัน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยมีการระบุความแตกต่างของเส้นทางโดยรหัสสถานี

“การกำหนดสถานีในประเทศไทย ก็จะยึดหลักการเดียวกับหลักการของสากล โดยจะมีทั้งชื่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่วนประกาศภายในขบวนรถเพื่อแจ้งจุดเชื่อมต่อสถานีนั้น รูปแบบป้ายสัญลักษณ์ รหัสสีกำหนดเส้นทางรถไฟฟ้า จะต้องมีความเป็นมาตรฐานกลาง ลดความสับสนแก่ผู้ใช้บริการ ซึ่งในอนาคตหน่วยงานที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าต่างต้องนำแนวทางปฏิบัติดังต่อไปเพื่อลดความสับสนในการเดินทางให้กับผู้ใช้บริการ”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน