ทุกพรรคเห็นพ้อง ประชาธิปไตยดับ ไฟใต้ เดินหน้าคุยสันติภาพ-กระจายอำนาจ “เพื่อไทย-อนคตใหม่” เล็งเลิกอัยการศึก “ประชาชาติ”

ดับ ไฟใต้ / วันที่ 28 ก.พ. ที่คณะรัฐมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เครือข่าย Peace Survey 19 องค์กร ร่วมกับศูนย์วิจัยดิเรก ชัยนาม และศูนย์ข่าวสารสันติภาพ จัด เสวนาสาธารณะ “สันติภาพ ชายแดนใต้ หลังเลือกตั้ง 62 ข้อเสนอจากประชาชนและนโยบายพรรคการเมือง”

ตัวแทนพรรคการเมืองร่วมนำเสนอนโยบายชายแดนใต้ โดยมี พล.ท.ภราดร พัฒนาถาบุตร ที่ปรึกษาพรรคเพื่อไทย พล.ท.พงศกร รอดชมภู รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ นายนิพนธ์ บุญญามณี รองหัวหน้าพรรคประชาธิตย์ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ผู้สมัครส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคภูมิใจไทย ร่วมอภิปราย

อนาคตใหม่

พล.ท.พงศกร กล่าวว่า ผลสำรวจดังกล่าวคือสิ่งที่ประชาชนต้องการ ซึ่งตรงกับแนวนโยบายของพรรคอนาคตใหม่ ที่เน้นประชาชนเป็นหลักคือ 1.การพูดคุยสันติภาพ เสนอให้มีประชาชาชนเป็นฝ่ายที่สามเข้าร่วม ทั้งชาวพุทธ มุสลิม สถาบันการศึกษา นักธุรกิจ คนธรรมดาที่ไร้ตำแหน่ง เพื่อสะท้อนความต้องการของคนในพื้นที่ ให้การพูดคุยมีความหมาย ไม่ใช่การเล่นละคร

2.ใช้วิทยาศาสตร์จากเครื่องมืออันเป็นทรัพยากรของรัฐที่มีมากมาช่วย ไม่ต้องใช้เงินถึงหลักแสนล้าน ก็สามารถสร้างเซฟตี้โซนได้ ส่วนหลักการกำหนดใจตนเอง ต้องปลอดอาวุธ ถอนทหารออก แต่จัดทีมใหม่ฝึกให้เข้าใจสถานการณ์มาใส่แทน ส่วนการใช้กฎหมายพิเศษ อย่างกฎอัยการศึก หรือสถานการณ์ฉุกเฉิน ก็ปรับมาใช้ชุดกฎหมายความมั่นคง ที่ให้อำนาจอยู่พอสมควรแล้วคอยดูแลแทนได้

พล.ท.พงศกร กล่าวว่า 3.ไม่ใช้อำนาจนิยม ต้องตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงระดับชาติ จากคนภายนอกซึงมีความน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย เพื่อให้เกิดการยอมรับในช่วงยุติธรรมระยะเปลี่ยนผ่าน และจะส่งผลให้ปัญหาสังคมอย่าง ยาเสพติด น้ำมันเถื่อน การค้ามนุษยช์ คลี่คลายลงไปเอง

4.งบประมาณก็เกี่ยวกับปฏิรูปกองทัพ อนาคตใหม่เสนอให้ประชาชนและสื่อมวลชนมีส่วร่วมในการตรวจสอบ กำหนดราคาได้ ประเมินได้ ไม่ยอมรับได้ เมื่อประชาชนมีส่วนร่วม งบประมาณก็ย่อมถึงประชาชน 5.ระบบการศึกษา อนาคตใหม่มีนโยบายให้เงินทั้งหมดไปอยูู่ที่โรงเรียน ประชาชนนอยากได้อะไร เอาไปเลย เมื่อมีเงินตรงนี้พอ ก็จะสามารถสร้างงานที่ตรงกับการศึกษาได้

“6.กระจายอำนาจแบบกลับทางคือ ให้อำนาจท้องถิ่นก่อน แล้วค่อยส่งงบประมาณเข้าส่วนกลาง ในสัดส่วน 50 ต่อ 50 ซึ่งถือเป็นกฎหมายพิเศษ เปิดให้ชาวพุทธ มุสลิมมีอำนาจเท่ากัน 7.เมื่อทุกอย่างดำเนินการแล้ว สามารถทำอะไรก็ได้ เพราะการแยกตัว มีเงื่อนไขตามสหประชาชาติกำหนดไม่ต้องกังวล สิ่งที่ต้องทำคือเลิกอำนาจนิยมแล้วเปิดพื้นที่ให้ประชาชนมากที่สุด”พล.ท.พงศกรกล่าว

ภูมิใจไทย

พญ.เพชรดาว กล่าวว่า ข้อเสนอ 7 ข้อตรงกับนโยบายของพรรคภูมิใจไทยที่เริ่มตั้งแต่ให้ผู้แทนในพื้นที่แล้วให้ทีมยุทธศาสตร์พรรคทำการศึกษาวิจิย ร่างพ.ร.บ.เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนภาคใต้ SBEC สอดคล้องกับผลสำรวจ ส่วนความไม่เป็นธรรมทางโครงสร้างและความรู้สึก

ภูมิใจไทยจะเข้าไปแก้โดยเริ่มจากลดปัญหาปากท้องประชาชน เพิ่มการศึกษา และจะไม่ทิ้งสันติภาพ กระบวนการยุติธรรม การเยี่ยวยา ส่งเสริมการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ นอกจากนี้ยังมีการผลักดันการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เชิงประวัติศาสตร์ มีจุดเด่นทั้งภาษา อาหรับ มาลายู อาหารอย่างฮาราล งบประมาณ 15 ปี 1.3 แสนล้าน เงินคงไม่ใช่คำตอบ ภูมิใจไทยจะขอเสนอเปลี่ยนงบลับ เป็นงบลงทุนที่ประชาชนมีส่วนร่วม

เพื่อไทย

พล.ท.ภราดร กล่าวว่า การพูดคุยสันติภาพเริ่มต้นจากพรรคเพื่อไทยอย่างเป็นเป็นรูปธรรม เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน จนนำไปสู่การปฏิบัติ ปัญหาใหญ่เมื่อย้อนไปตั้งแต่ปี 2547 – 2562 เราหมดงบประมาณแผ่นดิน ไปกว่า 3 แสนล้านบาทแล้ว แต่การเสียชีวิตของประชาชนและเจ้าหน้าที่มากจนไม่อยากกล่าวถึง ต่อปัญหาชายแดนภาคใต้

พรรคเพื่อไทยยืนยันว่า จะยกระดับให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยมี 7 ประเด็นขับเคลื่อน ทั้งระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาวคือ 1.ระยะเร่งด่วน การสร้างการรับรู้และความเข้าใจ ถึงความรุนแรงของชายแดนใต้ต่อคนส่วนรวมทั้งประเทศ ให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงปัญหา เร่งยุติความรุนแรง โดยสันติวิธี ผ่านการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ซึ่งหลีกเลี่ยงการพูดคุยสันติภาพไม่ได้ 2.การเปิดพื้นที่ประชาธิปไตย ภายใต้รัฐธรรมนูญ ในการแสวงหาทางออกรร่วมกัน

พล.ท.ภราดร กล่าวว่า 3.ส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมเปิดพื้นที่ปกครองท้องถิ่นให้มีส่วนอยู่ร่วมกันอย่างหลากหลาย ผ่านการกระจายอำนาจ 4.ปรับโครงสร้างหน่วยงานความมั่นคงให้มีความกระทัดรัด เน้นฝ่ายพลเรือนให้เป็นเจ้าภาพหลัก 5.ส่งเสริมความสัมพันธ์กับชาติเพื่อบ้าน โลกมุสลิม อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็น โอไอซี หรือ มาเลเซีย ที่จะช่วยให้ปัญหาบรรลุผล

6.การมีส่วนร่วมตั้งความคิดริเริ่ม ความคิดสร้างสรรค์ ในทุกมิติทั้งการศึกษา เศรษฐกิจ และสังคม บนพื้นฐานของความแตกตาง 7.ความเคารพความแตกต่างทางทางอัตลักษณ์และวัฒนธรรม

ประชาธิปัตย์

นายนิพนธ์ กล่าวว่า การแก้ปัญหา ต้องใช้การเมืองนำการทหาร การพูดคุยสันติภาพต้องเดินหน้า รัฐบาลประชาธิปัตย์เริ่มต้นการพูดคุยในแบบไม่เป็นทางการ เพราะรู้ว่า ความขัดแข้งทางความคิดยุติไม่ได้ด้วยสงคราม ต้องอยู่บนโต๊ะเจรจาเท่านั้น แต่ต้องมีความระมัดระวังเรื่องคู่เจรจา

เมื่อแยกการเจรจากับการแก้ปัญหาแล้ว ก็ต้องแยกทหารออกจากการพัฒนา โดยใช้ศอ.บต.เป็นคนดำเนินการ ต้องเน้นส่งเสริมการมีส่วนร่วม เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการกระจายอำนาจ ประชาธิปัตย์ขอประกาศว่า จังหวัดไหนพร้อมก็ให้จัดการตนเอง ให้เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ยกเว้นทางการทหาร เงิน การต่างประเทศ และศาล ยกระดับให้ท้องอถิ่นเข้มแข็งขึ้น

ประชาชาติ

พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า นโยบายของประชาชาติจะมาปฏิรูปกฎหมาย ที่ผู้บังคับใช้นำไปทำร้ายคนอื่น กฎหมายพิเศษอาจจะเอาออกไม่ได้ทันที แต่เปลี่ยนจากที่ทหาร ตำรวจใช้ มาให้ประชาชนใช้แทน เช่น การขจัดทุจริตคอรัปชั่นแทน ในมิติทางความมั่นคง ความอยู่ดีมีสุข คือเรื่องเดียวกัน ไม่ใช่การทำให้บ้างเมืองสงัดสงบ กอ.รมน.อาจต้องหยุดทำหลายหน้าที่ได้แล้ว

โจทย์คือต้องทำให้การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม มีความสมดุลกัน ชายแดนใต้เป็นสังคมพหุวัฒนธรรม จึงจำเป็นต้องใช้ระบอบประชาธิปไตย ในการสร้างความเคารพในความแตกต่าง

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์@ข่าวสด ที่นี่
เพิ่มเพื่อน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน